ความถูกต้องของพิกัดตำแหน่งจากการรังวัดด้วยดาวเทียมระบบจีพีเอส โดยวิธีสถานีอ้างอิงเสมือน

Authors

  • ธนัช สุขวิมลเสรี ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • ปรียาพร โกษา สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา สำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี

Keywords:

สถานีอ้างอิงเสมือน, แบบจำลองภูมิศักยภาพของพิภพ ค.ศ. 2008, ดาวเทียมระบบจีพีเอส, virtual reference station, earth gravitational model 2008, GPS

Abstract

การรังวัดด้วยดาวเทียมระบบจีพีเอสโดยวิธีสถานีอ้างอิงเสมือนเป็นรูปแบบหนึ่งของการรังวัดด้วยระบบเครือข่ายแบบจลน์ในทันที ซึ่งค่าความถูกต้องและความน่าเชื่อถือของพิกัดตำแหน่ง รวมถึงขอบเขตการทำงานมีความต่อเนื่องเป็นเนื้อเดียวกันตลอดทั้งโครงข่าย ส่งผลให้เกิดความคล่องตัวในการปฏิบัติงานและประหยัดเวลาในการทำงาน บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินความถูกต้องของพิกัดตำแหน่ง จากการรังวัดด้วยดาวเทียมระบบจีพีเอสโดยวิธีสถานีอ้างอิงเสมือน โดยใช้หมุดหลักฐานถาวรจำนวน 10 หมุด ซึ่งกระจายอยู่ในพื้นที่ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน ครอบคลุมพื้นที่ 743,760 ตารางเมตร ผลการศึกษาพบว่า ค่าพิกัดในทางราบและทางดิ่งที่ได้จากการรังวัดด้วยดาวเทียมระบบ จีพีเอสโดยวิธีสถานีอ้างอิงเสมือน และประยุกต์ใช้แบบจำลองภูมิศักยภาพของพิภพ ค.ศ. 2008 นั้น จะให้ ความถูกต้องอยู่ในระดับ 10 เซนติเมตร และ 30 เซนติเมตร ตามลำดับ ผลลัพธ์ที่ได้แสดงให้เห็นถึงวิธีการ รังวัดด้วยดาวเทียมระบบจีพีเอสแบบสถานีอ้างอิงเสมือนจะเป็นทางเลือกหนึ่งสำหรับงานรังวัดที่ไม่ต้องการความถูกต้องสูงมากนัก ทั้งยังประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานด้วย

 

 Positional Accuracy Using Virtual Reference Station GPS Technique

Virtual Reference Station (VRS) is a type of network-based Real Time Kinematic GPS technique. The accuracy and reliability of the coordinates are based on the density and efficiency of the reference station in the network. Moreover, a homogeneous operational area within the network is the advantage. The flexibility and saving hours in a field operation are also included as the result. The purpose of the study is to evaluate the positional accuracy from VRS method of 10 permanent stations distributed in the Kasetsart University (Bangkhen Campus) and covers 743,760 m2. The result presents that the accuracy of horizontal position and orthometric heights from VRS applied by Earth Gravitational Model 2008 (EGM2008) are better than 10 and 30 cm, respectively. Then, it can be concluded that the GPS- derived orthometric heights by VRS is an alternative method for time and cost saving in field surveying where a high accuracy of the orthometric heights is not required.

Downloads

Issue

Section

งานวิจัย (Research papers)