การวางแผนพัฒนาโครงการและบริหารจัดการนํ้าในบ่อเก็บนํ้าดิบ เพื่อบรรเทาปัญหาการขาดแคลนนํ้าในจังหวัดภูเก็ต
คำสำคัญ:
การบริหารจัดการนํ้า; การขาดแคลนน้ำ; แบบจำลอง MIKE BASINบทคัดย่อ
การพัฒนาขุดขยายขุมเหมืองเก่านาเตยซึ่งตั้งอยู่ในอำเภอท้ายเหมือง จังหวัดพังงา ให้เป็นปริมาตรเก็บ
กักน้ำต้นทุนทางเลือกสำหรับความต้องการน้ำเพื่ออุปโภค-บริโภค และการท่องเที่ยวบางส่วนใน จ.ภูเก็ต เป็น
วัตถุประสงค์หลักในการศึกษานี้ โดยได้นำแบบจำลอง MIKE BASIN มาใช้เป็นเครื่องมือในการวิเคราะห์
ขนาดความจุบ่อเก็บน้ำที่เหมาะสม ผลการศึกษาพบว่าก่อนการพัฒนา ขุมเหมืองนาเตยสามารถผลิตน้ำ
ประปาได้สูงสุดประมาณ 7,500 ลบ.ม./วัน โดยไม่เกิดการขาดน้ำเลย แต่ถ้าต้องการเพิ่มกำลังการผลิตน้ำ
ประปาเป็น 24,000 48,000 72,000 และ 96,000 ลบ.ม./วัน และยอมรับการขาดน้ำได้ 3 ปีใน 30 ปี ต้อง
ขุดขยายบ่อน้ำให้มีความจุเป็น 0.7, 3.5, 6.1, และ 9.3 ล้าน ลบ.ม. เพื่อที่จะลดผลกระทบจากการขาดน้ำใน
3 ปีแล้งวิกฤตดังกล่าว การศึกษานี้ได้พัฒนาเกณฑ์การเฝ้าระวังปัญหาการขาดน้ำล่วงหน้า 2 เดือน ด้วยการ
พิจารณาระดับน้ำในบ่อและปริมาณน้ำที่ไหลเข้าบ่อในช่วงฤดูแล้งระหว่างเดือน ม.ค. – เม.ย. เพื่อนำไปสู่การ
วางแผนรับมือเตรียมความจุเก็บกักสำรองสูงสุดรายปีจากแหล่งน้ำอื่นใกล้เคียงได้ทันท่วงทีด้วยปริมาตรเก็บ
กักประมาณ 0.5, 0.19, 0.78 และ 1.44 ล้าน ลบ.ม. เรียงตามระยะกำลังการผลิตน้ำประปา