การศึกษารูปแบบการบริหารจัดการไอซีทีโดยใช้หลักการโคบิท สำหรับมหาวิทยาลัยราชภัฏ
Main Article Content
Abstract
การวิจัยเรื่องนี้เป็นการวิจัยเชิงบูรณาการมีวัตถุประสงค์เพื่อหากระบวนการกำกับดูแลและการบริหารจัดการไอซีทีโดยใช้หลักการโคบิทสำหรับมหาวิทยาลัยราชภัฏ การศึกษาทำโดยเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงจากมหาวิทยาลัยราชภัฏทั้ง 6 แห่ง ในเขตกรุงเทพมหานคร โดยใช้กรอบแนวการบริหารจัดการไอซีทีของโคบิท 5 กลุ่มตัวอย่างแบ่งเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มผู้บริหารไอซีทีระดับสูง กลุ่มผู้ปฏิบัติหน้าที่ด้านไอซีทีและกลุ่มผู้ใช้งานด้านไอซีที ทั้งหมดจำนวน 1,141 คน ที่พิจารณาตามประเด็นต่างๆตามเป้าประสงค์ขององค์กร เป้าประสงค์ด้านไอซีทีตามกรอบของโคบิท 5 และมิติการวัดผลแบบสมดุล ผลจากการวิจัยพบว่า ในมิติตามเป้าประสงค์ด้านไอซีที ด้านการเงิน มีค่าเฉลี่ยรวมอยู่ในระดับปานกลาง( ) ในมิติด้านผู้รับบริการ มีค่าเฉลี่ยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ( ) ในมิติด้านการบริหารจัดการ มีค่าเฉลี่ยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ( ) และในมิติด้านการเรียนรู้และการพัฒนา มีค่าเฉลี่ยรวมอยู่ในระดับมาก ( ) การกำกับดูแลและการบริหารจัดการเพื่อในการพัฒนาไอซีทีของมหาวิทยาลัยราชภัฏในเขตกรุงเทพมหานครในภาพรวม ควรจะเน้นกระบวนการในประเด็นตามเป้าประสงค์ด้านผู้รับบริการและด้านการบริหารจัดการเป็นอันดับแรก ต่อจากนั้นควรจะเป็นประเด็นเกี่ยวกับด้านการเงิน และควรจะส่งเสริมให้มีการพัฒนาประเด็นที่เกี่ยวข้องกับด้านการเรียนรู้และการพัฒนา โดยนำมาประยุกต์ใช้ตามกรอบแนวทาง กระบวนการหลักและกระบวนการรองตามหลักการของโคบิท 5 เพื่อนำไอซีทีมาใช้การบริหารจัดการมหาวิทยาลัยให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุดตามหลักธรรมาภิบาล
Abstract
This integrated research aims to investigate the process of supervising and managing the ICT by using COBIT principles with Rajabhat Universities. The study derived from data collected from 6 specific samples of Rajabhat Universities in Bangkok under the framework COBIT 5’s ICT management. The 1,141 samples are divided into 3 groups : the chief information officers , the ICT administrators, and users. These samples are categorized by the organization’s objectives, ICT’s objectives are accordance with COBIT 5 principle and Balance scorecard. The research’s result agrees with the ICT objective and financial perspectives with the medium average ( ). In the users and managerial perspectives, the research reveals the same result of medium average of and , respectively. The result in growth and development perspectives show the high average of . The holistic supervision and administration of ICT development for Rajabhat Universities in Bangkok should be emphasized primarily on process in users’ objectives and managerial perspectives; then focusing on financial perspectives. Moreover, the growth and development dimension should be promoted under COBIT 5’s major and minor principles. This is to make use of ICT in effective and most efficient university’s administrative strategies according to the good governance.