Acoustic levitation ลอยได้ด้วยเสียง

Authors

  • วรกฤษฏิ์ ธิดา

Abstract

เทคนิคการลอยตัวด้วยคลื่นเสียงได้รับการเผยแพร่ในวารสารวิชาการครั้งแรกเมื่อปี 1975 โดย R.R. Whymark ด้วยการใช้อัลตราโซนิกส์ทรานสดิวเซอร์ให้กำเนิดคลื่นเหนือเสียงความถี่ 20 กิโลเฮิรตซ์ จากนั้นใช้แผ่นโลหะ สะท้อนคลื่นเสียงเพื่อสร้างคลื่นนิ่งของเสียง ตำแหน่งของแผ่น สะท้อนคลื่นเสียงจำเป็นจะต้องมีค่าเป็นจำนวนเท่าของครึ่งหนึ่งของ ความยาวคลื่น (nλ/2) ซึ่งเป็นระยะที่จะทำให้เกิดคลื่นนิ่งได้นั่นเอง วัตถุมวลเบาจะสามารถลอยอยู่ในบริเวณจุดบัพของคลื่นนิ่งได้ เนื่องจากโมเลกุลอากาศที่เคลื่อนที่อย่างรุนแรงในจุดปฏิบัพ เทคโนโลยีดังกล่าวถูกนำมาใช้ในระบบการตรวจวัดแบบ ไม่ต้องใช้ภาชนะ (Containerless Method) เพื่อลดการปนเปื้อนใน ระบบการวัด ส่งผลให้การวัดมีความแม่นยำมากขึ้น เช่น Containerless spectroscopy, Containerless X-ray diffraction และ Containerless NMR นอกจากประโยชน์ทางการ วัดแล้วเทคนิคการลอยด้วยเสียงยังถูกประยุกต์ใช้กับการศึกษา ปฏิกิริยาเคมีแบบไม่ใช้ภาชนะอีกด้วย ในด้านอุตสาหกรรมถูก นำไปใช้ในโรงงานผลิตสินค้าที่ต้องการความสะอาดสูงเช่น การผลิต ยา และการผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ขนาดเล็ก เป็นต้น

Downloads

Published

2020-05-21