ระบบเพิ่มประสิทธิภาพของกระบวนการพัฒนาซอฟต์แวร์ตามมาตรฐาน ISO/IEC 29110 สำหรับผู้ประกอบการซอฟต์แวร์เอสเอ็มอีไทย (Efficiency System of Software Development Process Based on ISO/IEC 29110 For Thai SME Software Firms)

Main Article Content

วิภา เจริญภัณฑารักษ์ (Vipa Jaroenpuntaruk)

Abstract

             วัตถุประสงค์ของโครงการวิจัยเพื่อ 1) พัฒนาระบบเพิ่มประสิทธิภาพของกระบวนการพัฒนาซอฟต์แวร์ตามแนวปฏิบัติที่ดีที่สังเคราะห์มาจากกรอบมาตรฐาน ISO/IEC 29110 สำหรับกลุ่มผู้ประกอบการซอฟต์แวร์เอสเอ็มอีไทย  2) ประเมินประสิทธิภาพของระบบเพิ่มประสิทธิภาพฯ ที่พัฒนาขึ้นมา การดำเนินการวิจัย ประกอบด้วยงานหลัก 3 ด้าน คือ 1) การสร้างแนวปฏิบัติที่ดีที่สังเคราะห์มาจากกรอบมาตรฐาน ISO/IEC 29110  แบ่งเป็น 2 Processes คือ กระบวนการบริหารโครงการ (Project Management Process: PM)  มี 4 activities คือ  PM1  PM2   PM3  PM4 และ กระบวนการพัฒนา/ติดตั้งซอฟต์แวร์ (Software Implementation Process: SI)  มี 6 activities คือ SI1  SI2  SI3  SI4  SI5  SI6  เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสัมภาษณ์ผู้ประกอบการเกี่ยวกับกระบวนการพัฒนาซอฟต์แวร์  และเอกสาร ISO/IEC part 5-1: Management & Engineering Guide for Basic Profile;  2) การพัฒนาระบบเพิ่มประสิทธิภาพของกระบวนการพัฒนาซอฟต์แวร์ตามแนวปฏิบัติที่ดีที่สังเคราะห์ขึ้นมา ประกอบด้วยรายการ checklist ตามมาตรฐาน ISO/IEC 29110 มี 2 processes, 10 activities, 50 tasks, 23 work products, Work Product KPI ใช้วัดความครบถ้วนของเอกสาร และ Time & Cost KPI ใช้วัดสถานะของโครงการ  เครื่องมือที่ใช้พัฒนาระบบฯ ประกอบด้วย Microsoft SQL Server, Microsoft Visual Studio, C#,  HTML5 และ Photoshop;  3) การประเมินระบบฯ


             เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถามประเมินระบบฯ แบ่งเป็น 4 ด้าน 1) ด้านความเหมาะสม ความครบถ้วนสมบูรณ์ ของระบบฯ ในองค์ประกอบที่กำหนด  2) ด้านประโยชน์ของระบบเพิ่มประสิทธิภาพฯ  3) ด้านรูปแบบและความสะดวกในการใช้งาน  4) ด้านการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลในระบบฯ  กลุ่มตัวอย่างเป็นการคัดเลือกแบบเจาะจง จำนวน 6 บริษัท ประกอบด้วยบริษัทที่ผ่าน และไม่ผ่านการรับรอง ISO/IEC 29110  กลุ่มละ 3 แห่ง ผลการประเมินความพึงพอใจที่มีต่อระบบเพิ่มประสิทธิภาพ ฯ ในภาพรวมทั้ง 4 ด้าน พบว่าผู้ตอบแบบสอบถามมีความพึงพอใจ มีค่าเฉลี่ยที่ 3.88 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานที่ 0.279 ระดับความพึงพอใจเท่ากับมาก เมื่อพิจารณาแต่ละด้านพบว่า ด้านประโยชน์ของระบบเพิ่มประสิทธิภาพฯ มีค่าเฉลี่ยสูงสุดที่ 4.29 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานที่ 0.526ในขณะที่พบว่าด้านการรักษาความปลอดภัยของข้อมูล มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดที่ 3.51 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานที่ 0.375 และผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เห็นว่าระบบที่พัฒนาขึ้นมาเป็นประโยชน์ในการช่วยกระบวนการพัฒนาซอฟต์แวร์และการจัดการโครงการซอฟต์แวร์  ทั้งนี้ระบบเพิ่มประสิทธิภาพฯ ได้มีการติดตั้งและเผยแพร่เพื่อให้ผู้ประกอบการซอฟต์แวร์หรือผู้สนใจ สามารถเข้าใช้งานได้ที่ www.isoiec29110.com  หรือดาวน์โหลดโปรแกรมได้


 


             The objectives of the research project were as follows: 1) To develop the efficiency system of software development process based on the best practices synthesized from ISO/IEC 29110 for Thai SME software firms 2) To evaluate the developed system.  Research methodology consisted of 3 main processes: 1) To Generate best practice of software development process from ISO/IEC 29110 covering of 2 processes in Project Management Process (PM) with 4 activities and Software Implementation Process (SI) with 6 activities. Tools for this part were the interview questionnaire for SME software firms and ISO/IEC 29110 Part5-1: Management & Engineering Guide for Basic Profile; 2) To develop the efficiency system based on the generated best practices. The components of the system were the checklists complied ISO/IEC 29110 in 2 processes, 10 activities, 50 tasks, 23 work products, Work Product KPI to indicate the completeness of the software project document and Time & Cost KPI to indicate the project status. Tools for system development were Microsoft SQL Server, Microsoft Visual Studio, C#, HTML5 and Photoshop.  3) To evaluate the developed system in 4 categories: (a) The appropriateness, completeness and functionality of the system;  (b) The usefulness and validity of the best practices based on ISO/IEC 29110;  (c) The design and ease of use;  (d) Security and privacy of the system. There were 6 samples drawn purposively, separated into 3 samples from non-certified ISO/IEC 29110 and another 3 samples from certified ISO/IEC 29110. The overall evaluation result in 4 categories was in high level satisfactory with mean of 3.88 and SD of 0.279. The evaluation result in each category found that usefulness of the system was the highest level satisfactory with mean of 4.29 and SD of 0.526. While the lowest level satisfactory was about the security and privacy of the system with mean of 3.51 and SD of 0.375. Most of the samples satisfied in the usefulness of system for helping them in software development process and software project management process.  The developed system is accessible through www.isoiec29110.com for SME software firms and public to download the program.

Article Details

Section
บทความ : Science and Technology