ตัวแบบเชิงคณิตศาสตร์ของการแพร่กระจายเชื้อวัณโรคในประเทศไทยที่มีปัจจัยของการฉีดวัคซีนและการต่อต้านการรักษาด้วยยา

ผู้แต่ง

  • Pongsan Prakitsri Kasetsart University Sriracha Campus
  • Arnisa Rasri คณะวิทยาศาสตร์ ศรีราชา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา
  • Chanakan Nithijirawat คณะวิทยาศาสตร์ ศรีราชา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา
  • Naritsara Para คณะวิทยาศาสตร์ ศรีราชา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา

คำสำคัญ:

วัณโรค, จุดสมดุล, อัตราการแพร่กระจายเชื้อ, ความมีเสถียรภาพ

บทคัดย่อ

วัณโรคเป็นโรคติดต่อที่เกิดจากเชื้อไมโครแบคทีเรียทูเบอร์คูโลซิส ซึ่งสามารถติดต่อจากคนสู่คนผ่านทางอากาศโดยการหายใจ ไอ จาม หรืออยู่ร่วมกับผู้ป่วยเป็นเวลานาน ในประเทศไทยนั้นมีปัญหาของการแพร่ระบาดของวัณโรคสูง เนื่องจากในแต่ละปีจำนวนผู้ที่ป่วยเป็นวัณโรค และผู้ที่ป่วยเป็นวัณโรคดื้อยาเพิ่มสูงขึ้น ผู้วิจัยจึงทำการสร้างตัวแบบเชิงคณิตศาสตร์ของวัณโรคในประเทศไทยที่มีปัจจัยของการฉีดวัคซีนและการต่อต้านการรักษาด้วยยา ซึ่งประกอบด้วย กลุ่มประชากรที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อ กลุ่มประชากรที่ฉีดวัคซีน กลุ่มประชากรที่เป็นโรคอยู่ในระยะไม่แสดงอาการ กลุ่มประชากรที่เป็นโรคอยู่ในระยะแสดงอาการ กลุ่มประชากรดื้อยา และกลุ่มประชากรที่หายจากโรค จากนั้นทำการวิเคราะห์ตัวแบบเชิงคณิตศาสตร์ หาจุดสมดุล หาความมีเสถียรภาพของจุดสมดุล หาอัตราการแพร่กระจายเชื้อของวัณโรคในประเทศไทยโดยใช้วิธีรุ่นถัดไป และวิเคราะห์ความอ่อนไหวของอัตราการแพร่กระจายเชื้อของวัณโรคในประเทศไทย จากนั้นทำการหาผลเฉลยเชิงตัวเลขโดยใช้วิธีรุงเงอ-คุททา อันดับสี่ แล้วเปรียบเทียบผลเฉลยเชิงตัวเลขกับข้อมูลจริงของผู้ป่วยวัณโรคตั้งแต่ปี พ.ศ. 2557 – 2560 พบว่ามีค่าคลาดเคลื่อนร้อยละ 9.6024 นอกจากนี้ผู้วิจัยปรับปรุงผลเฉลยเชิงตัวเลขโดยการประมาณค่าพารามิเตอร์ด้วยการถดถอยเชิงเส้นอย่างง่ายและการถดถอยเชิงพหุนาม พบว่ามีค่าคลาดเคลื่อนลดลงประมาณร้อยละ 2

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-06-20