Application of post harvested drying technique and packaging to retard degradation of purple waxy rice

ผู้แต่ง

  • นิตยา จันกา สาขาวิชาเทคโนโลยีการผลิตพืช คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม
  • เฉลิมชัย วงษ์อารี หลักสูตรเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว คณะทรัพยากรชีวภาพและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี วิทยาเขตบางขุนเทียน
  • พนิดา บุญฤทธิ์ธงไชย หลักสูตรเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว คณะทรัพยากรชีวภาพและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี วิทยาเขตบางขุนเทียน
  • ชัยวัฒน์ รัตนมีชัยสกุล สาขาวิชาวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง วิทยาเขตชุมพร

คำสำคัญ:

ข้าวเหนียวม่วง, การอบแห้งหลังการเก็บเกี่ยว, บรรจุภัณฑ์, การเสื่อมสภาพ

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประยุกต์ใช้เทคนิคการอบแห้งหลังการเก็บเกี่ยวและบรรจุภัณฑ์ เพื่อชะลอการเสื่อมสภาพของคุณภาพด้านสี ปริมาณแอนโทไซยานิน ปริมาณสารฟีนอลทั้งหมด ความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระและการก่อตัวของกรดไขมันอิสระ ซึ่งเป็นสาเหตุของกลิ่นเหม็นหืนในข้าวเหนียวม่วงอบแห้งตัวอย่างข้าวเปลือกที่ความชื้นหลังการเก็บเกี่ยว 25 เปอร์เซ็นต์มาตรฐานเปียก (% w.b.) ถูกอบแห้งด้วยเครื่องฟลูอิไดซ์เบดแบบงวดที่อุณหภูมิสูง 100 130 และ 150ºC จนกระทั่งความชื้นลดลงเหลือ 18 % w.b. จากนั้นกะเทาะเปลือกและบรรจุข้าวเหนียวม่วงน้ำหนัก 50 กรัมบรรจุลงในถุงพลาสติกสาน ถุงลามิเนต และถุงลามิเนตร่วมกับตัวดูดซับออกซิเจน ทำการเก็บรักษาที่อุณหภูมิบรรยากาศเป็นระยะเวลา 90 วัน ผลการวิเคราะห์คุณภาพภายหลังการอบแห้งพบว่า อุณหภูมิสูงสุดที่ควรใช้ในการอบแห้งคือ 130ºC การใช้อุณหภูมิดังกล่าวไม่ส่งผลกระทบต่อคุญภาพของข้าว นอกจากนี้ยังทำให้กรดไขมันอิสระมีการก่อตัวลดลง อย่างไรก็ตามข้าวที่ผ่านการอบแห้งควรเก็บรักษาในถุงลามิเนตร่วมกับตัวดูดซับออกซิเจนเนื่องจากสามารถชะลอการเสื่อมสภาพของคุณภาพได้ดีที่สุด

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2017-06-01