การศึกษาประสิทธิภาพของระบบควบคุมเครื่องยนต์ขณะรอบเดินเบา ของรถยนต์ขนาด 1,000 ซี ถึง 1,500 ซีซี โดยวิธีการเทียบเคียง
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพการควบคุมความเร็วรอบเดินเบาของเครื่องยนต์รถยนต์ขนาด 1,000 ซีซี ถึง 1,500 ซีซี ในประเทศไทย เพื่อให้ได้ข้อมูลที่จะนำไปพัฒนาระบบควบคุมความเร็วรอบเดินเบาของเครื่องยนต์ตัวอย่าง โดยทำการเทียบเคียงเครื่องยนต์ที่ใช้ระบบการจัดการเครื่องยนต์ที่แตกต่างกันทั้งหมด 3 แบบ คือ การจัดการเครื่องยนต์แบบ D-Jetronic L-Jetronic และแบบที่ใช้ทั้ง D-Jetronic ร่วมกับ L-Jetronic การทดลองได้แบ่งออกเป็น 16 หัวข้อตามปัจจัยและสภาวะที่ส่งผลกระทบต่อการควบคุมรอบเดินเบาโดยใช้ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพมาทำการเปรียบเทียบกันในเชิงวิเคราะห์ คือ ค่าเฉลี่ยของความเร็วรอบ (N) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานของความเร็วรอบ () ค่าความผิดพลาดของความเร็วรอบจากค่าเป้าหมาย (
) Overshoot Undershoot และ Track time ซึ่งผลการเทียบเคียงพบว่าเครื่องยนต์ J ซึ่งมีการจัดการแบบ D-Jetronic ได้คะแนนมากที่สุดคือ 35 จาก 41 คะแนน หรือ 85.4% จึงได้ใช้เครื่องยนต์ J เป็นหลักในการวิเคราะห์สำหรับการพัฒนาปรับปรุงเครื่องยนต์ตัวอย่างโดยสามารถสรุปได้ทั้งหมด 3 หัวข้อ คือ 1. ประสิทธิภาพในการตอบสนองที่รวดเร็วของการชดเชยปริมาณอากาศเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงของโหลดในสภาวะต่างๆ ทำให้ควบคุมรอบเดินเบาได้ดี ซึ่งสามารถปรับปรุงได้โดยการวางตำแหน่งเซ็นเซอร์วัดปริมาณอากาศให้ใกล้เครื่องยนต์มากยิ่งขึ้น เป็นต้น 2. การชดเชยปริมาณอากาศหลังเหยียบคันเร่งไปที่รอบปานกลางและรอบสูงที่มีลักษณะขึ้นไปที่รอบเป้าหมายทันทีจะทำให้ค่า Track Time มีค่าน้อยกว่าการชดเชยในลักษณะเป็นขั้นบันได 3. ขนาดของแบตเตอรี่และตัวกำเนิดกระแสไฟฟ้ามีผลต่อการควบคุมรอบเดินเบา ซึ่งเครื่องยนต์ที่ใช้แบตเตอรี่ขนาดเล็กและตัวกำเนิดกระแสไฟฟ้าขนาดใหญ่จะควบคุมรอบเดินเบาได้ดีเนื่องจากการประจุไฟฟ้ากลับเข้าสู่แบตเตอรี่ทำได้อย่างรวดเร็วและใช้ระยะเวลาสั้นในการดึงกำลังของเครื่องยนต์เพื่อใช้สร้างกระแสไฟฟ้า ดังนั้นจากการศึกษาเทียบเคียงครั้งนี้สามารถนำหัวข้อการปรับปรุงที่ได้ไปพัฒนาระบบควบคุมรอบเดินเบาของเครื่องยนต์ตัวอย่างได้ต่อไป
Article Details
นโยบายการรับบทความ
กองบรรณาธิการวารสารสถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น มีความยินดีรับบทความจากอาจารย์ประจำ และผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี ที่เขียนเป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษ ซึ่งผลงานวิชาการที่ส่งมาขอตีพิมพ์ต้องไม่เคยเผยแพร่ในสิ่งพิมพ์อื่นใดมาก่อน และต้องไม่อยู่ในระหว่างการพิจารณาของวารสารอื่นที่นำส่ง ดังนั้นผู้สนใจที่จะร่วมเผยแพร่ผลงานและความรู้ที่ศึกษามาสามารถนำส่งบทความได้ที่กองบรรณาธิการเพื่อเสนอต่อคณะกรรมการกลั่นกรองบทความพิจารณาจัดพิมพ์ในวารสารต่อไป ทั้งนี้บทความที่สามารถเผยแพร่ได้ประกอบด้วยบทความวิจัย ผู้สนใจสามารถศึกษาและจัดเตรียมบทความจากคำแนะนำสำหรับผู้เขียนบทความ
การละเมิดลิขสิทธิ์ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้ส่งบทความโดยตรง บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ต้องผ่านการพิจารณากลั่นกรองคุณภาพจากผู้ทรงคุณวุฒิและได้รับความเห็นชอบจากกองบรรณาธิการ
ข้อความที่ปรากฏภายในบทความของแต่ละบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการเล่มนี้ เป็น ความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่าน ไม่เกี่ยวข้องกับสถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น และคณาจารย์ท่านอื่น ๆ ในสถาบัน แต่อย่างใด ความรับผิดชอบด้านเนื้อหาและการตรวจร่างบทความแต่ละบทความเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะต้องรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว
กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์มิให้นำเนื้อหา ทัศนะ หรือข้อคิดเห็นใด ๆ ของบทความในวารสารสถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น ไปเผยแพร่ก่อนได้รับอนุญาตจากผู้นิพนธ์ อย่างเป็นลายลักษณ์อักษร ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารสถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น
ผู้ประสงค์จะส่งบทความเพื่อตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น สามารถส่ง Online ที่ https://www.tci-thaijo.org/index.php/TNIJournal/ โปรดสมัครสมาชิก (Register) โดยกรอกรายละเอียดให้ครบถ้วนหากต้องการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมที่
- กองบรรณาธิการ วารสารสถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น
- ฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น
เลขที่ 1771/1 สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น ซอยพัฒนาการ 37-39 ถนนพัฒนาการ แขวงสวนหลวง เขตสวนหลวง กรุงเทพมหานคร 10250 ติดต่อกับคุณพิมพ์รต พิพัฒนกุล (02) 763-2752 , คุณจุฑามาศ ประสพสันติ์ (02) 763-2600 Ext. 2402 Fax. (02) 763-2754 หรือ E-mail: JEDT@tni.ac.th
References
D. Hrovat; and Jing Sun. Models and control methodologies for IC engine idle speed control design. ControlEngineering Practice, Vol. 5, no. 8, pp. 1093-1100, 1997.
Andrea Balluchi; Luca Benvenuti; Claudio Lemma; Pierpaolo Murrieri; and Alberto L. Sangiovanni-Vincentelli. Idle-speed control: a Benchmark Problem in Automotive Applications. Internal Technical Report. 1-16, 2004.
Teruji Sekozawa. Model-based Control and Learning Control Method for Automobile Idle Speed Control using Electric Throttle. WSEAS Transaction On Systems and Control. Issue 2, Vol. 3:125-136, 2008.
Min Han; Robert N. K. Loh; and Lin Wang. Optimal Idle Speed Control of an Automotive Engine. Electronic Engine Controls : Sensors, Actuators, and Development Tools. Society of Automotive Engineers, USA, 1998.
American Productivity & Quality Center. The Benchmarking Management Guide. Portland: Productivity Press, 1993.
พอล เจมส์ โรแบร์. 2543. หลักการวิเคราะห์และเปรียบเทียบความสามารถอย่างเป็นระบบ. พิมพ์ครั้งที่ 1/2543. กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
M. Thornhill; S. Thomson; and H. Sindano. A comparison of idle speed control schemes. Control Engineering Practice, 8, 519-530, 2000.