กำลังอัด, การแทรกซึมของคลอไรด์, และการซึมของน้ำผ่านคอนกรีตที่ทำจากวัสดุกองทิ้งจาก อุตสาหกรรม

ผู้แต่ง

  • ไชยนันท์ รัตนโชตินันท์ นักศึกษาปริญญาเอก ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยพีระจอมเกล้าธนบุรี
  • วีรชาติ ตั้งจิรภัทร ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
  • ชัย จาตุรพิทักษ์กุล ศาสตราจารย์ ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

คำสำคัญ:

การแทรกซึมของคลอไรด์, การซึมของน้ำ, กากแคลเซียมคาร์ไบด์, เถ้าถ่านหิน, มวล รวมรีไซเคิล

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสมบัติของคอนกรีต ได้แก่ กำลังอัด การแทรกซึมของคลอไรด์

และการซึมของน้ำ ผ่านคอนกรีตที่ทำ จากวัสดุกองทิ้งจากอุตสาหกรรม ได้แก่ กาก

แคลเซียมคาร์ไบด์บด (CCR) ผสมกับเถ้าถ่านหินบด (FA) เป็นวัสดุประสานแทนที่ปูนซีเมนต์ และ

ใช้มวลรวมรีไซเคิลแทนที่มวลรวมจากธรรมชาติในการผลิตคอนกรีต (คอนกรีต CCR-FA) ผลการ

ทดสอบสมบัติของคอนกรีต CCR-FA ได้รับการวิเคราะห์และเปรียบเทียบกับคอนกรีตควบคุมที่ใช้

ปูนซีเมนต์และมวลรวมจากธรรมชาติ ผลการวิจัยพบว่าการใช้วัสดุประสาน CCR-FA ในคอนกรีต

ที่ใช้มวลรวมรีไซเคิล ไม่ได้เปลี่ยนแปลงลักษณะการพัฒนากำลังอัดของคอนกรีต ซึ่งการพัฒนา

กำลังอัดของคอนกรีต CCR-FA คล้ายคลึงกับคอนกรีตควบคุม การแทรกซึมของคลอไรด์และการ

ซึมของน้ำผ่านคอนกรีต CCR-FA มีค่าใกล้เคียงหรือต่ำกว่าคอนกรีตควบคุม จากการวิจัยข้างต้น

แสดงให้เห็นว่าคอนกรีต CCR-FA สามารถใช้เป็นคอนกรีตชนิดใหม่ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

เพราะคอนกรีตเหล่านี้สามารถลดปัญหาสิ่งแวดล้อมโดยการนำวัสดุกองทิ้งจากอุตสาหกรรมมาใช้

ในงานคอนกรีต

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2016-08-04
Bookmark and Share