การพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อรองรับการตรวจประเมินคุณภาพภายใน สถานศึกษาระดับอาชีวศึกษา
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
งานวิจัยครั้งนี้วัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อรองรับการตรวจประเมินคุณภาพภายในสถานศึกษาระดับอาชีวศึกษาซึ่งจะช่วยอำนวยความสะดวก รวดเร็วในการบริหารจัดการ ติดตาม ตรวจสอบ และดำเนินการด้านการประกันคุณภาพสถานศึกษาได้อย่างเป็นระบบ โดยบุคลากรทางการศึกษา รวมทั้งให้ผู้บริหารสถานศึกษาสามารถเข้าไปตรวจสอบระดับคุณภาพสถานศึกษา ผลการดำเนินงานของสถานศึกษา และข้อมูลตรงตามตัวบ่งชี้ต่างๆที่กำหนดได้อย่างสะดวก และเป็นปัจจุบัน เครื่องมือที่ใช้ในการพัฒนาระบบได้แก่ ภาษา PHP ใช้ในการเขียนเว็บแอพพลิเคชัน ใช้โปรแกรม MySQL เป็นเครื่องมือจัดการฐานข้อมูล ผลการพัฒนาระบบพบว่าระบบที่พัฒนาขึ้นแบ่งเป็น 4 ส่วนงาน ได้แก่ 1) ส่วนจัดการและกำหนดสิทธิของผู้ใช้งาน 2) ส่วนจัดการข้อมูลผลการดำเนินงานของสถานศึกษา 3) ส่วนจัดการเอกสารอ้างอิง และ 4) ส่วนดูรายงาน ซึ่งแต่ละส่วนงานจะมีหน้าที่การทำงานตามสิทธิ์ที่กำหนด มีการประเมินประสิทธิภาพของระบบโดยผู้เชี่ยวชาญ 3 คน และประเมินความพึงพอใจจากผู้ใช้งาน 30 คน ด้วยแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ แล้วนำมาวิเคราะห์ทางสถิติโดยหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการประเมินการทำงานของระบบ พบว่าผู้เชี่ยวชาญมีความพึ่งพอใจในระดับดี มีค่าเฉลี่ยรวมเท่ากับ 4.43 และผลการประเมินจากผู้ใช้งานอยู่ในระดับดี มีค่าเฉลี่ยรวมเท่ากับ 4.32 แสดงให้เห็นว่าระบบที่พัฒนาขึ้นความเหมาะสม สามารถนำไปใช้งานได้จริงต่อไป
Abstract
The purposes of this study was to develop an information system to support the Internal quality vocational education evaluation which will facilitate quick management, monitoring and implementation of education quality assurance system, to provide educators and administrators of the college which could be monitored the quality of education in order that the results of operations and the various indicators easily and updated. The tools used in developing the systems included PHP language for writing web applications, and MySQL for database management tool. The result of the developed system was divided into four segments; 1) user access management, 2) the results of operations data management, 3) the reference management, and 4) report. User responsibilities were set up in each segment and the performance of the system was evaluated by three experts. The 30 copies of 5 secle rating questionnaire were sent to the users. The results of statistical analysis were as follows: The average satisfaction score rated by the experts was at a good level ( = 4.43). The average satisfaction score rated by the users was at a good level ( = 4.32). Evaluating showed this system could provide appropriate and actually works properly.