การพัฒนาวิธีการหาและลดปริมาณไมโครพลาสติกปนเปื้อน ในผลิตภัณฑ์น้ำแข็งที่ผลิตจากแหล่งน้ำดิบเชิงพื้นที่อำเภอเมืองชัยภูมิ
คำสำคัญ:
ไมโครพลาสติก, การปนเปื้อน, น้ำแข็ง, ผู้ประกอบการ, แหล่งน้ำดิบบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มุ่งศึกษาและหาแนวทางลดไมโครพลาสติกที่ปนเปื้อนในน้ำแข็งสำหรับบริโภค กรณีศึกษา น้ำแข็งที่ผลิต ในพื้นที่อำเภอเมืองชัยภูมิ จากผู้ประกอบการผลิตทั้งหมด 5 ราย โดยแบ่งตัวอย่างเป็น กลุ่มที่ 1 แหล่งน้ำดิบที่ใช้ผลิตน้ำแข็ง กลุ่มที่ 2 น้ำแข็งที่ผลิตจากผู้ประกอบการโดยตรง และกลุ่มที่ 3 แข็งที่ถูกจัดจำหน่ายตามร้านค้าแบบสุ่ม ผู้วิจัยเลือกกระบวนการตรวจวิเคราะห์โดยเลือกวิธีการและมาตรฐาน ตามวิธีการของ Masura, Baker, Foster, Arthur, & Herring (2015) [14] ที่จัดทำไว้เป็นคู่มือเฉพาะและได้รับการยอมรับให้เป็นวิธีการตรวจวิเคราะห์ไมโครพลาสติกขององค์การบริหารมหาสมุทรและบรรยากาศโลก สหรัฐอเมริกา (NOAA) รวมถึงวิธีการกนกวรรณ เนตรสิงแสง (มหาวิทยาลัยนเรศวร, 2563) [1] เพื่อให้รู้ถึงปริมาณ สี ลักษณะสัณฐาน และขนาดของไมโครพลาสติกเทียบกับตัวอย่างน้ำ 1 ลิตร ผลการวิจัย พบปริมาณไมโครพลาสติกในกลุ่มที่ 1 เฉลี่ย 224 ชิ้น กลุ่มที่ 2 เฉลี่ย 28 ชิ้น กลุ่มที่ 3 เฉลี่ย 323 ชิ้น สีของไมโครพลาสติก กลุ่มที่ 1 พบสีดำเฉลี่ย 232 ชิ้น สีน้ำตาลแดงเฉลี่ย 33 ชิ้น กลุ่มที่ 2 พบสีดำเฉลี่ย 23 ชิ้น สีน้ำตาลแดงเฉลี่ย 5 ชิ้น กลุ่มที่ 3 สีดำเฉลี่ย 310 ชิ้น สีน้ำตาลแดงเฉลี่ย 14 ชิ้น สัณฐาน ไมโครพลาสติก กลุ่มที่ 1 พบแบบชิ้นส่วนเฉลี่ย 201 ชิ้น แบบเส้นใยเฉลี่ย 19 ชิ้น แบบฟิล์มเฉลี่ย 4 ชิ้น กลุ่มที่ 2 แบบชิ้นส่วนเฉลี่ย 27 ชิ้น แบบเส้นใยเฉลี่ย 1 ชิ้น แบบฟิล์มเฉลี่ย 1 ชิ้น กลุ่มที่ 3 แบบชิ้นส่วนเฉลี่ย 306 ชิ้น แบบเส้นใยเฉลี่ย 11 ชิ้น แบบฟิล์มเฉลี่ย 7 ชิ้น ขนาดของไมโครพลาสติกส่วนใหญ่มีขนาดเล็กกว่า 1,000 ไมโครเมตร มีเพียงร้อยละ 0.005 ที่พบมีขนาดใหญ่กว่า สรุปผล ปริมาณไมโครพลาสติกในน้ำแข็งที่พบ 28 ชิ้นต่อลิตร มีค่าอยู่ในเกณฑ์ปนเปื้อนน้อยเมื่อเปรียบเทียบกับค่าเฉลี่ยของ Niall McCarthy (2018) [11] ที่มีค่าเฉลี่ย 325 ชิ้นต่อลิตร ส่วนไมโครพลาสติกที่พบปริมาณสูงมากคือกลุ่มที่ 3 ที่พบในน้ำแข็งที่จำหน่ายตามร้านค้าปลีก การพัฒนานวัตกรรมเพื่อลดปริมาณสามารถเปลี่ยนวัสดุบรรจุภัณฑ์น้ำแข็งจากกระสอบพลาสติกเป็นผ้ากันน้ำยังไม่คุ้มค่าเชิงต้นทุนในปัจจุบัน และยังต้องมีการศึกษาการปนเปื้อนในส่วนร้านค้าปลีกที่พบปริมาณสูงที่สุดในกลุ่มตัวอย่างต่อไปในอนาคต
References
กนกวรรณ เนตรสิงแสง. (2563). การปนเปื้อนไมโครพลาสติก และปลาในพื้นที่ชุ่มน้ำบึงบอระเพ็ด จังหวัดนครสวรรค์. วิทยานิพนธ์ วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม, มหาวิทยาลัยนเรศวร.
กรณิศ ตันอังสนากุล. (16 ตุลาคม 2560). ทางออกของขยะที่มองไม่เห็น . สืบค้นเมื่อ 15 เมษายน 2561, จาก
https://www.the101.world/life/solution-from-microplasticpollution/
กรมควบคุมมลพิษ. (2546). คู่มือการติดตามตรวจสอบและประเมิน คุณภาพน้ำในแหล่งน้ำจืดผิว ดิน. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
กรมควบคุมมลพิษ. (2561). รายงานสถานการณ์มลพิษของประเทศไทย ปี 2560. กรุงเทพฯ: บริษัท วงศ์สว่างพับลิชชิ่ง แอนด์ พริ้นติ้ง จ้ากัด
เกรียงศักดิ์ วงศ์พร้อมรัตน์. (2556). รอบรู้เรื่องพลาสติก. กรุงเทพฯ: อุตสาหกรรมพัฒนามูลนิธิ สถาบันพลาสติก.
ทานตวรรณ เต็กชื่น, นิรันดร์ จันรัสมี และอดิศักดิ์ แก้วใส. (2544). พลาสติก 1. กรุงเทพฯ: สกายบุ๊กส์.
บุษยมาส พิมพ์พรรณชาติ. (2554). ดัชนีคุณภาพน้ำ. วารสารวิทยาศาสตร์ลาดกระบัง, 20(1), 70- 82.
ปิติพงษ์ ธาระมนต์, สุหทัย ไพรสานฑ์กุล และนภาพร เลียดประถม. (2559). การปนเปื้อนของ ไมโครพลาสติกในหอยสองฝาบริเวณชายหาดเจ้าหลาวและชายหาดคุ้งวิมาน จังหวัด จันทบุรี. วารสารแก่นเกษตร 44 (ฉบับพิเศษ 1), 738-744.
พรรษวรรณ ศรีนาค. (2547). การควบคุมมลพิษทางน้ำ. กรุงเทพฯ: มีนเซอร์วิส ซัพพลาย.
ศีลาวุธ ดำรงศิริ. (2562). ไมโครพลาสติกในแหล่งน้ำจืดและแหล่งน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภค. วารสารสิ่งแวดล้อม, ปีที่ 23 (ฉบับที่ 2).
Baldwin, A. K., Corsi, S. R., and Mason, S. A. (2016). Plastic debris in 29 Great Lakes tributaries: relations to watershed attributes and hydrology. Environmental Science & Technology, 50(19), 10377-10385.
Cable, R. N., Beletsky, D., Beletsky, R., Wigginton, K., Locke, B. W., & Duhaime, M. B. (2017). Distribution and modeled transport of plastic pollution in the Great Lakes, the world's largest freshwater resource. Frontiers in Environmental Science, 5, 45.
Cole, M., Lindeque, P., Halsband, C., and Galloway, T. S. (2011). Microplastics as contaminants in the marine environment: a review. Marine pollution bulletin, 62(12), 2588-2597.
CounterMEASURE project. (2020). Survey on Microplastic Leakage in the Mekong River Basin. Retrieved August 23, 2020, from https://3d7e7899-1117-43cb-9194- 3f1feb5a407b.filesusr.com/ugd/d5ac80_a71e87593bb647f3aa2fcd8bd4559cf 3.pdf
Dris, R., Imhof, H. K., Löder, M. G., Gasperi, J., Laforsch, C., & Tassin, B. (2018). Microplastic contamination in freshwater systems: methodological challenges, occurrence and sources. In Microplastic Contamination in Aquatic Environments (pp. 51-93). Elsevier.
Lahens, L., Strady, E., Kieu-Le, T. C., Dris, R., Boukerma, K., Rinnert, E., ... & Tassin, B. (2018). Macroplastic and microplastic contamination assessment of a tropical river (Saigon River, Vietnam) transversed by a developing megacity. Environmental Pollution, 236, 661-671.
Masura, J., Baker, J. E., Foster, G. D., Arthur, C., & Herring, C. (2015). Laboratory methods for the analysis of microplastics in the marine environment: recommendations for quantifying synthetic particles in waters and sediments.
Su, L., Xue, Y., Li, L., Yang, D., Kolandhasamy, P., Li, D., & Shi, H. (2016). Microplastics in Taihu Lake, China. Environmental Pollution, 216, 711-719.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
ลิขสิทธิ์ของบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารฉบับนี้จะยังเป็นของผู้แต่งและยินยอมให้สิทธิ์เผยแพร่กับทางวารสาร
การเผยแพร่ในระบบวารสารแบบเปิดนี้ บทความจะสามารถนำไปใช้ได้ฟรีในการศึกษา และในทางที่ไม่เกี่ยวกับการค้า