การใช้สัตว์หน้าดินในการบำบัดฟื้นฟูทางชีวภาพของคุณภาพน้ำ และดินตะกอนในระบบการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
การบำบัดฟื้นฟูทางชีวภาพ คือการใช้สิ่งมีชีวิตในกระบวนการลดมลพิษ ซึ่งสิ่งมีชีวิตที่นิยมนำมาใช้ในกระบวนการนี้มากที่สุด ได้แก่ แบคทีเรีย รา พืช สาหร่าย และสัตว์หน้าดิน เป็นต้น การบำบัดฟื้นฟูแหล่งน้ำโดยการประยุกต์ใช้สัตว์หน้าดินมีอยู่ด้วยกัน 2 ลักษณะคือ 1. Zooextraction โดยการเก็บเกี่ยวผลผลิตสัตว์ หรือการนำสัตว์ที่อาศัยอยู่ในธรรมชาติอยู่แล้วซึ่งมีความสามารถในการสะสมสารพิษเข้ามาอยู่ในตัวสัตว์นั้นๆ ออกนอกระบบ, 2. Zoodegradation โดยการใส่สัตว์ที่ไม่มีอยู่เดิมเข้าไปในแหล่งมลพิษ โดยสัตว์เหล่านั้นต้องที่มีประสิทธิ ภาพในการกำจัด หรือลดความเป็นพิษของสารมลพิษลง โดยในกรณีของการประยุกต์ใช้สัตว์หน้าดินในการบำบัดฟื้นฟูคุณภาพน้ำ และดินตะกอนในระบบการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสามารถประยุกต์ใช้ได้ 4 กรณี ได้แก่ 1. การลดปริมาณธาตุอาหารในบ่อเลี้ยง 2. การกำจัดแบคทีเรียจากน้ำทิ้งในระบบการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ 3. การบำบัดฟื้นฟูสารอินทรีย์ในดินตะกอนพื้นบ่อเลี้ยงสัตว์น้ำ และ 4. การควบคุมแพลงก์ตอนในบ่อเลี้ยง
Abstract
Bioremediation is pollution reduction process by using organism. Bacteria, fungi, plants and benthos are commonly used in this process. Bioremediation in water resource can separated into 2 characters namely 1. Zooextraction, harvest the organism has ability to accumulate pollutants into your body out of the system and 2. Zoodegradation, input to accumulate pollutants into your body out of the system and 2. Zoodegradation, in put the bioremediator for pollution reducing into the system. For the application of bioremediation in aquaculture system can separated into 4 cases namely 1. Nutrient reducing in aquaculture pond, 2. Removing bacteria from the waste in aquaculture, 3. Bioremediation of organic carbon in sediment of aquaculture pond and 4. Plankton control in aquaculture pond.