การเสริมโปรไบโอติกส์รวมในอาหารต่อการย่อยได้แบบปรากฏของโภชนะ จุลินทรีย์และจุลกายวิภาคของลำไส้เล็กของลูกสุกรหลังหย่านม (Effect of Multi-Probiotics Supplementation in Diets on Apparent Nutrient Digestibility, Intestinal Microbiota and Histomorphology of Weaned Pigs)

Main Article Content

Authors :มนัสนันท์ นพรัตน์ไมตรี (Manatsanun Nopparatmaitree)
นาฏยา แบ่งลาภ (Nattaya Banglarp)
ธนวดี ทองประสงค์ (Thanawadee Thongprasong)
ธนากร ศิริบุตร (Thanakorn Siribut)
สาโรชน์ เจี่ยวยี่ (Sarot Jieoyee)
อิศรพงษ์ เผือกเงิน (Isaraphong Phuekngern)
จิรัฎฐวัฒน์ ศรีอ่อนเลิศ (Jiratthwat Sri-Onlerd)
วรางคณา กิจพิพิธ (Warangkana Kitpipit)

Abstract

              การทดลองนี้ศึกษาผลการเสริมโปรไบโอติกส์รวม (แบคโตแซค-พี®) ในอาหารของสุกรหย่านมต่อต่อการย่อยได้แบบปรากฏของโภชนะ จุลินทรีย์และจุลกายวิภาคของลำไส้เล็ก โดยใช้ลูกสุกรหย่านมลูกผสม 3 สายทางการค้า (Duroc x Landrace x Yorkshire) น้ำหนัก 6 กิโลกรัม เพศผู้ 12 ตัว และ เพศเมีย 12 ตัว  วางแผนการทดลองแบบ 2x2 factorial arrangement in RCBD แบ่งเป็น 2 ปัจจัย โดยปัจจัย A คือ เพศของลูกสุกรหย่านม(เพศผู้และเพศเมีย) ปัจจัย B คือ การเสริมโปรไบโอติกส์รวม ผลการทดลอง พบว่า มีอิทธิพลร่วมของทั้ง 2 ปัจจัย คือ เพศและการเสริมโปรไบโอติกส์รวมในอาหารต่อประสิทธิภาพการย่อยได้โภชนะปรากฏของ สิ่งแห้ง อินทรียวัตถุ เยื่อใยรวม ไขมันรวม และโปรตีนรวมของลูกสุกรหย่านม (P<0.05) ทั้งยัง พบว่า เพศของลูกสุกรมีผลต่อจำนวนจุลินทรีย์ในลำไส้ส่วนซีกัม ได้แก่ E. coli, Coliform และ Total plate count (P<0.05) และการเสริมโปรไบโอติกส์รวมสามารถเพิ่มความสูงของวิลลัสและพื้นที่ผิว ของวิลลัสของดูโอดีนัม เจจูนัม และไอเลียมของลูกสุกร (P<0.05)


 


               The research was conducted to study on effect of Multi-Probiotics (Bactosac-P®) supplementation in weaned pig diets on apparent nutrient digestibility and Intestinal microbiota and histomorphology. Twelve males and twelve females weaned pigs (6 kg), three crossbreed (Duroc x Landrace x Yorkshire), were assigned to 2x2 factorial arrangement in RCBD with two factors. Factor A was sex of weaned pigs (male and female) and factor B was probiotic level (0 and 2 g/kg). Results showed the interaction between factor A and B (sex x probiotics) on apparent nutrient digestibility of dry matter, organic matter, crude fiber, ether extract, and crude protein of weaned pigs significantly (P<0.05). Factor A (sex of weaned pigs) had significant effect on cecal microbiology such as E. coli, coliform and total plate count (P<0.05). Factor B (probiotic level) had significant effect on villus height and villus surface area of duodenum, jejunum and ileum of weaned pigs (P<0.05).

Article Details

Section
บทความ : Science and Technology