การพัฒนาตู้อบแห้งชนิดอุโมงค์แบบก๊าซอินฟราเรด-ลมร้อน ด้วยเทคนิคสลับทิศทางลม

ผู้แต่ง

  • สมเกียรติ จตุรงค์ล้ำเลิศ คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้
  • พิสินี เสือสืบพันธุ์ คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้
  • วรลักษณ์ สุริวงศ์ คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้
  • สกาวเดือน แก้วดำ คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้
  • พิรุฬห์รัชย์ ไทยสมัคร คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้

คำสำคัญ:

ตู้อบแห้งชนิดอุโมงค์แบบก๊าซอินฟราเรด-ลมร้อน, เทคนิคสลับทิศทางลม, มะม่วง

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวางแผนการใช้งานและพัฒนาปรับปรุงตู้อบแห้งชนิดอุโมงค์แบบก๊าซอินฟราเรด-ลมร้อนด้วยเทคนิคสลับทิศทางลม โดยใช้กรณีศึกษาเป็นผลิตภัณฑ์มะม่วงอบแห้งของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน การศึกษาแบ่งออกเป็น 2 แนวทาง คือ แนวทางที่ 1 เป็นการวางแผนการใช้งาน และหาแนวทางการจัดการเพื่อปรับปรุงกระบวนการอบแห้งมะม่วงให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิผล ส่วนแนวทางที่ 2 เป็นการแก้ไขปัญหาการกระจายลมและอุณหภูมิที่ไม่สม่ำเสมอในตู้อบแห้งเชิงแนวคิด โดยการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ร่วมกับเทคนิคพลศาสตร์ของไหลเชิงคำนวณเป็นเครื่องมือช่วยในการแก้ไขปัญหา จากผลการศึกษาพบว่าแนวทางการศึกษาที่ 1 การวางแผนรูปแบบการอบแห้งตามระยะเวลาอบผลิตภัณฑ์ร่วมกับการบริหารจัดการด้วยการนำผลิตภัณฑ์ที่ยังไม่แห้งมาอบวนซ้ำสามารถช่วยให้การอบแห้งผลิตภัณฑ์มีคุณภาพและประสิทธิผลดีขึ้น ส่วนแนวทางการศึกษาที่ 2 เมื่อทำการเก็บข้อมูลการกระจายลมและอุณหภูมิของตู้อบแห้งก่อนทำการปรับปรุง ร่วมกับการใช้เทคนิคพลศาสตร์ของไหลเชิงคำนวณเข้ามาช่วยแก้ปัญหาในตู้อบแห้งเชิงแนวคิด พบว่าเทคนิคนี้สามารถช่วยอธิบายการกระจายลมและอุณหภูมิภายในตู้อบแห้งที่ไม่สม่ำเสมอได้เป็นอย่างดี อีกทั้งยังสามารถช่วยแก้ปัญหาแรงงานในขั้นตอนการขนย้ายรถเข็นได้ซึ่งคิดเป็นต้นทุนที่สามารถลดลงได้ประมาณ 10 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งทำให้สามารถนำไปประกอบการตัดสินใจการพัฒนาปรับปรุงเครื่องอบแห้งดังกล่าวในอนาคต

Author Biographies

พิสินี เสือสืบพันธุ์, คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้

Tel*: +66 5387 5000

วรลักษณ์ สุริวงศ์, คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้

Tel*: +66 5387 5000

สกาวเดือน แก้วดำ, คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้

Tel*: +66 5387 5000

พิรุฬห์รัชย์ ไทยสมัคร, คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้

Tel*: +66 5387 5000

References

ชาลีดา บรมพิชัยชาติกุล. (2555). เทคโนโลยีการทำแห้งแบบผสมผสาน: การนำมาใช้เพื่อถนอมผลิตภัณฑ์อาหารที่ไวต่อความร้อน. วารสารวิจัยและพัฒนา มจธ., 35(2), 269-283.

Phirunrat Thaisamak, Wipa Teppinta, Chanawat Nitatwichit, Jatupong Varith and Somkiat Jaturonglumlert. (2013). Fixed Deep-beds Drying of Black Pepper: A comparative study between a normal airflow and reverse airflow. Journal of Agr. Research & Extension 30(3) (Suppl.): 68-79.

Sakawduan Kaewdam, Chanawat Nitatwichit, Jatupong Varith and Somkiat Jaturonglumlert. (2013). Mathematical model of freeze drying on mango. Journal of Agr. Research & Extension 30(3) (Suppl.): 56-67.

ชญานิศ รัตนมงคล, สมเกียรติ จตุรงค์ล้ำเลิศ, ชนวัฒน์ นิทัศน์วิจิตร, พิสุทธิ์ กลิ่นขจร และหยาดฝน ทนงการกิจ. (2561). จลนพลศาสตร์การอบแห้งมะม่วงด้วยเทคนิคสุญญากาศร่วมกับอินฟราเรด. ใน การประชุมวิชาการการถ่ายเทพลังงานความร้อนและมวล ครั้งที่ 17, ลำปางรีสอร์ท อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง.

สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม. (2558). มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน: ผักและผลไม้อบแห้ง. มผช., 136/2558.

พิมล วุฒิสินธ์, ชูศักดิ์ ชวประดิษฐ์, สุเทพ กสิกรรม, พุทธธินันทร์ จารุวัฒน์, เวียง อากรชี, ตัญญู กองช่อง และสุภัทร หนูสวัสดิ์. (2551). รายงานผลการวิจัยเรื่องเต็ม พัฒนาเครื่องอบแห้งลำไย. กลุ่มวิจัยวิศวกรรมหลังการเก็บเกี่ยว สถาบันวิจัยเกษตรวิศวกรรม. กรุงเทพฯ: กรมวิชาการเกษตร.

I.I. Ruiz-López, C.E. Martínez-Sánchez, R. Cobos-Vivaldo and E. Herman-Lara. (2008). Mathematical modeling and simulation of batch drying of foods in fixed beds with airflow reversal. Journal of Food Engineering. 89(1), 310 - 318.

Janjai, S., N. Lamlert, B. Mahayothee,P. Sruamsiri, M. Precoppe, B.K. Bala and Muller J. (2011). Experimental and simulation performances of a batch–type longan dryer with air flow reversal using biomass burner as a heat source. J. Drying technology 29, 1439-1451.

Jing Xie, Xiao - Hua Qu, Jun - Yu Shi and Da - Wen Sun. (2006). Effects of design parameters on flow and temperature fields of a cold storage by CFD simulation. Journal of Food Engineering 77, 355 - 363.

S. Jaturonglumlert, J. Pimphimol and J. Varith. (2008). Influence of longan packed bed arrangement on air flow pattern under forced-air convection. International Symposium on Longan, Lychee, and other Fruit Trees in Sapindaceae Family 863, 381-388.

José Rivas, M. Constanza Sadino-Riquelme, Ignacio Garcés, Andrea Carvajal and Andrés Donoso-Bravo. (2020). Spatial and temporal validation of a CFD model using residence time distribution test in a tubular reactor. Computation 2020, 8, 0094; doi:10.3390/computation8040094.

Rosario Lanzafame, Stefano Mauro, Michele Messina and Sebastian Brusca. (2020). Development and validation of CFD 2D models for the simulation of micro H-Darrieus turbines subjected to high boundary layer instabilities. Energies 2020, 13, 5564; doi:10.3390/en13215564.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-08-31