การเปรียบเทียบความคุ้มค่าของการลดการระเหยแบบดั้งเดิม กับขวด PET บรรจุเศษขยะพลาสติก
คำสำคัญ:
การลดอัตราการระเหย, ขยะรีไซเคิล, วัสดุลอยน้ำบทคัดย่อ
การระเหยเป็นสาเหตุสำคัญของความสูญเสียน้ำในแหล่งกักเก็บเป็นอย่างมาก ทำให้เกิดการคิดค้นวิธีลดอัตราการระเหยรูปแบบต่างๆ ที่ผ่านมาสามารถจัดเป็นกลุ่มได้ 3 แนวทาง ได้แก่ วิธีการครอบคลุมทางชีวภาพ วิธีการทางสารเคมี และวิธีการทางกายภาพ จากการศึกษาพบว่าวิธีการครอบคลุมทางชีวภาพสามารถลดอัตราการระเหยได้ประมาณ 15-40% เป็นวิธีธรรมชาติที่มีค่าใช้จ่ายไม่สูงมากแต่จะมีผลกระทบต่อคุณภาพน้ำทำให้ต้องเพิ่มค่าใช้จ่ายในการปรับปรุงคุณภาพน้ำก่อนนำไปใช้ ส่วนวิธีการทางสารเคมีเป็นวิธีที่สามารถลดอัตราการระเหยได้ประมาณ 15-30% มีการลงทุนค่อนข้างต่ำจึงใช้กันอย่างแพร่หลาย โดยมีค่า B/C Ratio เท่ากับ 1.32 และต้นทุนต่อหน่วยของวิธีนี้มีค่าเท่ากับ 7.60 บาท/m3 แต่วิธีนี้ไม่สามารถรับรู้พื้นที่ครอบคลุมของสารเคมีบนผิวน้ำและโดนทำลายได้ง่ายโดยคลื่นที่ผิวน้ำจากความเร็วลมและอุณหภูมิของน้ำ สำหรับวิธีการทางกายภาพสามารถลดอัตราการระเหยได้มากที่สุดประมาณ 70-95% แต่เป็นวิธีที่มีต้นทุนต่อหน่วยที่สูงมีค่าเท่ากับ 59.15 บาท/m3 ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงเสนอการใช้ขวด PET บรรจุเศษขยะพลาสติกลอยปกคลุมผิวน้ำ ซึ่งเป็นวิธีทางกายภาพที่ใช้วัสดุ หาได้ง่ายในท้องถิ่น และเป็นการกำจัดขยะโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ซึ่งทำให้ต้นทุนต่อหน่วยต่ำลงอย่างมากมีค่าเท่ากับ 3.56 บาท/m3 และมีค่า B/C Ratio เพิ่มขึ้นเท่ากับ 2.24 นอกจากนี้ขวด PET ยังไม่มีสาร Diethyl hydroxylamine และสาร Bisphenol A ที่ส่งผลกระทบกับสิ่งแวดล้อม
References
พิศ คงบริรักษ์ และกฤติกา สืบศักดิ์. (2011). การระเหยของน้ำในประเทศไทย คาบ 10 ปี (2001-2010). ใน เอกสารผลงานวิชาการอุตุนิยมวิทยา 30 กันยายน 2011 (หน้า 30-38). กรุงเทพฯ: กระทรวงเทคโนโลยีและการสื่อสาร.
ลุ่มน้ำชี. (ม.ป.ป). ปริมาณน้ำท่า. สืบค้น 22 ธันวาคม 2563, จาก https://sites.google.com/site/lumnachi/priman-natha
กีรติ ลีวัจนกุล. (2552). อุทกวิทยา (HYDROLOGY). (พิมพ์ครั้งที่ 3). ปทุมธานี: SPEC.
Penman, H.L. (1948). Natural evaporation from open water, bare soil and grass. Proc.Roy.Soc.London, A193:120-146.
ฉัตรชัย โชติษฐยางกูร. (2562). อุทกวิทยาสำหรับวิศวกร. (พิมพ์ครั้งที่ 1). ห้างหุ้นส่วนจำกัด มิตรภาพการพิมพ์ 1995: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.
Helfer, F., Zhang, H., & Lemckert, C. (2010). Evaporation reduction by windbreaks: Overview, modelling and efficiency: Urban Water Security Research Alliance.
Mer, V. K. L., Aylmore, L., & Healy, T. W. (1963). The ideal surface behavior of mixed monolayers of long-chain n-paraffinic alcohols. The Journal of Physical Chemistry, 67(12), 2793-2795.
Verlee, D., & Zetland, D. (2015). Extending water supply by reducing reservoir evaporation: a case study from Wichita Falls, Texas. Proceedings of Mine Water Solutions in Extreme Environments, Vancouver, Canada.
Helfer, F. (2012). Influence of air-bubble plumes and effects of climate change on reservoir evaporation: Griffith University.
Keya, A. (2015). Solar Plant A top Irrigation Canal Impresses UN Chief. India Climate Dialogue.
Finn, N., & Barnes, S. (2007). The benefits of shade-cloth covers for potable water storages.
Álvarez, V. M., Baille, A., Martínez, J. M. M., & Real, M. M. G. (2006). Effect of black polyethylene shade covers on the evaporation rate of agricultural reservoirs. Spanish Journal of Agricultural Research(4), 280-288.
Craig, I. P. (2005). Loss of storage water due to evaporation-a literature review.
Simon, K., Shanbhag, R., & Slocum, A. (2016). Reducing evaporative water losses from irrigation ponds through the reuse of polyethylene terephthalate bottles. Journal of Irrigation and Drainage Engineering, 142(2), 06015005.
Yao, X., Zhang, H., Lemckert, C., Brook, A., & Schouten, P. (2010). Evaporation reduction by suspended and floating covers: overview, modelling and efficiency. Urban water security research alliance technical report, 28.
Elba, E. (2017). Strategies for protection and sustainable environmental management or the Highest Aswan dam in Egypt considering climate change, disserta verlag, Hamburg, page 36
Babu, P. S., Eikaas, H. S., Price, A., & Verlee, D. (2010). Reduction of evaporative losses from tropical reservoirs using an environmentally safe organic monolayer. Singapore International Water Week, Singapore.
ศูนย์ทดสอบวัสดุสัมผัสอาหารของอาเซียน กรมวิทยาศาสตร์บริการ. (2559). น้ำดื่มบรรจุขวด PET อันตรายจริงหรือไม่. สืบค้น 3 สิงหาคม 2563, จากhttp://lib3.dss.go.th/fulltext/dss_knowledge/FCM_02_2559_PET.pdf
บริษัท จัดการและพัฒนาทรัพยากรน้ำภาคตะวันออก จำกัด (มหาชน). (2562). อัตราค่าน้ำดิบของบริษัท. สืบค้นจาก https://investor.eastwater.com/th/ir-corner/faq
ภัทรานิษฐ์ ปริญญากุลเสฏฐ์. (2017). การวิเคราะห์ต้นทุนต่อหน่วยของโรงจัดการขยะแบบครบวงจร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี. Journal of Professional Routine to Research, 4, 46-55.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
ลิขสิทธิ์ของบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารฉบับนี้จะยังเป็นของผู้แต่งและยินยอมให้สิทธิ์เผยแพร่กับทางวารสาร
การเผยแพร่ในระบบวารสารแบบเปิดนี้ บทความจะสามารถนำไปใช้ได้ฟรีในการศึกษา และในทางที่ไม่เกี่ยวกับการค้า