การผลิตแม่เหล็กถาวรรูปร่างซับซ้อนด้วยกระบวนการผลิตแบบเติมเนื้อวัสดุ

Complex Near-net-shape Bonded Magnet Fabrication by Additive Manufacturing

Authors

  • ธนิดา เจริญสุข Thanida Charoensuk Functional Materials and Nanotechnology Center of Excellence (FuNTech), Walailak University

Keywords:

การผลิตแบบเติมเนื้อวัสดุ, การพิมพ์สามมิติ, แม่เหล็กถาวร, ค่าผลผลิตพลังงานสูงสุด

Abstract

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสดงโอกาสและความเป็นไปได้ในการใช้ประโยชน์ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีการผลิตแบบเติมเนื้อวัสดุด้วยเครื่องพิมพ์สามมิติ ซึ่งปัจจุบันได้รับความนิยมนำมาพัฒนาการใช้งานกันแพร่หลายในอุตสาหกรรมการผลิตต่าง ๆ สำหรับการนำมาใช้ในงานผลิตแม่เหล็กถาวรรูปร่างซับซ้อนที่ยากจะทำการผลิตได้ด้วยวิธีแบบทั่วไป โดยการลำดับเนื้อหากล่าวถึงการผลิตแบบเติมเนื้อวัสดุเปรียบเทียบกับการผลิตที่ใช้อยู่โดยทั่วไปในงานอุตสาหกรรม ที่มาและหลักการทำงานของเครื่องพิมพ์สามมิติชนิดต่าง ๆ ที่ได้รับความนิยม ศักยภาพ ความสามารถ โอกาส สาเหตุและความสำคัญในการพัฒนาใช้งานการพิมพ์สามมิติเพื่อการผลิตวัสดุแม่เหล็กถาวร รวมถึงการทำงานของนักวิจัยกลุ่มต่าง ๆ ที่สนใจในงานพัฒนาเทคโนโลยีนี้ ซึ่งในที่นี้พบว่าการผลิตแม่เหล็กผสมพอลิเมอร์ด้วยวิธี Big area additive manufacturing ทำให้สามารถผลิตแม่เหล็กผสมพอลิเมอร์ที่มีส่วนประกอบของอนุภาคแม่เหล็กในสัดส่วนสูงสุดส่งผลต่อการมีสมบัติแม่เหล็กสูงโดยที่ยังคงสมบัติเชิงกลเช่นเดียวกับแม่เหล็กที่ผลิตด้วยวิธีทั่วไปได้

Downloads

Published

2021-06-28