การผลิตแผนที่ความเสี่ยงการเกิดดินถล่มโดยใช้ระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ และแบบจำลองการถดถอยโลจิสติกร่วมกับปัจจัยสิ่งแวดล้อม กรณีศึกษาของบ้านนางแลใน อ.เมือง จ.เชียงราย (Mapping of landslide susceptibility area using geographic information system and logi)

Main Article Content

กฤตวิชญ์ สุขอึ้ง (Krittawit Suk-ueng)
ภานุพงศ์ พรหมมารัตน์ (Bhanupong Phrommarat)
สุรัสวดี นางแล (Suruswadee Nanglae)
ธนายุทธ ช่างเรือนงาม (Thanayut Changruenngam)
ศิวรี สุดสนิท (Sivaree Sudsanit)

Abstract

              ดินถล่ม โดยทั่วไปแล้วหมายถึงการเคลื่อนตัวของแผ่นดินลงไปตามความชัน ซึ่งเกิดจากสาเหตุตามธรรมชาติ หรือจากกิจกรรมต่าง ๆ ของมนุษย์ เช่น การทำลายป่าไม้ และการตัดถนน เป็นต้น ซึ่งก่อให้เกิดความเสียหายแก่ชุมชน โดยเฉพาะที่อาศัยอยู่ตามแนวเทือกเขาในภาคเหนือ ในการศึกษาครั้งนี้จึงมีการกำหนดพื้นที่ที่มีโอกาสเสี่ยงในการเกิดดินถล่มโดยการประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์และแบบจำลองการถดถอยโลจิสติกร่วมกับปัจจัยสิ่งแวดล้อมในการผลิตแผนที่ความเสี่ยงของการเกิดดินถล่มเพื่อใช้เป็นฐานข้อมูลในการป้องกันความเสี่ยงของการเกิดดินถล่ม พื้นที่ศึกษาอยู่ในบริเวณบ้านนางแลในหมู่ 7 อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย มีพื้นที่ทั้งสิ้นประมาณ 23 ตารางกิโลเมตร ซึ่งพื้นที่ที่เกิดร่องรอยดินถล่มมี 4 พื้นที่ ได้แก่ ผาลาดรอยวัว บ้านลิไข่ น้ำตกตาดฮาง และดอยดัง จากการสุ่มจุดภายในพื้นที่ที่เคยดินถล่มจำนวน 62 จุด พบว่า ในบริเวณพื้นที่ที่เคยเกิดดินถล่มอยู่ในพื้นที่ที่มีความสูง 675.77 เมตร ห่างจากแม่น้ำนางแล 89.45 เมตร ความลาดชันร้อยละ 48.53 และค่าเฉลี่ยดัชนีความแตกต่างของพืชพรรณน้อยกว่า 0 เคยเป็นพื้นที่ที่เกิดดินถล่ม จากผลการวิเคราะห์แบบจำลองการถดถอยโลจิสติกพบว่า ระดับความสูงของพื้นที่เพิ่มขึ้นทำให้โอกาสของการเกิดดินถล่มเพิ่มขึ้น และพื้นที่ที่มีระยะห่างจากแม่น้ำนางแลมากจะมีโอกาสของการเกิดดินถล่มลดลง และความถูกต้องของแบบจำลองการถดถอยโลจิสติกเท่ากับร้อยละ 81.69 และจากการวิเคราะห์แบบจำลองการถดถอยโลจิสติกร่วมกับความสัมพันธ์ระหว่างพื้นที่การเกิดดินถล่มและปัจจัยสิ่งแวดล้อมพบว่า พื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดดินถล่มของบ้านนางแลในหมู่ 7 มากที่สุด คือ พื้นที่ที่มีระดับความสูงจากระดับน้ำทะเล 664-687 เมตร และมีระยะห่างจากแม่น้ำนางแลไม่เกิน 100 เมตร


               Landslide generally means the movement of earth down a slope occurring from natural causes or human activities, e.g. deforestation and road construction. It consistently causes damage to villages located in mountainous areas in the northern region. In this study, landslide susceptibility areas were defined by applying logistic regression model integrating with environmental factors and geographic information system (GIS) to produce a landslide susceptibility map in order to be used as a guideline for landslide mitigation. Ban Nanglae Nai (Moo. 7), Muang district, Chiang Rai province was selected as a study area. The area was divided into four former landslide sites including Pha Lad Roi Vow, Ban Li Kai, Tad Hang waterfall and Doi Dang. Sixty-two random points were automatically selected in former landslide sites. These random points were 675.77 meters of above mean sea level with average of 89.45 meters away from Nanglae river, the average slope of 48.53 percent and negative values of NDVI. The result of logistic regression model showed that the risk of landslide was increased by higher-elevation, however it was reduced as the distance from the river increased. The accuracy of the model was 81.69 percent. In addition, the result of integrating former landslide sites and logistic regression model with environmental factors found that the high-risk area of landslide in the village was located at 664-687 meter above sea level and approximately 100 meters away from Nanglae river.

Article Details

Section
บทความ : Science and Technology