ผลของโลหะเจือต่อความสามารถในการเร่งปฏิกิริยาของซิงค์ออกไซด์ สำหรับปฏิกิริยาดีพอลิเมอไรเซชันของลิกนิน

ผู้แต่ง

  • ชินดนัย ยงยุทธวิชัย
  • ปรินทร์ พึงประเสริฐ
  • นวดล เหล่าศิริพจน์
  • อภิรัตน์ เลาห์บุตรี

คำสำคัญ:

การเอิบชุ่ม; สมบัติการเป็นตัวเร่งปฏิกิริยา ลิกนิน; การแยกสลาย

บทคัดย่อ

อัลคาไลน์ลิกนินถูกแยกสลายโดยตัวเร่งปฏิกิริยาโลหะเหล็กและนิกเกิลบนตัวรองรับซิงค์ออกไซด์ ตัวเร่งปฏิกิริยาถูกเตรียมขึ้นโดยกระบวนการเอิบชุ่มโดยใช้ไมโครเวฟ ตัวเร่งปฏิกิริยาที่สังเคราะห์ได้ถูกนำไปวิเคราะห์ด้วยเครื่องวัดการเลี้ยวเบนของรังสีเอกซ์ และเครื่องวัดพื้นที่ผิวจำเพาะเพื่อยืนยันโครงสร้างของตัวเร่งปฏิกิริยา โดยปริมาณของสารอนุพันธ์ฟีนอลที่ได้ถูกตรวจวัดด้วยเทคนิคแก๊สโครมาโตรกราฟฟี่ โดยใช้เฟลมไอออไนเซชันเป็นตัวตรวจวัด (GC-FID) พบว่า สารผลิตภัณฑ์หลักประกอบด้วย ไกวเอคอล เอทิล-      ไกวเอคอล และฟีนอล การเปลี่ยนแปลงหมู่ฟังก์ชันของลิกนินเริ่มต้น และลิกนินหลังการทำปฏิกิริยาจะถูกตรวจสอบด้วยเทคนิคฟูเรียร์ทรานสฟอร์มอินฟราเรดสเปกโตรสโคปี (FT-IR) ผลจากงานวิจัยพบว่า ที่สภาวะอุณหภูมิ 300 องศาเซลเซียส อัตราการเพิ่มของอุณหภูมิ 10 องศาต่อนาทีเป็นเวลา 1 ชั่วโมง โดยมีความเข้มข้นของลิกนินเริ่มต้นต่อสารละลายร้อยละ 1.75 โดยน้ำหนักต่อปริมาตร ตัวเร่งปฏิกิริยาเหล็ก-นิกเกิลบนตัวรองรับซิงค์ออกไซด์มีปริมาณของสารอนุพันธ์ฟีนอลมากที่สุดที่ร้อยละ 2.75 โดยน้ำหนัก

เผยแพร่แล้ว

2018-03-23