อิทธิพลของปริมาณปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ต่อสมบัติการหายใจผ่านของปูนหมัก ในการบูรณะโบราณสถาน

ผู้แต่ง

  • ปกรณ์ วรรณโกวิท สาขาวิศวกรรมโครงสร้างพื้นฐานและการบริหาร ภาควิชาวิศวกรรมโยธาคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • บารเมศ วรรธนะภูติ ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • ปารเมศ กำแหงฤทธิรงค์ สาขาวิชาเทคโนโลยีทางอาคาร คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

คำสำคัญ:

การหายใจของปูนหมัก; ปูนหมัก; ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์; การบูรณะโบราณสถาน

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสมบัติของปูนหมักที่ใช้ในการฉาบผิวโบราณสถานที่ผสมด้วยปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ หรือซีเมนต์ขาว ในปริมาณต่างๆ โดยพิจารณาสมบัติการหายใจผ่าน การดูดซึมน้ำ กำลังรับแรงอัด และดัชนีทางวิศวกรรม ได้แก่ ความหนาแน่น ระยะเวลาการก่อตัว รวมทั้งอนุภาคของปูนเหนียวในระยะเวลาหมักต่างๆ ปูนหมักที่ทดสอบได้จากการผสมปูนเหนียว ต่อ ทราย และปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ จำนวน 4 สูตร ได้แก่ 2:5:0, 2:5:1, 2:5:2 และ 2:5:3 โดยปริมาตร ผลของการทดสอบในห้องปฏิบัติการ พบว่า เมื่อปริมาณปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์เพิ่มขึ้น การหายใจผ่านของปูนหมักลดลง อย่างไรก็ตามเมื่อวิเคราะห์กลไกอัตราการดูดซึมน้ำของผนังก่ออิฐ และอัตราการซึมผ่านของผิวปูนฉาบ พบว่าการหายใจผ่านของปูนฉาบ มีอิทธิพลต่อการระบายความชื้นของผนังอิฐน้อยมาก นอกจากนี้ เมื่อปริมาณปูนซีเมนต์เพิ่มขึ้น ทำให้ระยะเวลาการก่อตัวลดลง และกำลังรับแรงอัดของวัสดุเพิ่มสูงขึ้นด้วย

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-04-30