การประยุกต์นำวิธีการอบอ่อนไปใช้ในการปรับค่าความแข็งของโลหะสำหรับกระบวนการผลิตแม่พิมพ์
คำสำคัญ:
ดอกกัด, การกลึงอัตโนมัติ, วิธีการอบอ่อน, กระบวนการผลิตแม่พิมพ์บทคัดย่อ
ในปัจจุบันนี้อุตสาหกรรมการผลิตรถยนต์ในประเทศไทยมีการปรับตัวลดลง เนื่องจากได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ที่ลุกลามไปทั่วโลก ส่งผลกระทบต่อโครงสร้างการผลิต และส่งออกยานยนต์ โดยเฉพาะผู้ผลิตชิ้นส่วนที่เกี่ยวข้องกับยานยนต์ ในการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยได้ศึกษากระบวนการทำงานของผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ในกลุ่มผู้ผลิตแม่พิมพ์ โดยมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อปรับปรุงกระบวนการผลิตแม่พิมพ์โดยการศึกษาวิธีการอบอ่อน ในการปรับค่าความแข็งของแท่งโลหะก่อนเข้าสู่ขั้นตอนการกลึงอัตโนมัติโดยการใช้ดอกกัด และ 2) เพื่อทดสอบความแตกต่างของอายุการใช้งานแม่พิมพ์ก่อนและหลังปรับปรุง โดยวิธีการอบอ่อนได้ใช้เป็นเทคนิคในการปรับปรุงกระบวนการผลิตแม่พิมพ์ คือนำโลหะประเภทเอสเค 11 ไปลดค่าความแข็งก่อนนำไปขึ้นรูปชิ้นงานด้วยวิธีการกลึงอัตโนมัติโดยการใช้ดอกกัด โดยให้ความร้อนอุณหภูมิเตาที่ 500 องศาเซลเซียส ใช้เวลา 420 นาที เพื่อลดค่าความแข็ง จากนั้นนำโลหะเข้าสู่ขั้นตอนการกลึงอัตโนมัติโดยการใช้ดอกกัดจนได้เป็นชิ้นงาน จากนั้นทำการกัดชิ้นงานให้ได้รูปทรงด้วยเครื่องแมชชีนนิ่งเซ็นเตอร์ เมื่อได้ชิ้นงานที่สมบูรณ์แล้วจึงนำไปคืนค่าความแข็งเดิม อุณหภูมิที่ 500 องศาเซลเซียส ใช้เวลา 420 นาที ให้ได้ความแข็งตามที่แบบกำหนด และนำเข้าสู่ขั้นตอนต่อไปตามเดิม ผลจากการศึกษาวิธีการอบอ่อน และปรับปรุงกระบวนการผลิต พบว่าประสิทธิภาพของดอกกัดเพิ่มขึ้น ในจำนวนการผลิตชิ้นงานที่เท่ากัน จากเดิมใช้ดอกกัดเฉลี่ย 41.33 แท่ง/เดือน ลดเหลือ 14 แท่ง/เดือน และผลทดสอบความแตกต่างของอายุการใช้งานแม่พิมพ์ก่อนและหลังปรับปรุงไม่แตกต่างกันที่ ระดับนัยสำคัญ 0.05
References
[2] William D. and Jr. Callister. (2007). MATERIALS SCIENCE AND ENGINEERING AN INTRODUCTION, John Wiley & Sons Inc., New York, U.S.A.
[3] Costin H. (1996). Management development and training: a TQM approach, The Dryden Press, London.
[4] Kaoru Ishikawa. (1953). Cause-and-Effect Diagram, Tokyo University.
[5] Montgomery Douglas C. and Runger George C. (1994). Applied statistics and probability for engineers, John Wiley & Sons Inc., New York, U.S.A.
[6] N.E.Savinand Kenneth and J. White. (1977). The Durbin-Watson Test for Serial Correlation with Extreme Sample Sizesor Many Regressors, Econometrica, vol.45 (8), Nov 1977, pp. 1989- 1996.
[7] คงฤทธิ์ นครชัย. (2559). ศึกษาการลดต้นทุนการผลิตใน กระบวนการกลึงอัตโนมัติโดยการใช้เงื่อนไขการตัดเฉือน ที่เหมาะสม, วิทยานิพนธ์หลักสูตรวิศวกรรมศาสตร มหาบัณฑิต, สาขาวิชาการจัดการงานวิศวกรรม, คณะ วิศวกรรมศาสตร์, มหาวิทยาลัยบูรพา.
[8] มนตรี วงษ์สุวรรณ. (2559). ศึกษาความเป็นไปได้ในการ ป้องกันการสูญเสียคาร์บอนที่ผิวของแม่พิมพ์โลหะที่ผ่าน กรรมวิธีปรับปรุงสมบัติทางความร้อน, สาขาวิศวกรรม อุตสาหการ,คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม, มหาวิทยาลัย เทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
ลิขสิทธิ์ของบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารฉบับนี้จะยังเป็นของผู้แต่งและยินยอมให้สิทธิ์เผยแพร่กับทางวารสาร
การเผยแพร่ในระบบวารสารแบบเปิดนี้ บทความจะสามารถนำไปใช้ได้ฟรีในการศึกษา และในทางที่ไม่เกี่ยวกับการค้า