ผลกระทบของดีดีทีต่อเซลล์สร้างเมือกจากหอยนางรมปากจีบ (Saccostrea cucullata) (Effect Of Ddt On Mucous Cell From Hooded Oyster (Saccostrea Cucullata))

Main Article Content

Authors :ปาริชาต สิงห์โตทอง (Parichat Singtothong)
สุภัททา เฉื่อยฉ่ำ (Supatta Chueycham)
สุทิน กิ่งทอง (Sutin Kingtong)

Abstract

                โครงสร้างทางมิญชวิทยาของเซลล์สร้างเมือกบริเวณเนื้อเยื่อแมนเทิลของหอยนางรมปากจีบ hooded oyster, Saccostrea cucullata ยังไม่มีรายงานการวิจัยจวบจนปัจจุบัน งานวิจัยฉบับนี้จึงศึกษาถึงโครงสร้างทางมิญชวิทยาของอวัยวะดังกล่าวผ่านกระบวนการทางมิญชวิทยา และมิญชเคมี ผลการศึกษาระบุว่าภายในเซลล์สร้างเมือกบริเวณเนื้อเยื่อแมนเทิลมีรูปร่างหลายแบบ โดยเซลล์มีรูปร่างคล้ายกับเซลล์ก็อบเล็ท แทรกอยู่ในชั้นเยื่อบุผิว (epithelial layer) มีนิวเคลียส และออร์แกเนลล์อื่นอยู่บริเวณฐานของเซลล์ใกล้กับ basement membrane พบมิวซินแกรนูลขนาดใหญ่เต็มพื้นที่ของไซโทพลาสซึมบริเวณด้านบนของเซลล์สร้างเมือกที่เปิดออกสู่สิ่งแวดล้อม นอกจากนี้พบเซลล์เม็ดเลือด (hemocyte) กระจายแทรกภายในเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน เซลล์สร้างเมือกติดสีม่วงแดง PAS และติดสีฟ้า AB pH 2.5 การศึกษาถึงผลกระทบของสารดีดีที พบว่าจำนวนเซลล์สร้างเมือกในเนื้อเยื่อบริเวณแมนเทิลของหอยนางรมปากจีบได้รับสารดีดีทีมีมากกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-vaule ≤ 0.05) การศึกษาในครั้งนี้ทำให้ทราบถึงโครงสร้างพื้นฐานของเซลล์สร้างเมือกบริเวณเนื้อเยื่อแมนเทิลของหอยนางรมปากจีบ การศึกษาต่อไปควรศึกษาหน้าที่ของเซลล์สร้างเมือก


 


               Histological structures of mucous cell in the hooded oyster (Saccostrea cucullata) have never been reported. Therefore, this structure of this organ was investigated using histological and histochemical analysis. The results revealed that the mucous cells were mainly located at the superficial layer of epidermis. Mucous cells were varied from rounded to goblet shape with nucleus and other organell towards the basement membrane and much more mucin granule in cytoplasm. In addition, several hemocytes were found in connective tissue. However, the mucous cells demonstrated weak positive reaction with both PAS (magenta) and AB pH 2.5 (blue). Finally, the toxicity test of DDT and histopathological investigation revealed alterations in the mucous cells demonstrated an increase in number of mucus cells mean at P < 0.05 level of significance. The current study may provide a basic information about structural histology of mucous cell from the hooded oyster (S. cucullata). For further study, the functions of the oyster mucous cells will be investigate of.

Article Details

Section
บทความ : Science and Technology