ปริมาณฝุ่นละอองและผลกระทบที่เกิดขึ้นกับผู้ปฏิบัติงานในโรงงานอาหารสัตว์

Main Article Content

พิชัย ศิริสุโขดม

Abstract

               การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์หาปริมาณฝุ่นละอองขนาดเล็กกว่า 10 ไมครอนและผลกระทบที่เกิดขึ้นกับผู้ปฏิบัติงานในโรงงานอาหารสัตว์ ในช่วงระยะเวลาทำงานของผู้ปฏิบัติงานเป็นระยะเวลา 8 ชั่วโมง วิธีการศึกษาแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนแรกทำการเก็บตัวอย่างปริมาณฝุ่นละอองขนาดเล็กกว่า 10 ไมครอน 2 จุด ได้แก่ กระบวนการผลิต และสำนักงาน เพื่อวิเคราะห์ปริมาณฝุ่นที่สามารถเข้าสู่ทางเดินหายใจได้ โดยการเก็บตัวอย่างฝุ่นละอองขนาดเล็กกว่า 10 ไมครอน จะใช้วิธีการเก็บตัวอย่างแบบที่ตัวบุคคล ในส่วนที่สองจะเป็นการศึกษาลักษณะของกลุ่มตัวอย่าง ใช้แบบสัมภาษณ์ในการศึกษา ซึ่งประกอบด้วย 3 ส่วน คือ ข้อมูลทั่วไป ประวัติการทำงาน ข้อมูลการปฏิบัติงานและปัญหาสุขภาพ

            ผลการศึกษาพบว่า มีปริมาณฝุ่นละอองขนาดเล็กกว่า 10 ไมครอน (PM-10) เฉลี่ย 8 ชั่วโมง ในสำนักงาน และกระบวนการผลิตเฉลี่ยเท่ากับ 0.16±0.05 มก./ลบ.ม. และ 0.32±0.06 มก./ลบ.ม. ซึ่งมีค่าไม่เกินค่ามาตรฐานคุณภาพอากาศภายในสถานประกอบการ ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย พ.ศ. 2535 กำหนดไว้ว่าระดับ PM-10 ไม่เกิน 5 มก./ลบ.ม. และผลจากการศึกษาประเมินความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่างต่อคุณภาพอากาศที่ได้จากแบบสอบถามจากผู้ปฏิบัติงานในโรงงาน จำนวน 38 คน โดยจากกระบวนการผลิต 28 คน และสำนักงาน 10 คน พบว่า อาการภูมิแพ้ร้อยละ 23.7 ยังคงเป็นอยู่และ 18.4 และเคยเป็น การใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายจากฝุ่น ร้อยละ 21.1 โดยที่อุปกรณ์ป้องกันฝุ่นที่ใช้ส่วนใหญ่คือ ผ้าปิดจมูก ร้อยละ 87.5 ทางด้านสุขภาพของผู้ปฏิบัติงานอาการไอตอนเช้าหรือหลังจากตื่นนอน พบว่ามีการไอร้อยละ 15.8 ขณะทำงานมีอาการไอร้อยละ 21.1 มีเสมหะออกตอนเช้าหรือหลังจากตื่นนอน ร้อยละ 26.3 มีอาการแน่นหน้าอกหรือหายใจลำบากร้อยละ 18.4

Article Details

Section
บทความ : Science and Technology