ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการมีหนี้สินของครอบครัวข้าราชการพลเรือน สามัญในกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล
คำสำคัญ:
หนี้สิน, การวิเคราะห์การถดถอยเชิงเส้นพหุคูณ, การวิเคราะห์ปัจจัยบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการมีหนี้สินของครอบครัวข้าราชการพลเรือน สามัญ จำนวน 3 ประเภทได้แก่ ประเภททั่วไป ประเภทวิชาการ และประเภทอำนวยการและประเภทบริหาร โดยใช้ข้อมูลทุติยภูมิจากสำนักงานสถิติแห่งชาติ เรื่องการสำรวจภาวะการครองชีพของช้าราชการพลเรือนสามัญ พ.ศ. 2555 ในงานวิจัยนี้จะศึกษาเฉพาะการมีหนี้สินของครอบครัวช้าราชการพลเรือนสามัญทุกตำแหน่งประเภท ในเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล (สมุทรปราการ นนทบุรี และปทุมธานี) เท่านั้น ตัวแปรอิสระที่ใช้มีทั้งหมด 26 ตัวแปร ใช้การวิเคราะห์การถดถอยเชิงเสันพหุคูณ (multiple linear regression analysis) ในการวิเคราะห์ข้อมูล โดยเลือกตัวแปรอิสระด้วยวิธีเพิ่มตัวแปรอิสระแบบขั้นตอน (stepwise regression procedure) และใช้การวิเคราะห์ปัจจัย (factor analysis) ด้วยวิธีวิเคราะห์องค์ประกอบหลัก และหมุนแกนปัจจัยร่วมให้ทั้งฉากกัน (orthogonal rotation) ด้วยวิธีวาริแมกซ์ (varimax) ในการรวมตัวแปรอิสระที่มีความสัมพันธ์กัน ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการมีหนี้สินของครอบครัวข้าราชการพลเรือนสามัญประเภททั่วไป ประกอบด้วยปัจจัยร่วม 3 ปัจจัย คือ ความสามารถในการผ่อนชำระ จำนวนสมาชิกในครอบครัว และค่าใช้จ่ายเพื่อการครองชีพ และตัวแปรอิสระ 3 ตัว แปรหลัก คือ ค่าจ้างบุคคลที่ให้บริการแก่ครอบครัวและค่าใช้จ่ายสมทบ ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการศึกษา และวุฒิการศึกษาที่ใช้ในการบรรจุเข้าทำงานในประเภทและระดับตำแหน่งปัจจุบัน สามารถอธิบายความผันแปรของตัว
แปรตามได้เท่ากับร้อยละ 57.7 ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการมีหนี้สินของครอบครัวข้าราชการพลเรือนสามัญ ประเภทวิชาการ ประกอบด้วยปัจจัยร่วม คือ ความสามารถในการผ่อนชำระ และตัวแปรอิสระ 2 ตัวแปรหลัก คือ ค่าจ้างบุคคลที่ให้บริการแก่ครอบครัวและค่าใช้จ่ายสมทบ และค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการศึกษา สามารถอธิบายความผัน แปรของตัวแปรตามได้เท่ากับร้อยละ 50.1 สำหรับปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการมีหนี้สินของครอบครัวข้าราชการ พลเรือนสามัญประเภทอำนวยการและประเภทบริหาร ประกอบด้วยปัจจัยร่วมคือ ความสามารถในการผ่อนชำระ และตัวแปรอิสระ 2 ตัวแปรหลัก คือ ค่าใช้จ่ายเพื่อการสะสมทุน และเพศ สามารถอธิบายความผันแปรของตัวแปร ตามได้ เท่ากับร้อยละ 63.5