การพัฒนาและสร้างต้นแบบรวดเร็ว สำหรับผลิตภัณฑ์เซรามิกโดยใช้วิธีการขึ้นรูปทีละชั้น
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้เพื่อออกแบบและพัฒนาเครื่องสร้างต้นแบบรวดเร็วและหาค่าพารามิเตอร์ที่ใช้ในการขึ้นรูป รวมถึงทดสอบค่าความคลาดเคลื่อนของการสร้างต้นแบบรวดเร็วสำหรับผลิตภัณฑ์เซรามิกโดยใช้วิธีการขึ้นรูปทีละชั้น การดำเนินวิจัยนี้เริ่มจากออกแบบผลิตภัณฑ์เซรามิกแบบสามมิติโดยใช้โปรแกรมยูนิกราฟฟิกส์เอ็นเอ็กซ์ เวอร์ชั่น 6.0 จากนั้นนำไฟล์สามมิติสร้างเส้นภาพตัดขวางตามความสูงของชิ้นงานทีละชั้น ออกแบบและสร้างเครื่องต้นแบบรวดเร็ว โดยเครื่องมีขนาด 300×450×400 มิลลิเมตร ซึ่งมีชุดอุปกรณ์ประกอบด้วย 3 ส่วน คือ 1) ชุดโครงสร้าง 2) ชุดควบคุมอัตราป้อนของหัวฉีด 3) ชุดระบบอิเล็กทรอนิกส์ควบคุมและซอฟต์แวร์ การต่อระบบวงจรอิเล็กทรอนิกส์ ใช้บอร์ดอาร์เอ็นอาร์โมชั่นแบบยูเอสบี เพื่อใช้ติดต่อสื่อสารกับชุดฮาร์ดแวร์และใช้ซอฟต์แวร์มาคสามซีเอ็นซีคอนโทรลเลอร์ ควบคุมการเคลื่อนที่ของมอเตอร์ให้เคลื่อนที่แบบ 4 แกนคือ แกน X Y Z และแกน A จากนั้นทดสอบหาค่าพารามิเตอร์ที่ส่งผลในการขึ้นรูป ตัวแปรควบคุมได้แก่ ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของหัวฉีด 2 มิลลิเมตร ใช้ดินสำเร็จรูปชนิดคอมพาวด์พีบีบี ความชื้นของดินในช่วง 40-45 เปอร์เซ็นต์ ตัวแปรตามคือ อัตราป้อนของชุดหัวฉีด ความเร็วในการเคลื่อนที่และระยะห่างระหว่างชั้นในการขึ้นรูป การทดสอบพบว่าอัตราป้อนของชุดหัวฉีดที่เหมาะสมคือ 5 มิลลิเมตรต่อนาที ค่าความเร็วในการเคลื่อนที่แกน X Y Z คือ 60 มิลลิเมตรต่อนาที ค่าระยะห่างระหว่างชั้นในการขึ้นรูปที่เหมาะสมคือ 0.80 มิลลิเมตร และผลการทดสอบขึ้นรูปผลิตภัณฑ์ แบบรูปทรงกลม แบบรูปทรงสี่เหลี่ยมและแบบรูปทรงอิสระพบว่าสามารถขึ้นรูปชิ้นงานได้ตามแบบและจากการนำผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการขึ้นรูปไปเผาที่อุณหภูมิ 1200 องศาเซลเซียส พบว่าผลิตภัณฑ์ที่ได้หลังจากการเผามีความสมบูรณ์ไม่มีรอยแตกร้าวและเสียรูปทรง ในด้านการทดสอบค่าความคลาดเคลื่อนของเครื่องสร้างต้นแบบรวดเร็ว จากการวัดขนาดของชิ้นงานหลังจากขึ้นรูปพบว่ามีความคลาดเคลื่อนได้ไม่เกินค่าบวกและค่าลบเฉลี่ยเท่ากับ 0.2 มิลลิเมตร
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
นโยบายการรับบทความ
กองบรรณาธิการวารสารสถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น มีความยินดีรับบทความจากอาจารย์ประจำ และผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี ที่เขียนเป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษ ซึ่งผลงานวิชาการที่ส่งมาขอตีพิมพ์ต้องไม่เคยเผยแพร่ในสิ่งพิมพ์อื่นใดมาก่อน และต้องไม่อยู่ในระหว่างการพิจารณาของวารสารอื่นที่นำส่ง ดังนั้นผู้สนใจที่จะร่วมเผยแพร่ผลงานและความรู้ที่ศึกษามาสามารถนำส่งบทความได้ที่กองบรรณาธิการเพื่อเสนอต่อคณะกรรมการกลั่นกรองบทความพิจารณาจัดพิมพ์ในวารสารต่อไป ทั้งนี้บทความที่สามารถเผยแพร่ได้ประกอบด้วยบทความวิจัย ผู้สนใจสามารถศึกษาและจัดเตรียมบทความจากคำแนะนำสำหรับผู้เขียนบทความ
การละเมิดลิขสิทธิ์ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้ส่งบทความโดยตรง บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ต้องผ่านการพิจารณากลั่นกรองคุณภาพจากผู้ทรงคุณวุฒิและได้รับความเห็นชอบจากกองบรรณาธิการ
ข้อความที่ปรากฏภายในบทความของแต่ละบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการเล่มนี้ เป็น ความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่าน ไม่เกี่ยวข้องกับสถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น และคณาจารย์ท่านอื่น ๆ ในสถาบัน แต่อย่างใด ความรับผิดชอบด้านเนื้อหาและการตรวจร่างบทความแต่ละบทความเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะต้องรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว
กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์มิให้นำเนื้อหา ทัศนะ หรือข้อคิดเห็นใด ๆ ของบทความในวารสารสถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น ไปเผยแพร่ก่อนได้รับอนุญาตจากผู้นิพนธ์ อย่างเป็นลายลักษณ์อักษร ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารสถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น
ผู้ประสงค์จะส่งบทความเพื่อตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น สามารถส่ง Online ที่ https://www.tci-thaijo.org/index.php/TNIJournal/ โปรดสมัครสมาชิก (Register) โดยกรอกรายละเอียดให้ครบถ้วนหากต้องการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมที่
- กองบรรณาธิการ วารสารสถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น
- ฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น
เลขที่ 1771/1 สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น ซอยพัฒนาการ 37-39 ถนนพัฒนาการ แขวงสวนหลวง เขตสวนหลวง กรุงเทพมหานคร 10250 ติดต่อกับคุณพิมพ์รต พิพัฒนกุล (02) 763-2752 , คุณจุฑามาศ ประสพสันติ์ (02) 763-2600 Ext. 2402 Fax. (02) 763-2754 หรือ E-mail: JEDT@tni.ac.th
References
S. Inthaput, Competitiveness of Thai ceramics industry. Bangkok, Thailand: Department of Export Promotion, (in Thai), 2003. Accessed: Feb. 16, 2022. [Online]. Available: https://www.ditp.go.th/contents_attach/78351/78351.pdf
N. Travitzky et al., “Additive manufacturing of ceramic-base materials,” Adv. Eng. Mater., vol. 16, no. 6, pp. 729–745, 2014.
J. Garden, “Additive manufacturing technologies: state of the art and trends,” Int. J. Prod. Res., vol. 54, no. 10, pp. 3118–3132, 2016.
S. B. M. Patzelt, B. C. Spies, and R. J. Kohal, “CAD/CAM-fabricated implant-supported restorations: a systematic review,” Clin. Oral Implants Res., vol. 26, no. S11, pp. 77–85, 2015.
A. Christ, R. Heister, and R. Anderl, “Reverse engineering for the utilization of product model data for CAx workflows in dental technology,” in Proc. 20th Eur. Concurrent Eng. Conf. - 10th Future Bus. Technol. Conf., Bruges, Belgium, Apr. 2014, pp. 47–54.
J.-Y. Lee, J. An, and C. K. Chua, “Fundamentals and applications of 3D printing for novel materials,” Appl. Mater. Today, vol. 7, pp. 120–133, Jun. 2017.
Q. Liu, M. C. Leu, and S. M. Schmitt, “Rapid prototyping in dentistry: technology and application,” Int. J. Adv. Manuf. Technol., vol. 29, pp. 317–335, Jun. 2006.
H. Shao, D. Zhao, T. Lin, J. He, and J. Wu, “3D gel-printing of zirconia ceramic parts,” Ceram. Int., vol. 43, no. 16, pp. 13938–13942, Nov. 2017.
P. Pitayachaval and A. Thongrak, “A study of slope edge of technology,” in Proc. 38th Ind. Eng. Netw, Chon Buri, Thailand, 2020, pp. 255–259.
F. Yang, M. Zhang, B. Bhandari, and Y. Liu, “Investigation on lemon juice gel as food material for 3D printing and optimization of printing parameters,” LWT - Food Sci. Technol., vol. 87, pp. 67–76, Jan. 2018.
S. Otarawanna, “The use of 3D printing technology in manufacturing industry,” (in Thai), J. Mater. Technol., vol. 85, pp. 24–28, 2017. [Online]. Available: https://www2.mtec.or.th/th/e-magazine/admin/upload/303_24.pdf