การจำแนกเพศและประมาณส่วนสูงจากภาพถ่ายรังสีทางการแพทย์บริเวณหัวกระดูกต้นขา

Main Article Content

กณิก เฉลิมพักตร์

Abstract

บทคัดย่อ

               การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างสมการถดถอยที่สามารถจำแนกเพศ และ ประมาณส่วนสูง จาก 15 ระยะ ของ 6 ตำแหน่งอ้างอิงบนหัวกระดูกต้นขา โดยใช้กลุ่มตัวอย่างเป็นภาพถ่ายรังสีทางการแพทย์ของผู้ป่วยโรงพยาบาลตำรวจ จำนวน 136 ราย และนำมาคำนวณด้วยวิธีการทางสถิติ โดยสร้างสมการถดถอยโลจิสติกเพื่อจำแนกเพศ   และสร้างสมการถดถอยเชิงเส้นเพื่อประมาณส่วนสูง ผลการศึกษาพบว่าส่วนหัวกระดูกต้นขาสามารถทำนายเพศได้ร้อยละ 84.5 จากสมการถดถอยแบบลดรูปที่ใช้ตัวแปรเป็น ระยะของส่วนแคบที่สุดของคอกระดูกต้นขาที่เป็นจุดเปลี่ยนโค้ง (C-D)  และ ระยะจาก ส่วนแคบที่สุดของคอกระดูกต้นขาด้านนอกที่เป็นจุดเปลี่ยนโค้ง ถึง ส่วนหัวกระดูกที่กว้างที่สุดบริเวณต้นขาด้านใน(C-E) และ ระยะบนส่วนหัวกระดูกต้นขาไม่เหมาะสมกับการประมาณส่วนสูง โดยสมการถดถอยสามารถประมาณส่วนสูงได้เพียงร้อยละ10.1ในเพศชายและร้อยละ 19.4 ในเพศหญิง

 

Abstract

               This study aims to develop regression model for sex identification and height estimation by using 15 distances from 6 landmarks on proximal epiphysis of the femur. Data were collected from 136 radiographic pictures from femoral AP stance of patients in Police general hospital.  Then calculated by statistical methods using Logistic Regression to figure out the correlation with gender, and Linear Regression correlation with height. The results showed the shortest distance of curvature change point on the neck of femur and distance from lateral side of curvature change point on the neck of femur to medial side of maximum distance on the head of femur are statistically significant with sex, with 84.5% of accuracy from reduced logistics regression model. However, only 10.1% male and 19.4% female height can be estimated from the linear regression model. In conclusion, the distance on femoral epiphysis is reasonable good for sex determination, however, it cannot be able to apply to estimate the height.

Article Details

Section
บทความ : Science and Technology