ศึกษาการระบุเพศจากความหนาแน่นของจำนวนลายเส้นนิ้วหัวแม่เท้า (Sex identification study from great toe print ridge density)

Main Article Content

ภัสรดาณช สารีเกิด (Phasaradanut Sareekerd)
พงษ์พิษณุ ภักดีณรงค์ (Pongpitsanu Pakdeenarong)

Abstract

             การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิธีการตรวจหาเพศจากความหนาแน่นของจำนวนเส้นนูน (Ridge Count) บนนิ้วหัวแม่เท้าของกลุ่มประชากรนักศึกษาชั้นปีที 1 คณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร ที่พักอาศัยในหอพักมหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตสารสนเทศเพชรบุรี อายุระหว่าง 18-20 ปี จำนวน 50 คน โดยแบ่งเป็นเพศชาย 25 คน และเพศหญิง 25 คน โดยศึกษาความสัมพันธ์ของความหนาแน่นลายเส้นนิ้วเท้าเพศชายและเพศหญิงและเพื่อระบุเพศจากความหนาแน่นของจำนวนลายเส้นนิ้วหัวแม่เท้า บนพื้นที่วิจัยขนาด 25 ตารางมิลลิเมตร โดยการพิมพ์ลายนิ้วหัวแม่เท้าทั้งซ้ายและขวาของกลุ่มตัวอย่าง ด้วยหมึกสำหรับการพิมพ์ลายนิ้วมือ (Fingerprint ink) และ วิเคราะห์ผลการวิจัยโดยโปรแกรมทางสถิติ


             ผลการวิจัยพบว่าเมื่อเปรียบเทียบความหนาแน่นของลายเส้นนูน บนพื้นที่วิจัยบริเวณกำหนดพื้นที่เป็นช่องสี่เหลี่ยมจัตุรัสขนาด 25 ตารางมิลลิเมตร พบว่า เพศหญิงจะมีความหนาแน่นของจำนวนลายเส้นนิ้วหัวแม่เท้าทั้งด้านซ้ายและด้านขวามากกว่าเพศชาย โดยเพศชายจะมีความหนาแน่นของจำนวนลายเส้นนิ้วเท้าจำนวน 9-12 เส้น เท้าซ้ายจะหนาแน่นมากที่สุดที่ 12 เส้น ส่วนเท้าด้านขวาจะมีความหนาแน่นมากสุดที่จำนวน 9 เส้น ในขณะที่เพศหญิงจะมีความหนาแน่นของจำนวนลายเส้นนิ้วเท้า จำนวน 13-19 เส้น เท้าซ้ายจะหนาแน่นมากที่สุดที่ 14-15 เส้น ส่วนเท้าด้านขวา จะมีความหนาแน่นมากสุดที่จำนวน 15 เส้น ซึ่งเป็นค่าที่ได้จากการนับลายเส้นจริงของกลุ่มตัวอย่าง 50 คน เรียกว่า เป็นค่าในเชิงตัวเลขที่ทั้ง 2 เพศแตกต่างกัน ในเชิงสถิติความหนาแน่นลายเส้นนิ้วเท้าซ้ายและนิ้วเท้าขวาของเพศชายและเพศหญิงมีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 (X^2 = 50.000, P-value = 0.000)  ทั้งสองข้าง


               This research aims to comparatively study the ridge count of great toe print on 50 person (25 males and 25 females), the first year students of  Faculty of Animal Science and Agricultural Technology  residence at Silpakorn University Phetchaburi IT Campus at the age between 18 – 20 years. While ridge counts were examined on the area of 25 square millimeters. Their right and left toe were imprinted with fingerprint ink and analysis by statistical program.


               The results, showed comparing the count of ridges discovered from male and females showed females have more ridges than male significant difference 0.01 ( X2= 50.000, P-value = 0.000). Mean of the ridge count of great toe print of male were 9-12.  Left toe and right toe dominant at 12 and 9 respectively, while mean of the ridge count of great toe print of female were 13-19. Left toe and right toe dominant at 14-15 and 15 respectively.

Article Details

Section
บทความ : Science and Technology