การระบุเพศในประชากรไทย โดยวิเคราะห์จากการวัดกระดูกขากรรไกรล่าง

Main Article Content

Nanta Khumkhana

Abstract

บทคัดย่อ

              การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะทางกายวิภาคระหว่างเพศชายและเพศหญิง     กรณีต้องการระบุเพศจากโครงกระดูก โดยใช้กระดูกขากรรไกรล่าง เนื่องจากกระดูกขากรรไกรล่างจัดเป็นกระดูกใบหน้าที่มีขนาดใหญ่ แข็งแรง สามารถเคลื่อนไหวได้เมื่อเทียบกับกระดูกใบหน้าชิ้นอื่นๆ นอกจากนี้ในระบบการสืบสวน สอบสวนและกระบวนการยุติธรรม ความรู้ทางด้านกายวิภาคศาสตร์และกลไกร่างกายมนุษย์สามารถนำมาใช้อ้างอิงกับศาลได้

            กระดูกขากรรไกรล่างที่นำมาศึกษาในครั้งนี้ นำมาจากคลังกระดูก ห้องปฏิบัติการกาย     วิภาคศาสตร์ ภาควิชากายวิภาคศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ใช้วิธี      สุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple random sampling) มีจำนวน 87 ชิ้น เป็นเพศชายจำนวน 56 ชิ้น และเพศหญิงจำนวน 31 ชิ้น ในช่วงอายุตั้งแต่ 13 – 83 ปี ทำการวัดทั้งหมด 21 ตำแหน่ง ค่าที่วัดได้นำมาวิเคราะห์ด้วยโปรแกรม SPSS 18.0 โดยใช้ t-test และสถิติการจำแนก ( Discriminant Analysis) ผลการวิเคราะห์พบว่า ค่าตัวแปรทั้ง 21 ค่าระหว่างเพศชายและเพศหญิงมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 โดยตำแหน่งที่มีค่าความถูกต้องในการจำแนกเพศสูงที่สุด คือ ตำแหน่ง M10 มีความถูกต้อง 79.3 % ค่าการจำแนกระหว่างเพศ คือ 83 mm. (Male > 83 ≤ Female) ส่วนตำแหน่งที่มีค่าความแม่นยำในการจำแนกเพศต่ำที่สุด คือ ตำแหน่ง M6 มีความถูกต้อง 63.2% ค่าการจำแนกระหว่างเพศ คือ 30 mm. (Male > 30 ≤ Female) ซึ่งจากผลการวิเคราะห์นี้สามารถสรุปได้ว่า ค่าตัวแปรทั้ง 21 ค่า บนกระดูกขากรรไกรล่างสามารถนำมาใช้ในการจำแนกเพศระหว่างชายและหญิงของประชากรไทยได้

 

Abstract

               The purpose of this study was to determine the anatomical characteristics between male and female from Thai cadavers by mandible. The mandible is the largest and strongest of the facial bone, height durability and furthermore the data of this result may help the investigative and judicial system. 87 mandibles had been used; 56 from male and 31 from female at the age ranging from 13-83 years old. Twenty one measurements were determined on each bone. T-test and discriminant analysis was required to transform the variables measurement with SPSS programs. P-value less than 0.05 were considered significant difference. M10 was the most accuracy percent values for sex identification      at 79.3 % of reliability in both sexes. This result showed that mandible can be used for sex determination in forensic identifications and useful for forensic cases in the future.

   

Article Details

Section
บทความ : Science and Technology
Author Biography

Nanta Khumkhana

ผู้ช่วยวิจัย คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร