เทคนิคและวิธีการตรวจวิเคราะห์เขม่าปืนเพื่อสร้างความเชื่อมั่นในกระบวนการยุติธรรม: อดีต ปัจจุบัน และทิศทางในอนาคต

Techniques and Methods for Gunshot Residue Analysis to Enhance Confidence in the Justice Process: From the Past to Present and Future Direction

Authors

  • เยาวลักษณ์ เพิ่มพรสกุล Yaowaluck Phermpornsagul กลุ่มงานตรวจอาวุธปืนและเครื่องกระสุน ศูนย์พิสูจน์หลักฐาน 2 อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี 20000

Keywords:

นิติวิทยาศาสตร์, เขม่าปืน, การวิเคราะห์เชิงปริมาณ, การวิเคราะห์เชิงคุณภาพ

Abstract

การตรวจพิสูจน์เขม่าปืนเป็นกระบวนการสำคัญในงานนิติวิทยาศาสตร์ ซึ่งเริ่มต้นจากการวิเคราะห์ลักษณะการกระจายตัวของเขม่าปืนที่เกิดขึ้น เทคนิคการเก็บตัวอย่างและการวิเคราะห์ผล จนถึงการตีความผลการวิเคราะห์จากเทคนิคที่เลือกใช้อย่างเหมาะสม เทคนิคการวิเคราะห์เขม่าปืนพัฒนาขึ้นมาตามลำดับเริ่มจากการใช้วิธีทดสอบสี ต่อมาใช้เครื่อง Atomic absorption spectroscopy (AAS) เครื่อง Graphite furnace atomic absorption spectrometer (GFAAS) เครื่อง Neutron activation analysis (NAA) และใช้เครื่อง Inductive coupled plasma spectrometer mass spectrometer (ICP-MS) ในการวิเคราะห์เชิงปริมาณ แต่ละวิธีมีข้อดีและข้อด้อยแตกต่างกัน รวมทั้งการวิเคราะห์เชิงคุณภาพด้วยเทคนิค Scanning electron microscope-energy-dispersive X-ray spectroscopy (SEM-EDX ) ที่สามารถระบุความเป็นเอกลักษณ์ของอนุภาคที่เป็นเขม่าปืนได้ มีการใช้ตัวอย่างเขม่าปืนมาตรฐานเพื่อทวนสอบผลการวิเคราะห์ด้วยเทคนิค SEM-EDX ร่วมกับระบบการตรวจนับอนุภาคเขม่าปืนแบบอัตโนมัติ ความสำเร็จและความคุ้มค่าของการวิเคราะห์เขม่าปืนนั้นเกิดจากการพิจารณารูปแบบการเกิดเขม่าปืนและสภาพแวดล้อมในแต่ละกรณีที่ไม่เหมือนกัน นำไปสู่การตีความพฤติกรรมของกรณีได้ใกล้เคียงความจริงมากที่สุด

Downloads

Published

2021-03-30