บทบาท และกระบวนการในการชันสูตรพลิกศพของพนักงานสอบสวน: กรณีศึกษาพนักงานสอบสวนสังกัดตำรวจภูธรจังหวัดนครปฐม
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่อง บทบาทและกระบวนการในการชันสูตรพลิกศพของพนักงานสอบสวน: กรณีศึกษาพนักงานสอบสวนสังกัดตำรวจภูธรจังหวัดนครปฐมเป็นการวิจัยแบบผสมผสาน มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบทบาท กระบวนการชันสูตรพลิกศพของพนักงานสอบสวน ศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติงานตามกระบวนการชันสูตรพลิกศพและจัดทำข้อเสนอต่อการพัฒนาแนวทางการดำเนินงานชันสูตรพลิกศพของพนักงานสอบสวน โดยศึกษาพนักงานสอบสวนที่ปฏิบัติงานสังกัดตำรวจภูธรจังหวัดนครปฐมในปี 2556 จำนวน 125 คน เครื่องมือได้แก่ แบบสอบถามและประเด็นการสนทนากลุ่ม ขั้นตอนการดำเนินงาน คือ 1) การทบทวนวรรณกรรม 2)พัฒนาเครื่องมือ 3)ทดสอบความเที่ยงตรงด้านเนื้อหาของเครื่องมือ 4) ส่งแบบสำรวจถึงพนักงานสอบสวน 5)กำหนดและประสานกลุ่มตัวอย่างเพื่อสนทนากลุ่ม สถานีละ 1 คน รวม 12 คน 6) ทำการสนทนากลุ่ม 7) จัดกลุ่มข้อมูลและตรวจสอบความถูกต้อง 8)ประมวลวิเคราะห์ข้อมูลและสังเคราะห์ข้อเสนอต่อการพัฒนาพนักงานสอบสวนในการปฏิบัติงานด้านการชันสูตรพลิกศพ 9) เขียนผลการศึกษา
ผลการศึกษา พบว่า พนักงานสอบสวนส่วนใหญ่เป็นชาย (ร้อยละ 98.4) มีอายุอยู่ระหว่าง 41–50 ปี (ร้อยละ 36.0) มีวุฒิการศึกษาระดับปริญญาตรี (ร้อยละ 80.8) มีระยะเวลาการปฏิบัติงานสอบสวน 1-10 ปี (ร้อยละ 48.8) มีระดับยศ ร้อยตำรวจโท (ร้อยละ 48.0) มีความรู้ด้านการชันสูตรพลิกศพในระดับมาก (ร้อยละ 66.4) มีการรับรู้เกี่ยวกับการบังคับใช้ด้านนโยบายระดับมาก (ร้อยละ 70.4) มีทัศนคติเชิงบวกต่อการชันสูตรพลิกศพ (ร้อยละ 55.2) ได้รับการเสริมศักยภาพในช่วงปฏิบัติงาน (ร้อยละ 59.2) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการปฏิบัติตามกระบวนการชันสูตรพลิกศพอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 ได้แก่ อายุ ระดับความรู้ ระดับการบังคับใช้ด้านนโยบาย ระยะเวลาในการปฏิบัติงาน ทัศนคติในการชันสูตรพลิกศพ และการได้รับการเสริมศักยภาพของพนักงานสอบสวน
ข้อเสนอจากการวิจัยคือ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ควรให้ข้อมูลความรู้ ในทุกรูปแบบ ทั้งการอบรม การศึกษาดูงาน การมีระบบพี่เลี้ยงแก่พนักงานสอบสวนตั้งแต่เริ่มปฏิบัติงานและพัฒนาแนวทางส่งเสริมการดำเนินงานตามบทบาท กระบวนการชันสูตรพลิกศพแก่พนักงานสอบสวน โดยคำนึงถึงองค์ประกอบทั้งด้านนโยบาย การเพิ่มบุคลากร การจัดวัสดุอุปกรณ์ การจัดการงบประมาณ การส่งเสริมศักยภาพ โดยงานวิจัยต่อไป ควรศึกษาแนวทางการดำเนินงานร่วมกันในกลุ่มบุคลากรทุกฝ่ายทั้งระดับผู้กำหนดนโยบายและผู้ปฏิบัติงาน ศึกษาวิจัยเพื่อวางผังอนาคต โดยพัฒนาแนวทางส่งเสริมให้มีบุคลากรเฉพาะด้านนิติเวช และศึกษาวิจัยเชิงนโยบายทั้งในระดับส่วนกลาง และระดับภูมิภาค เพื่อยกระดับการส่งเสริมความรู้ด้านการชันสูตรพลิกศพของประเทศไทย ให้ก้าวสู่ความเป็นสากลต่อไป
Abstract
The study on the Role and Autopsy’s Adoption Process of Inquiry Official: A Case Study of Inquiry Official of Nakhonpathom Provincial Police is a mixed research. The objectives were to study the role and autopsy's adoption process of the inquiry officer and find out the factors relating to the implementation of the autopsy process and conduct the recommendation for guideline development for the implementation of the official autopsy. The target group were the police officers who are working under Nakhonpathom Provincial Police in the year of 2013, include a total of 125 persons. The tools were questionnaires and issues for focus group. The steps of operation were: 1) a literature review, 2) tools development , 3) test for validity of tools, 4) questionnaires surveyed, 5) coordinated for focus group, 6) established focus group 7) data processing and analysis 8) synthesis of recommendation 9) report writing.
The results showed that the mostly officers were male ( 98.4 percent ), aged between 41-50 years (36.0 percent ), mostly had a bachelor's degree ( 80.8 percent ), period of work 1-10 years (48.8 percent ), had the rank of Lieutenant (48.0 per cent ), the officer has knowledge of the autopsy in a high level (66.4 percent ), had a perception about the autopsy's policy in a high level (70.4 percent), positive attitudes toward the autopsy (55.2 percent), had experience in the process of empowerment (59.2 percent). Factors associated with implementation of the autopsy process with statistical significance .05 were age, level of knowledge. level of enforcement policy, working period, attitudes and the empowerment of officers.
Research recommendation were: the related agencies should provide knowledge in all forms of training, site visit, set up the mentor for the officers since the start of operations, set up the guideline to promote the implementation including all elements as policy issues, staff increasing, materials and budget management, empowerment for increasing their potential.The further research should study for encourage the joint operations among all personnel, both policy makers and practitioners, research for future planning by encourage the guidelines for forensic personnel development. And set up policy research in both central and regional areas to raise the knowledge on the autopsy of Thailand up to the internationalization.