ประสิทธิภาพการรังวัดด้วยเทคโนโลยี GNSS บนพื้นที่ลาดชัน: กรณีศึกษา โรงพยาบาลแหลมฉบัง จ.ชลบุรี
คำสำคัญ:
ประสิทธิภาพการรังวัด, GNSS, พื้นที่ลาดชัน, การรังวัดวิธีสถานีอ้างอิงเสมือนจริง, การรังวัดแบบจลน์ในทันที, ควอนตัมจีไอเอสบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิภาพการสำรวจรังวัดด้วยวิธีการทางระบบดาวเทียม GNSS (Global Navigation Satellite System) บนพื้นที่ลาดชัน โดยใช้การหาค่าความคลาดเคลื่อนกําลังสองเฉลี่ย (Root Mean Square Error, RMSE) เป็นตัวชี้วัดเปรียบเทียบการรังวัดด้วยวิธีสถานีอ้างอิงเสมือนจริง (Virtual Reference Station, VRS) และวิธีการรังวัดด้วยดาวเทียมแบบจลน์ในทันที (Real Time Kinematic, RTK) ด้วยเครื่องมือรังวัดระบบดาวเทียม GNSS ยี่ห้อ Topcon รุ่น GR5 ซึ่งทำการรังวัดหาค่าพิกัดในพื้นที่ปฏิบัติงานจริงจำนวนสิบหมุด ณ โรงพยาบาลแหลมฉบัง จ.ชลบุรี ซึ่งเป็นพื้นที่ลาดชันและตั้งอยู่ในชุมชน ผลการศึกษาเมื่อเปรียบเทียบกับหมุดหลักฐานพบว่า วิธีการรังวัดแบบจลน์ในทันที (RTK) มีความคลาดเคลื่อนอยู่ที่ 0.025 เซนติเมตร และวิธีสถานีอ้างอิงเสมือนจริง (VRS) มีความคลาดเคลื่อนอยู่ที่ 0.054 เซนติเมตร ทั้งสองวิธีนี้มีค่าความต่างเฉลี่ยรวมกันอยู่ที่ 0.033 เมตร จึงสรุปว่า วิธีรังวัดแบบจลน์ในทันที (RTK) มีความคลาดเคลื่อนน้อยกว่าวิธีสถานีอ้างอิงเสมือนจริง (VRS) แต่อยู่ในเกณฑ์ที่ยอมรับได้ทั้งสองวิธี อีกทั้งค่าความต่างของทั้งสองวิธีมีค่าใกล้เคียงกัน จึงสามารถนำค่าพิกัดมาใช้ร่วมงานด้วยกันได้ หลังจากนั้น จึงได้สำรวจพื้นที่ศึกษาโดยใช้กล้องประมวลผลรวม (Total Station) และเครื่องรับสัญญาณดาวเทียม GNSS เก็บค่าพิกัดของหมุดอ้างอิงพิกัดโดยวิธีการรังวัดแบบสถิต (Static Survey) และใช้ในการเก็บรายละเอียดอื่น ๆ ที่กล้อง Total Station ไม่อาจเข้าไปถึงด้วยวิธีการรังวัดแบบจลน์ในทันที (RTK) รวมไปถึงการจัดทำแผนที่ในระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์(Geographic Information Systems, GIS) และโปรแกรมควอนตัมจีไอเอส (Quantum GIS) โดยใช้ภาพถ่ายดาวเทียมรายละเอียดสูงประกอบเพื่อความถูกต้องมากขึ้น
References
วิชัย เยี่ยงวีรชน (2548). การสำรวจรังวัด: ทฤษฎีและการประยุกต์ใช้. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
สุทธิพล เอี่ยมประเสริฐกุล (2550). การหาค่าระดับเหนือระดับน้ำทะเลปานกลางของบ่อน้ำบาดาลด้วย GPS. หน้า 309 สืบค้นจาก http://library.dmr.go.th/Document/Proceedings-Yearbooks/M_1/2550/30576.pdf
KQ GNSS (2020). เทคนิคการรังวัดหาค่าพิกัดดาวเทียมด้วยระบบ GNSS. สืบค้นจาก
http://kqgnss.blogspot.com/2018/05/gnss.html 06 June 2020.
เจนพิธีกร สุนทรรัตน์ (2560). การทดสอบประสิทธิภาพระบบโครงข่ายดาวเทียมจีเอ็นเอสเอสแบบจลน์ในทันทีสำหรับงานรังวัดที่ดิน. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
โชคชัย ตระกลกุล (2555). การประเมินความถูกต้องของค่าความสูงออร์โทเมตริกจากการสำรวจแบบเคลื่อนที่โดยใช้ระบบดาวเทียมนำหน. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สมเกียรติ ทิพย์สุมณฑา (2560). การประเมินประสิทธิภาพของเทคนิคการรังวัดดาวเทียมแบบจลน์โดยอาศัยเครือข่ายสถานี GNSS แบบต่าง ๆ ในประเทศไทย. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
รุ่งโรจน์ เจริญยศ, ธีทัต เจริญกาลัญญูตา และ เฉลิมชนม์ สถิระพจน์ (2562). การประเมินผลความถูกต้องเชิงตำแหน่งทางราบของการรังวัดด้วยระบบโครงข่ายดาวเทียมจีเอ็นเอสเอสแบบจลน์ โดยใช้สถานีฐานอ้างอิงแบบรับสัญญาณต่อเนื่องถาวร สำหรับการรังวัดแปลงที่ดินในประเทศไทย. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
นำพล ศักดิ์สนิท, ธีทัต เจริญกาลัญญูตา และเฉลิมชนม์ สถิระพจน์ (2562). การประเมินค่าความถูกต้องของค่าพิกัดทางราบด้วยค่าคลาดเคลื่อนรากที่สองกำลังสองเฉลี่ยที่เครื่องรับสัญญาณจีเอ็นเอสเอส อาศัยแนวคิดว่าด้วยสถานีอ้างอิงเสมือน ของโครงข่ายจีเอ็นเอสเอสแบบจลน์ เวลาจริงในประเทศไทย.วิทยานิพนธ์ปริญญาโท, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
นิทัศพงษ์ นิวาศานนท์, ทยาทิพย์ ทองตัน และเฉลิมชนม์ สถิระพจน์ (2562). การประเมินประสิทธิภาพของการรังวัดดาวเทียมจากโครงข่ายแบบจลน์ในทันทีในประเทศไทย: กรณีศึกษาการกระจายตัวของจุดทดสอบ.วิทยานิพนธ์ปริญญาโท, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Michael P, Sama (2020). Performance Evaluation of a Tracking Total Station as a Position Reference for Dynamic GNSS Accuracy Testing. Available via: https://uknowledge.uky.edu/cgi/viewcontent.cgi?referer=https://scholar.google.com/&httpsrdir=1&article=1006&context=bae_facpub 06 June 2020.