การปรับปรุงนโยบายการเติมเต็มวัตถุดิบคงคลังสำหรับโรงงานประกอบโทรศัพท์มือถือ

ผู้แต่ง

  • โสภิดา อึ่งทอง คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • ปวีณา เชาวลิตวงศ์ กลุ่มวิจัยระบบการจัดการแบบบูรณาการและเทคโนโลยีอัจฉริยะ ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

คำสำคัญ:

การวิเคราะห์ถดถอย, นโยบายการสั่งซื้อ, การจัดการสินค้าคงคลัง, อุตสาหกรรมประกอบโทรศัพท์มือถือ, นโยบายการเติมเต็มวัตถุดิบ

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้นำเสนอวิธีการประมาณค่าความต้องการวัตถุดิบและนโยบายการสั่งซื้อวัตถุดิบที่เหมาะสมสำหรับผลิตภัณฑ์ใหม่ โดยวิธีการที่นำเสนอสามารถประมาณค่าความต้องการวัตถุดิบให้แม่นยำมากขึ้นและลดปริมาณวัตถุดิบคงเหลือสิ้นงวดลง ในขณะที่ยังคงสามารถรักษาระดับการให้บริการไว้ที่ระดับ 95% งานวิจัยนี้เริ่มจากเก็บรวบรวมและศึกษาข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับความต้องการวัตถุดิบจากข้อมูลผลิตภัณฑ์ในอดีต จากนั้นใช้สถิติการวิเคราะห์ถดถอยเชิงเส้นโดยพิจารณาเลือกสมการตัวแทนจากค่าสัมประสิทธิ์แสดงการตัดสินใจ (R-Squared) ในการหาค่าประมาณความต้องการวัตถุดิบ ขั้นตอนถัดมาในส่วนของการนำเสนอวิธีการสั่งซื้อวัตถุดิบ เพื่อให้สอดคล้องกับค่าพยากรณ์และวงจรชีวิตผลิตภัณฑ์สั้น โดยประยุกต์แนวคิดปริมาณการสั่งซื้ออย่างประหยัดร่วมกับปริมาณการสั่งซื้อขั้นต่ำแบบทวีคูณ และในขั้นตอนสุดท้ายจะทำการทดสอบประสิทธิภาพของนโยบายการสั่งซื้อวัตถุดิบที่นำเสนอ ซึ่งจะนำวิธีการสั่งเติมวัตถุดิบที่ทดลองกับความต้องการที่ได้จากการประมาณค่ามาทดสอบกับปริมาณความต้องการที่เกิดขึ้นจริง โดยนโยบายที่เหมาะสมจะต้องให้ผลของปริมาณวัตถุดิบคงเหลือสิ้นงวดลดลง จากนั้นนำวิธีการประมาณค่าความต้องการใช้วัตถุดิบและวิธีการสั่งซื้อที่นำเสนอไปทดสอบใช้กับผลิตภัณฑ์ใหม่

            จากผลการทดสอบเมื่อนำสมการตัวแทนที่ได้ไปใช้ในการประมาณค่าความต้องการวัตถุดิบ พบว่าค่าความคลาดเคลื่อนลดลงโดยเฉลี่ยคิดเป็นร้อยละ 77.69 ซึ่งเมื่อนำค่าจากการประมาณความต้องการวัตถุดิบไปใช้ร่วมกับนโยบายการสั่งซื้อ พบว่าสามารถลดระดับวัตถุดิบคงเหลือสิ้นงวดลดลงโดยเฉลี่ยคิดเป็นร้อยละ 87.15 และยังคงสามารถรักษาระดับการให้บริการไว้ที่ระดับ 95% ตามเป้าหมาย

References

H. Gmelin and S. Seuring, “Achieving sustainable new product development by integrating product life-cycle management capabilities,” International Journal of Production Economics, vol. 154, Aug., pp. 166-177, 2014.

D. Plinere and A. Borisov, “Case Study on Inventory Management Improvement,” Information Technology and Management Science, vol. 18, no. 1, pp. 91-96, 2016.

H. W. Altland, R. J. Freund, and W. J. Wilson, “Regression Analysis: Statistical Modeling of a Response Variable,” Technometrics, vol. 41, no. 4, pp. 367-368, 1999.

ธันยพร เชี่ยวพานิชย์, “ตัวแบบการพยากรณ์ที่ส่งผลต่อยอดขายสินค้าที่ทำการส่งเสริมการขาย,” วารสารวิจัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี, ปีที่ 18, ฉบับที่ 2, หน้า 31-40, 2562.

ปวีณา เชาวลิตวงศ์, การกำหนดนโยบายพัสดุคงคลัง ทฤษฎีและกระบวนการคิดอย่างเป็นระบบ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2561.

ปองพล สุทธิพงษ์เกษตร, “การวางแผนการจัดส่งสารเคมีบำบัดน้ำด้วยรูปแบบการบริหารคงคลังโดยผู้ขาย,” วิทยานิพนธ์ วศ.บ. (อุตสาหการ), จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ, 2556.

อิศณัย ฟุ้งเกียรติไพบูลย์ และ ปวีณา เชาวลิตวงศ์, “การกำหนดนโยบายการบริหารสินค้าคงคลังสำหรับธุรกิจซื้อมาขายไปเคมีภัณฑ์,” วารสารข่ายงานวิศวกรรมอุตสาหการไทย, ปีที่ 4, ฉบับที่ 2, หน้า 14-20, 2561.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-01-01