การออกแบบกระบวนการวางแผนการตรวจติดตามผลิตภัณฑ์ ที่ได้รับมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
คำสำคัญ:
การวางแผน, การจัดตาราง, การตรวจติดตาม, มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม, ฮิวริสติกบทคัดย่อ
เนื่องมาจากความก้าวหน้าทั้งทางด้านการคมนาคมขนส่งและทางด้านเทคโนโลยีการผลิต ส่งผลให้มีสินค้าจำนวนมหาศาลให้ผู้บริโภคได้เลือกซื้อ สินค้าอุปโภคและบริโภคเหล่านี้ ทั้งที่ผลิตในประเทศและนำเข้ามาจากต่างประเทศ จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีมาตรฐานควบคุม เพื่อให้สินค้ามีคุณภาพที่ดี และปลอดภัยต่อผู้บริโภค สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) ซึ่งเป็นหน่วยงานหลักในการดำเนินงานด้านการควบคุมคุณภาพของผลิตภัณฑ์ ได้กำหนดให้สินค้าเหล่านี้ต้องมีมาตรฐาน มอก. เป็นตัวรับรองคุณภาพ กระบวนการหลักในการรับรองมาตรฐานแบ่งได้เป็น 1. การตรวจรับรองคุณภาพ และ 2. การตรวจติดตาม กองตรวจการมาตรฐาน 5 เป็นหน่วยงานในสังกัดของ สมอ. ที่มีหน้าที่หลักในการตรวจติดตามผู้ได้รับใบอนุญาต มอก. ว่ายังคงรักษาระดับของคุณภาพเอาไว้ได้ตามที่กำหนดหรือไม่ โดยกองตรวจการนี้
มีโรงงานในความรับผิดชอบจำนวน 192 โรงงานคิดเป็น 520 มอก. กระจายไปตามภาคต่างๆจำนวน 7 ภาค แยกย่อยออกได้เป็น 32 จังหวัด วัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้เพื่อออกแบบกระบวนการวางแผนจัดตารางการตรวจติดตาม โดยการวางแผนนี้จะต้องทำขึ้นในช่วงเดือนกันยายนของทุกปี การจัดตารางจะต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไขบังคับและเงื่อนไขอื่น ๆ จำนวนมาก กระบวนการจัดตารางที่ออกแบบขึ้นมา ประกอบด้วยขั้นตอนหลักจำนวน 7 ขั้นตอน แยกได้เป็นขั้นตอนย่อยทั้งสิ้น 19 ขั้นตอนต่อเนื่องกันในลักษณะของ logical sequence การทดลองนำกระบวนการที่ออกแบบไปใช้กับการวางแผนจริงแสดงให้เห็นว่า สามารถช่วยลดเวลาในการวางแผนลงจาก 35 ชั่วโมงเหลือเพียง 14 ชั่วโมง และยังช่วยให้ตารางการตรวจติดตามที่ได้ มีความสอดคล้องกับเงื่อนไขบังคับและเงื่อนไขอื่น ๆ ในทุกข้ออีกด้วย
References
Thailand industrial standard manual.2557. [Online] Available:https://www.tisi.go.th/data/stories/pdf/licensee_manual.pdf
Industrial Product Standards Act.B.E. 2511.
Yannawaree,K. Surveillance Scheduling of Granted Industrial Standards Mark License Products for Thai Industrial Standards Institute.Independent study,King Mongkut's University of Technology North Bangkok, 2013.
Orataiwan, T. Scheduling the Surveillance Audit of Thai Industrial Standard Licensees under Available Time Constraints. Independent study, King Mongkut's University of Technology North Bangkok,2017.
McReynolds,S.R. and Bryson, A. A Successive Sweep Method for Solving Optimal Programming Problems. IEEE Transactions on Automatic Control. 1965; 1-5.
Suaysod,c. Improvement of Planning and Management Processes in E&I Fabrication and Installation Under Measurement Contractual Case Study Fast-Track Crude Oil Separation Process Module Construction.Independent Study,King Mongkut's University of Technology North Bangkok,2012.
Kaewswang,M. The Machine Production Scheduling for Energy Conservation of a Forming Automotive Part Factory.Independent Study, King Mongkut's University of Technology North Bangkok,2013.
Poonoi,P. Increasing the Efficiency of Inventory Management to Reduce Inventory Management Cost of a Sanitary Ware Manufacturer.Independent Study, King Mongkut's University of Technology North Bangkok,2014.
Suebsin,A. Production Planning and Control Improvement in Switch Board Plant. Independent Study, King Mongkut's University of Technology North Bangkok,2013.
Inthraponk,A. Preventive Maintenance Planning for Improving Machine Effectiveness Case Study Testing Machine in Semi-Conductor Industry. Independent Study, King Mongkut's University of Technology North Bangkok,2013.
IVERT,L.K. Advanced Planning and Scheduling Systems in Manufacturing Planning Processes.Thesis, Chalmers Universityof Technology,2009.
Elbanna,S., Andrews,R. andPollanen,R.Strategic Planning and Implementation Success in Public Service Organizations: Evidence from Canada. Public Management Review,2016; 1-37.
Weber,R. andCobaugh,D. Developing and Executing an Effective Research Plan. American journal of health-system pharmacy, 2008;65:2058-2065.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
ลิขสิทธิ์ของบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารฉบับนี้จะยังเป็นของผู้แต่งและยินยอมให้สิทธิ์เผยแพร่กับทางวารสาร
การเผยแพร่ในระบบวารสารแบบเปิดนี้ บทความจะสามารถนำไปใช้ได้ฟรีในการศึกษา และในทางที่ไม่เกี่ยวกับการค้า