การศึกษาผลกระทบของสิ่งกีดขวางทางน้ำต่อการเกิดน้ำท่วมในลำน้ำ
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบของสิ่งกีดขวางทางน้ำเพื่อตรวจสอบว่าสิ่งกีดขวางทำให้เพิ่มของน้ำท่วมในลำน้ำ แบบจำลอง HEC-RAS ได้นำมาใช้ในการจำลองการไหลและระดับน้ำกรณีมีและไม่มีสิ่งกีดขวางในลำน้ำ ค่าระดับน้ำและความสูงของตลิ่งถูกนำมาวิเคราะห์เพื่อหาระยะทางที่เกิดน้ำท่วมตลอดแนวลำน้ำทั้งสองกรณี จากผลการศึกษาพบว่า ผลกระทบต่อระดับน้ำหน้าสิ่งกีดขวางประเภทฝายและท่อลอดมีความแตกต่างกัน ระดับน้ำหน้าท่อลอดจะต่ำกว่าระดับน้ำหน้าฝายที่อัตราการไหลต่ำ อย่างไรก็ตามเมื่ออัตราการไหลสูงเกินกว่าความจุการไหลของท่อลอด ระดับน้ำหน้าท่อลอดจะมีค่าสูงกว่าเนื่องจากข้อจำกัดของหน้าตัดท่อลอดในการรับการไหลของน้ำ ระยะน้ำท่วมและระดับน้ำตลอดแนวลำน้ำที่อัตราการไหลสูงแสดงให้เห็นว่าระยะน้ำท่วมตลอดแนวลำน้ำลดลงเหลือ 580.6 เมตร จาก 953.4 เมตร เมื่อไม่มีสิ่งกีดขวางการไหล การมีสิ่งกีดขวางทางน้ำจะทำให้ระดับผิวน้ำสูงขึ้นมากกว่าปกติซึ่งทำให้ระยะน้ำท่วมเพิ่มขึ้นไปทางด้านเหนือน้ำของสิ่งกีดขวางในขณะที่ไม่มีการท่วมเกิดขึ้นที่บริเวณท้ายน้ำของสิ่งกีดขวาง งานวิจัยนี้แสดงให้เห็นว่าท่อลอดมีแนวโน้มที่จะก่อให้เกิดน้ำท่วมมากกว่าฝายในช่วงเหตุการณ์ฝนตกหนัก
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
นโยบายการรับบทความ
กองบรรณาธิการวารสารสถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น มีความยินดีรับบทความจากอาจารย์ประจำ และผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี ที่เขียนเป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษ ซึ่งผลงานวิชาการที่ส่งมาขอตีพิมพ์ต้องไม่เคยเผยแพร่ในสิ่งพิมพ์อื่นใดมาก่อน และต้องไม่อยู่ในระหว่างการพิจารณาของวารสารอื่นที่นำส่ง ดังนั้นผู้สนใจที่จะร่วมเผยแพร่ผลงานและความรู้ที่ศึกษามาสามารถนำส่งบทความได้ที่กองบรรณาธิการเพื่อเสนอต่อคณะกรรมการกลั่นกรองบทความพิจารณาจัดพิมพ์ในวารสารต่อไป ทั้งนี้บทความที่สามารถเผยแพร่ได้ประกอบด้วยบทความวิจัย ผู้สนใจสามารถศึกษาและจัดเตรียมบทความจากคำแนะนำสำหรับผู้เขียนบทความ
การละเมิดลิขสิทธิ์ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้ส่งบทความโดยตรง บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ต้องผ่านการพิจารณากลั่นกรองคุณภาพจากผู้ทรงคุณวุฒิและได้รับความเห็นชอบจากกองบรรณาธิการ
ข้อความที่ปรากฏภายในบทความของแต่ละบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการเล่มนี้ เป็น ความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่าน ไม่เกี่ยวข้องกับสถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น และคณาจารย์ท่านอื่น ๆ ในสถาบัน แต่อย่างใด ความรับผิดชอบด้านเนื้อหาและการตรวจร่างบทความแต่ละบทความเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะต้องรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว
กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์มิให้นำเนื้อหา ทัศนะ หรือข้อคิดเห็นใด ๆ ของบทความในวารสารสถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น ไปเผยแพร่ก่อนได้รับอนุญาตจากผู้นิพนธ์ อย่างเป็นลายลักษณ์อักษร ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารสถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น
ผู้ประสงค์จะส่งบทความเพื่อตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น สามารถส่ง Online ที่ https://www.tci-thaijo.org/index.php/TNIJournal/ โปรดสมัครสมาชิก (Register) โดยกรอกรายละเอียดให้ครบถ้วนหากต้องการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมที่
- กองบรรณาธิการ วารสารสถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น
- ฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น
เลขที่ 1771/1 สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น ซอยพัฒนาการ 37-39 ถนนพัฒนาการ แขวงสวนหลวง เขตสวนหลวง กรุงเทพมหานคร 10250 ติดต่อกับคุณพิมพ์รต พิพัฒนกุล (02) 763-2752 , คุณจุฑามาศ ประสพสันติ์ (02) 763-2600 Ext. 2402 Fax. (02) 763-2754 หรือ E-mail: JEDT@tni.ac.th
References
Faculty of Engineering, “Integration of water resources management project: The development activities of information system for prepare to flood disaster and landslides in Chiang Rai Province,” Chiang Mai Univ., Chiang Mai, Thailand, Final Rep., Mar. 2020.
Post Today. “Forest water floods villages in the area at Mae Chan District and Mae Sai District over 500 houses.” (in Thai), POSTTODAY.com. https://www.posttoday.com/social/local/456586 (accessed Oct. 15, 2021).
Thairath. “Heavy rain, forest water from Doi Tung floods 7 villages in Chiang Rai.” (in Thai), THAIRATHONLINE.co.th. https://www.thairath.co.th/news/local/north/1353969 (accessed Sep. 10, 2021).
HEC-RAS, River Analysis System Hydraulic Reference Manual, USACE, Davis, CA, USA, 2018.
S. Chuenchuoklin, “River analysis simulation model of main river and diversion channel planning for flood delineation: Case study for Pasak River, Phetchabun Province,” (in Thai), Naresuan Univ. Eng. J., vol. 1, no. 1, pp. 9–18, 2006.
P. Numkhang, “Analysis of Flow in Mae Klong River by HEC-RAS Model,” (in Thai), B.E. thesis, Dept. Irrigation Eng., Kasetsart Univ., Nakhon Pathom, Thailand, 2007.
HEC-RAS River Analysis System User's Manual Version 5.0, USACE, Davis, CA, USA, 2016.
HEC-RAS, River Analysis System Application Guide, USACE, Davis, CA, USA, 2018.
HEC-RAS River Analysis System, Hydraulics Reference Manual Version 4, USACE, Davis, CA, USA, 2010.
J. E. Nash and J. V. Sutcliffe, “River flow forecasting through conceptual models part I — A discussion of principles,” J. Hydrol., vol. 10, no. 3, pp. 282–290, Apr. 1970, doi: 10.1016/0022-1694(70)90255-6.
D. N. Moriasi, J. G. Arnold, M. W. van Liew, R. L. Bingner, R. D. Harmel, and T. L. Veith, “Model evaluation guidelines for systematic quantification of accuracy in watershed simulations,” Trans. ASABE., vol. 50, no. 3, pp. 885–900, 2007, doi: 10.13031/2013.23153.