การประเมินพื้นที่ที่เหมาะสมในการสร้างบ่อฝังกลบขยะอย่างถูกสุขาภิบาล กรณีศึกษาอำเภอเมืองสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ (The assessment of suitable sanitary landfills area: a case study in Mueang Samutprakarn District, Samutprakarn Province)

Main Article Content

อภิญญา ปลื้มอุดม (Apinya Pluemudom)
เครือมาศ สมัครการ (Kruamas Smakgahn)

Abstract

              งานวิจัยนี้ศึกษาหาพื้นที่ที่เหมาะสมต่อการสร้างบ่อฝังกลบขยะมูลฝอยอย่างถูกหลักสุขาภิบาลในอำเภอเมืองสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อหลีกเลี่ยงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อม โดยระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์และใช้กระบวนการลำดับชั้นเชิงวิเคราะห์ (AHP) ในการหาน้ำหนักของปัจจัยจากผู้เชี่ยวชาญ 10 คน พิจารณาปัจจัยทางกายภาพ 11 ปัจจัย ได้แก่ พื้นที่แนวลึกที่สามารถพัฒนาได้ ระยะห่างจากสถานที่ราชการ ระยะห่างจากหมู่บ้าน แหล่งน้ำผิวดิน ความลาดชัน ถนนสายหลัก การใช้ประโยชน์ที่ดิน ระยะห่างจากพื้นที่เสี่ยงภัยน้ำท่วม ระยะห่างจากโบราณสถานพื้นที่ชายฝั่งความเหมาะสมของชุดดินย่อยผลการวิจัยพบว่าพื้นที่ที่เหมาะสมมากที่สุดในการฝังกลบขยะมูลฝอย ในอำเภอสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ มีเนื้อที่ 1,012.29 ไร่ หรือ 1.62 ตารางกิโลเมตร และพบพื้นที่ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในตำบลบางปูใหม่ซึ่งมีขนาด 723.42  ไร่ หรือ 1.16 ตารางกิโลเมตรและพบว่าพื้นที่บ่อขยะแบบเปิดที่มีอยู่ในพื้นที่ศึกษาสามารถพัฒนาเป็นบ่อฝังกลบขยะแบบถูกหลักสุขาภิบาลได้ และปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการพัฒนาเป็นบ่อฝังกลบขยะแบบถูกสุขาภิบาลซึ่งปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการพัฒนาพื้นที่มาก คือ ช่วงความลึกที่พบน้ำใต้ดิน ชุมชน และแหล่งน้ำ


 


                     This study analyzes suitable areas for construct sanitary landfill sites in Amphoe Maung Samutprakarn, Samutaprakarn province by considering the impact of human and environment. This study analyzed the physical properties that influence on landfill sites selection by Analytic Hierarchy Process (AHP) and geographical information system (GIS). This study consider 11 factors, including depth to find groundwater, distance to government offices, distance to village, distance to surface water, slope, distance of road, land use, distance to flood, distance to historic site, coastal area and sub-soil series. The results show that suitable areas for sanitary landfill development in study area are   1,012.29 rai or 1.62 square kilometers. The largest size of the most suitable area located in Tambol Bang Pu Mai. This covers an area of 723.4 2rai or 1.16 square kilometers. In addition, the open dumping area has potential to develop as a landfill. The factors influencing the development of the area are the depths of groundwater, the community and water resources.

Article Details

Section
บทความ : Science and Technology