ผลของภาพคำเตือนบนซองบุหรี่ต่อความตั้งใจไม่สูบบุหรี่ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษา

Main Article Content

ฉวีวรรณ เพ็งรักษา

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงสำรวจแบบภาคตัดขวางนี้เพื่อศึกษาการจดจำภาพคำเตือนบนซองบุหรี่ที่มีต่อสุขภาพ และผลต่อความตั้งใจไม่สูบบุหรี่ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 ในจังหวัดอุทัยธานี เก็บรวบรวมข้อมูลในนักเรียนตัวอย่างจำนวน 715 คน เป็นกลุ่มที่เห็นภาพคำเตือนขนาด 55% จำนวน 368 คน และ เห็นภาพคำเตือนขนาด 85% จำนวน 347 คน ด้วยการตอบแบบสอบถามด้วยตนเองวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และสถิติเชิงวิเคราะห์ Independent’s t-test และ Chi-square test

ผลการศึกษา พบว่า  นักเรียนตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 62.8 พฤติกรรมการสูบบุหรี่ส่วนใหญ่ร้อยละ 86.7 ไม่เคยสูบบุหรี่ และร้อยละ 9.8 เคยทดลอง/เคยสูบแต่ปัจจุบันเลิกแล้ว เมื่อเปรียบเทียบผลของการเห็นภาพคำเตือนบนซองบุหรี่ที่มีขนาด 55% และ  85% ของนักเรียนต่อความสามารถจดจำภาพคำเตือนบนซองบุหรี่ที่มีต่อสุขภาพ และความตั้งใจในการไม่สูบบุหรี่ พบว่า การเห็นภาพคำเตือนบนซองบุหรี่ที่มีขนาด 85% สามารถทำให้นักเรียนจดจำภาพคำเตือนบนซองบุหรี่มากกว่าการเห็นภาพขนาด 55% อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p = 0.019) แต่ไม่พบความแตกต่างกันของความตั้งใจไม่สูบบุหรี่ระหว่างการเห็นภาพที่มีขนาดแตกต่างกัน ดังนั้น มาตรการเพิ่มขนาดของภาพคำเตือนบนซองบุหรี่เป็นขนาด 85% ของพื้นที่ซองเป็นมาตรการที่เหมาะสมเพื่อการให้สุขศึกษาในด้านการสร้างการรับรู้ถึงพิษภัยและอันตรายของบุหรี่ในกลุ่มนักเรียนซึ่งเป็นวัยเยาวชนได้

 

Abstract

            This cross-sectional survey research aimed to explore the graphic recall memory of the pictorial health warnings (PHW), and intention not to smoke of Matayomsuksa 1- 6 students in Uthaithani Province. The data were collected from 715 sampled students who have seen PHW size 55% for 368 samples and 85% for 347 samples through the use of a self-administered questionnaire. Data analysis was completed by using descriptive statistics in regard to frequency, percentage, and arithmetic mean, and analytical statistics were employed by using an Independent t-test and Chi-square test.

            The research results showed that 62.8 percent of the sample were female students, and a high percentage of the sample (86.7%) had never smoked while 9.8 percent had former smoking but currently do not smoke.  After the comparison was made on the effects of seeing different sizes of pictorial health warnings, the effects of 55% and 85% of the principal display areas on the sampled students’ recall memory of the health pictorial warnings, and intention not to smoke, it was found that the “85% size” pictorial health warning was significantly more effective in making students have higher level of graphic recall memory than the “55% size” (p = 0.019). However, no significant difference was found in regard to intention not to smoke between two groups. Therefore, expanding the size of the pictorial health warnings to 85% of the principal display areas should be an effective measure as health education in developing students’ recognition of the health hazards of cigarette smoking among students.

Article Details

Section
บทความ : Science and Technology
Author Biography

ฉวีวรรณ เพ็งรักษา

พยาบาล(ผู้ชำนาญการ) สังกัดโรงพยาบาลเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล