การประยุกต์ใช้ CAD และ CAE ในการออกแบบอุปกรณ์ช่วยล้างตา

ผู้แต่ง

  • อัญชนา วงษ์โต ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • เขมจิรา โชติปภาณิ์ กลุ่มงานจักษุวิทยา โรงพยาบาลเชียงคำ

คำสำคัญ:

อุปกรณ์ช่วยล้างตา, การล้างตา, Solidworks, การพิมพ์ขึ้นรูปสามมิติ

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้เป็นการออกแบบอุปกรณ์ช่วยล้างตาสำหรับผู้ป่วยที่ได้รับสารเคมีเข้าสู่ดวงตา อุปกรณ์ถูกออกแบบให้มีความจุสูงสุด 65 ml และสามารถต่อกับสายน้ำเกลือที่ด้านบนเพื่อให้น้ำเกลือไหลเข้าสู่อุปกรณ์ ผนังด้านล่างของอุปกรณ์บริเวณหางตาเจาะรูและทำท่อระบายของเหลวออก อุปกรณ์ถูกออกแบบสำหรับตาข้างซ้ายและข้างขวาแยกชิ้นกัน และใช้งานร่วมกับแผ่นซิลิโคนรองไว้ที่ด้านล่างของอุปกรณ์กันการรั่วซึมของของเหลว และลดแรงกดทับของอุปกรณ์บนใบหน้าผู้ป่วยขณะใช้งาน โปรแกรม Solidworks ได้ถูกนำมาใช้ในการวิเคราะห์การไหลของของเหลวภายในอุปกรณ์ ที่อัตราการไหล 0.5, 1.0, 2.0 และ 2.74 cm3/s ตามลำดับ ผลการวิเคราะห์พบว่าของเหลวสามารถไหลผ่านเข้าออกจากอุปกรณ์ได้อย่างต่อเนื่อง และที่อัตราการไหล 2.74 cm3/s (free flow) จะมีระดับของเหลวในอุปกรณ์สูงท่วมมิดดวงตาของผู้ป่วย ซึ่งจะช่วยให้ชำระล้างสารเคมี ออกจากดวงตาได้อย่างมีประสิทธิภาพ อุปกรณ์ช่วยล้างตาถูกขึ้นรูปโดยใช้เทคโนโลยีการพิมพ์ขึ้นรูปสามมิติด้วยวัสดุ Phrozen Aqua Clay และนำไปทดสอบโดยจักษุแพทย์ซึ่งให้ผลลัพธ์สอดคล้องกับผลการวิเคราะห์ด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์และช่วยให้จักษุแพทย์ทำงานได้สะดวก และรวดเร็วยิ่งขึ้น

References

Burns F R and Paterson C A (1989). Prompt irrigation of chemical eye injuries may avert severe damage. Occup Health Saf, 58(4): 33-36.

Rodrigues Z (2009). Irrigation of the eye after alkaline and acidic burns. Emergency Nurse, 17(8): 26-29.

Scott W J, Schrage N, and Dohlman C (2015). Emergency eye rinse for chemical injuries: new considerations. JAMA Ophthalmol, 133(3): 245.

Terzidou C and Georgiadis N (1997). A simple ocular irrigation system for alkaline burns of the eye. Ophthalmic Surg Lasers, 28(3): 255-257.

เลอปรัชญ์ มังกรกนกพงศ์ (2559). อุปกรณ์ช่วยล้างดวงตา. วารสารศูนย์การศึกษาแพทยศาสตร์คลินิก โรงพยาบาลพระปกเกล้า, 33(3): 256-262.

Mortan I (2018). Ocular irrigation device and method.

Nahaboo Solim M A, et al. (2021). Clinical outcomes and safety of Diphoterine® irrigation for chemical eye injury: A single-centre experience in the United Kingdom. Therapeutic Advances in Ophthalmology, 13: 1-8.

Rihawi S, Frentz M, and Schrage N F (2006). Emergency treatment of eye burns: which rinsing solution should we choose?. Graefe’s Arch Clin Exp Ophthalmol, 244: 845-854.

Rihawi S, et al. (2007). The consequences of delayed intervention when treating chemical eye burns. Graefe’s Arch Clin Exp Ophthalmol, 245: 1507-1513.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-25