ผลของแก๊สโอโซนที่มีต่อการยับยั้งการสังเคราะห์เอทิลีนและสมบัติทางกายภาพและเคมีในกล้วยหอมทอง
คำสำคัญ:
กล้วยหอมทอง, การยืดอายุการเก็บรักษา, แก๊สโอโซน, เอทิลีนบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการยืดอายุการเก็บรักษากล้วยหอมทองสดด้วยแก๊สโอโซนซึ่งมีความเข้มข้นของโอโซนแตกต่างกันเพื่อยับยั้งการสังเคราะห์เอทีลีน โดยแบ่งการศึกษาออกเป็น 4 ส่วน คือ การศึกษาพฤติกรรมการผลิตแก๊สเอทิลีนและอัตราการหายใจของกล้วยหอมทอง การศึกษาความเข้มข้นของแก๊สโอโซนในภาชนะปิด การศึกษาอัตราในการทำปฏิกิริยาระหว่างแก๊สโอโซนต่อแก๊สเอทิลีน และการศึกษาความเข้มข้นแก๊สโอโซนที่เหมาะสมในการยืดอายุการเก็บรักษากล้วยหอมทอง โดยแบ่งตัวแปรที่ศึกษาออกเป็น 5 กรณี คือตัวอย่างควบคุม อัตราส่วนแก๊สโอโซนต่อแก๊สเอทิลีน 2:1, 4:1, 6:1 และ 12:1 ผลการศึกษาพบว่ากล้วยหอมทองมีการผลิตแก๊สเอทิลีนสูงสุดในวันที่ 6 ของการทดลองมีค่าเท่ากับ 5.58 μl/kg-hr นอกจากนั้นยังมีอัตราการหายใจโดยแสดงจากค่าแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ที่กล้วยหอมทองปล่อยออกมาสูงสุดในวันที่ 4 ของการทดลองมีค่าเท่ากับ 20.38 mg/kg-hr การศึกษาความเข้มข้นของแก๊สโอโซนด้วยเครื่องโอโซน และเวลาที่เสื่อมสลายภายในภาชนะปิดสามารถนำไปประยุกต์ใช้เพื่อทำการควบคุมกระบวนรมแก๊สโอโซนต่อไป จากผลการศึกษาความเข้มข้นแก๊สโอโซนที่เหมาะสมในการยืดอายุการเก็บรักษากล้วยหอมทอง พบว่าอัตราส่วนของความเข้มข้นของแก๊สโอโซนต่อแก๊สเอทิลีน 6:1 เป็นอัตราส่วนที่เหมาะสมและสามารถเก็บรักษากล้วยหอมทองได้ยาวนานขึ้น 4 วัน เมื่อเทียบกับคุณภาพของกล้วยหอมทองตัวอย่างตามห้างสรรพสินค้าและตลาด
References
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร, (2564). สารสนเทศเศรษฐกิจการเกษตรรายสินค้า, เอกสารสถิติการเกษตรของประเทศไทย, กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, กรุงเทพฯ, 237 น.
จริงแท้ ศิริพานิช. (2538). สรีรวิทยาและเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยวผักและผลไม้. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 373 น.
Siddiq, M., Ahmed, J., & Lobo, M. G. (2020). Handbook of banana production, postharvest Science, processing technology, and nutrition. Wiely & Sons Ltd.
Thompson, A., Supapvanich, S., & Sirison, J. (2019). Banana ripening science and technology. Springer.
Prabha, V., Barma, R., Singh, R. & Madan, A. (2015). Ozone technology in food processing: a review. Trends in Biosciences, 8 (16), 4031-4047.
Yang, S. (1981). Biosynthesis of ethylene and its regulation. In: J. Friend and M.J.C. Rhodes (Editors).
Recent Advances in the Biochemistry of Fruits and Vegetables. Academic Press, New York, N.Y., pp. 89-106.
Dominguez, M., & Vendrell, M. (1994). Effect of ethylene treatment on ethylene production, EFE activity and ACC levels in peel and pulp of banana fruit. Postharvest Biology and Technology, 4, 167-177.
Xu, Y., Jia, L., Maofa, G., Lin, D., Gengchen, W. & Dianxun, W. (2006). A kinetic study of the reaction of ozone with ethylene in a smog chamber under atmospheric conditions. Chinese Science Bulletin, 51(23), 2839-2843.
สมเกียรติ จตุรงค์ล้ำเลิศ จักรพงษ์ พิมพ์พิมล ชนวัฒน์ นิทัศน์วิจิตร และจาตุพงศ์ วาฤทธิ์. (2557). สภาวะที่เหมาะสมของหอบำบัดก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์แบบเปียกสำหรับกระบวนการรมผลลำไยสด. วารสารวิจัยและส่งเสริมวิชาการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ (3) 72-84.
สมเกียรติ จตุรงค์ล้ำเลิศ จักรพงษ์ พิมพ์พิมล ชนวัฒน์ นิทัศน์วิจิตร และจตุพงศ์ วาฤทธิ์. (2558). การพัฒนาหอบำบัดก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์แบบหมุนเวียนการบำบัดกับสำหรับกระบวนการรมผลลำไยสด. วารสารวิทยาศาสตร์เกษตร 46(1) สมาคมวิทยาศาสตร์เกษตรแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมป์ 19-30.
Panou, A., Akrida-Demertzi, K., Demertzis, P. & Riganakos, K. (2021). Effect of gaseous ozone and heat treatment on quality and shelf life of fresh strawberries during cold storage. International Journal of Fruit Science, 21(1), 218-231.
Cao, S., Meng, L., Ma, C., BA, L., Lei, J., Ji, N. & Wong, R. (2022). Effect of ozone treatment on physicochemical parameters and ethylene biosynthesis inhibition in Guichang Kiwifruit. Food Science and Technology, 42, e64820.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
ลิขสิทธิ์ของบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารฉบับนี้จะยังเป็นของผู้แต่งและยินยอมให้สิทธิ์เผยแพร่กับทางวารสาร
การเผยแพร่ในระบบวารสารแบบเปิดนี้ บทความจะสามารถนำไปใช้ได้ฟรีในการศึกษา และในทางที่ไม่เกี่ยวกับการค้า