ดัชนีชี้วัดทางชีวภาพในการฟื้นฟูแหล่งหญ้าทะเลผมนาง (Halodule pinifolia) บริเวณหาดเจ้าหลาว จังหวัดจันทบุรี (Biological indicators for restoration of seagrass bed (Halodule pinifolia) at Chaolao Beach, Chanthaburi Province)

Main Article Content

Authors :ชุตาภา คุณสุข - (Chutapa Kunsook)
วิรังรอง กรินท์ธัญญกิจ (Wirangrong Karinthanyakit)

Abstract

              การศึกษาสถานภาพของหญ้าทะเลผมนาง (Halodule pinifolia) ในบริเวณหาดเจ้าหลาว จำนวน 6 ครั้ง ครอบคลุมทั้งฤดูแล้งและฤดูฝน ช่วงฤดูแล้ง ได้แก่ มีนาคม เมษายน พฤษภาคม สำหรับฤดูฝน ได้แก่ กรกฎาคม กันยายน และตุลาคม พ.ศ. 2561 โดยการศึกษาสถานภาพหญ้าทะเลจากค่าตัวชี้วัด ได้แก่ เปอร์เซ็นต์การปกคลุม มวลชีวภาพของหญ้าทะเล ความหลากชนิดและความชุกชุมของแพลงก์ตอนและสัตว์ทะเลหน้าดินในบริเวณแหล่งหญ้าทะเล รวมถึงความสัมพันธ์ระหว่างความสมบูรณ์ของหญ้าทะเล ความชุกชุมของแพลงก์ตอนและสัตว์ทะเลหน้าดิน กับปัจจัยทางกายภาพบางประการ มีการใช้ควอดแดรทเป็นตัวกำหนดพื้นที่ตัวอย่างจำนวน 9 สถานี ผลการศึกษา พบว่าบริเวณหาดเจ้าหลาว มีเปอร์เซ็นต์การปกคลุมในฤดูแล้งเฉลี่ย (92.59%) มากกว่าในฤดูฝน (63.70%) ค่ามวลชีวภาพบริเวณหาดเจ้าหลาว ในฤดูแล้ง มีค่าน้ำหนักสดเฉลี่ยและค่าน้ำหนักแห้งเฉลี่ย (1,488.02 กรัม และ 469.89 กรัม) มากกว่าในฤดูฝน (735.33 กรัม และ 131.16 กรัม) ความหลากชนิดของแพลงก์ตอนในบริเวณหาดเจ้าหลาว พบแพลงก์ตอนพืชจำนวน 3 ดิวิชัน 33 สกุล 53 ชนิด และพบแพลงก์ตอนสัตว์จำนวน 5 ไฟลัม 17 สกุล 17 ชนิด ผลการศึกษาพบความหลากชนิดของสัตว์ทะเลหน้าดินพบทั้งหมด 5 ไฟลัม 31 สกุล 32 ชนิด โดยสัตว์หน้าดินที่พบมากที่สุด คือ หอยถั่วเขียว Clithon oualaniensis (32.73%) นอกจากนี้ ในบริเวณหาดเจ้าหลาว ยังพบเปอร์เซ็นต์การปกคลุมของหญ้าทะเลมีความสัมพันธ์กับค่าความเป็นกรดด่าง ค่าอุณหภูมิน้ำ และค่ามวลชีวภาพอย่างมีนัยสำคัญ (P<0.05) สำหรับค่ามวลชีวภาพ มีความสัมพันธ์กับค่าปริมาณออกซิเจนละลายในน้ำ และค่าความเค็มอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) 


               The status of seagrass bed (Halodule pinifolia) in Chaolao Beach, Chanthaburi Province was conducted total six months covering both seasons in dry season; March, April, May 2018 and wet season; July, September and October 2018. The status of seagrass indicated by percentage of cover area, biomass of seagrass, species diversity and abundance of plankton and benthos. And this research also studied a relationship between abundance of seagrass, plankton, benthos and physical factors. Nine quadrates of 1 m2 was representative of seagrass sampling area. The result found that H. pinifolia at Chaolao Beach, percentage of cover area in the dry season (92.59%) was higher than wet season (63.70%). And also Dry weight and wet weight of seagrass in the dry season (1,488.22 g and 469.89 g) were higher than the wet season (735.33 g and 131.16 g). Diversity of phyloplankton was belonged to 3 division 33 genera and 53 species while the diversity of zooplankton was belonged to 4 phylum 14 genera and 14 species. The result also found that species diversity of benthos was belonged to 5 phylum 31 genera and 32 species. Clithon oualaniensis was most found in this area (32.73%). Moreover, percentage of cover area of seagrass at Chaolao Beach was correlated with pH, water temperature and biomass (P<0.05) while the biomass of seagrass was correlated with dissolved oxygen and salinity (P<0.05).

Article Details

Section
บทความ : Science and Technology