การศึกษาความเป็นไปได้ทางด้านเทคนิคและการเงินของระบบ ผลิตน้ำรีไซเคิลจากน้ำเสีย กรณีศึกษา: โรงงานผลิตรถยนต์
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ในการนำน้ำเสียที่เกิดจากกระบวนการผลิตและการอุปโภคภายในโรงงานและผ่านการบำบัดด้วยระบบบำบัดน้ำเสียแล้วไปรีไซเคิลเพื่อนำกลับมาใช้ใหม่ทดแทนการใช้น้ำประปา โดยการศึกษาทางด้านเทคนิคของระบบผลิตน้ำรีไซเคิลจากน้ำเสียจะวิเคราะห์เปรียบเทียบคุณสมบัติของเยื่อกรองเมมเบรน 4 ประเภท ได้แก่ ไมโครฟิลเตรชั่น อัลตร้าฟิลเตรชั่น นาโนฟิลเตรชั่น และรีเวอร์สออสโมซิสเมมเบรน เพื่อเลือกเยื่อกรองเมมเบรนที่เหมาะสมกับลักษณะน้ำเสียของโรงงาน และนำทางเลือกที่มีความเป็นไปได้ทางด้านเทคนิคไปวิเคราะห์ทางด้านการเงินเพื่อพิจารณาตัดสินใจในการลงทุน โดยผลการศึกษาทางด้านเทคนิค พบว่าระบบผลิตน้ำรีไซเคิลจากน้ำเสียควรจะประกอบด้วยหน่วยเยื่อกรอง 2 หน่วยหลัก คือ หน่วยผลิตน้ำสะอาดซึ่งมีไมโครฟิลเตรชั่นเมมเบรนเป็นหน่วยเยื่อกรองและหน่วยผลิตน้ำบริสุทธิ์ซึ่งมีรีเวอร์สออสโมซิสเมมเบรนเป็นหน่วยเยื่อกรอง การวิเคราะห์ทางด้านการเงิน ณ อัตราคิดลดร้อยละ 10 พบว่าโครงการมีมูลค่าปัจจุบันสุทธิเท่ากับ 1,007,668.46 บาท อัตราผลตอบแทนภายในของโครงการเท่ากับ 11.11% ซึ่งมากกว่าอัตราผลตอบแทนขั้นต่ำที่ยอมรับได้ อัตราส่วนผลตอบแทนต่อต้นทุนเท่ากับ 1.03 และมีระยะเวลาคืนทุนคิดลดเท่ากับ 13 ปี 2 เดือน แสดงให้เห็นว่าโครงการมีความเป็นไปได้ในการลงทุน การวิเคราะห์ความอ่อนไหวโดยการเปลี่ยนแปลงปัจจัยต่างๆ ในช่วง ±25% มี 4 ปัจจัย คือ ต้นทุนการก่อสร้าง ผลตอบแทน ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานและอัตราส่วนคิดลด พบว่าการเปลี่ยนแปลงของปัจจัยที่มีผลกระทบทำให้โครงการไม่มีความเหมาะสมในการลงทุน คือ ต้นทุนการก่อสร้างเพิ่มขึ้นร้อยละ 10 ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานเพิ่มขึ้นร้อยละ 10 ผลตอบแทนลดลงร้อยละ 5 และอัตราคิดลดเพิ่มขึ้นร้อยละ 15
Article Details
นโยบายการรับบทความ
กองบรรณาธิการวารสารสถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น มีความยินดีรับบทความจากอาจารย์ประจำ และผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี ที่เขียนเป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษ ซึ่งผลงานวิชาการที่ส่งมาขอตีพิมพ์ต้องไม่เคยเผยแพร่ในสิ่งพิมพ์อื่นใดมาก่อน และต้องไม่อยู่ในระหว่างการพิจารณาของวารสารอื่นที่นำส่ง ดังนั้นผู้สนใจที่จะร่วมเผยแพร่ผลงานและความรู้ที่ศึกษามาสามารถนำส่งบทความได้ที่กองบรรณาธิการเพื่อเสนอต่อคณะกรรมการกลั่นกรองบทความพิจารณาจัดพิมพ์ในวารสารต่อไป ทั้งนี้บทความที่สามารถเผยแพร่ได้ประกอบด้วยบทความวิจัย ผู้สนใจสามารถศึกษาและจัดเตรียมบทความจากคำแนะนำสำหรับผู้เขียนบทความ
การละเมิดลิขสิทธิ์ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้ส่งบทความโดยตรง บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ต้องผ่านการพิจารณากลั่นกรองคุณภาพจากผู้ทรงคุณวุฒิและได้รับความเห็นชอบจากกองบรรณาธิการ
ข้อความที่ปรากฏภายในบทความของแต่ละบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการเล่มนี้ เป็น ความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่าน ไม่เกี่ยวข้องกับสถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น และคณาจารย์ท่านอื่น ๆ ในสถาบัน แต่อย่างใด ความรับผิดชอบด้านเนื้อหาและการตรวจร่างบทความแต่ละบทความเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะต้องรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว
กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์มิให้นำเนื้อหา ทัศนะ หรือข้อคิดเห็นใด ๆ ของบทความในวารสารสถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น ไปเผยแพร่ก่อนได้รับอนุญาตจากผู้นิพนธ์ อย่างเป็นลายลักษณ์อักษร ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารสถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น
ผู้ประสงค์จะส่งบทความเพื่อตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น สามารถส่ง Online ที่ https://www.tci-thaijo.org/index.php/TNIJournal/ โปรดสมัครสมาชิก (Register) โดยกรอกรายละเอียดให้ครบถ้วนหากต้องการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมที่
- กองบรรณาธิการ วารสารสถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น
- ฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น
เลขที่ 1771/1 สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น ซอยพัฒนาการ 37-39 ถนนพัฒนาการ แขวงสวนหลวง เขตสวนหลวง กรุงเทพมหานคร 10250 ติดต่อกับคุณพิมพ์รต พิพัฒนกุล (02) 763-2752 , คุณจุฑามาศ ประสพสันติ์ (02) 763-2600 Ext. 2402 Fax. (02) 763-2754 หรือ E-mail: JEDT@tni.ac.th
References
N. Atanasova, M. Dalmau, J. Comas, M. Poch, I. Rodriguez-Roda, and G. Buttiglieri, “Optimized MBR for greywater reuse systems in hotel facilities,” Journal of Environmental Management, vol. 193, pp. 503–511, May 2017.
ธีรพงศ์ สว่างรัตน์, “การศึกษาความเป็นไปได้ในการนำกลับน้ำเสียมาใช้ใหม่ในระบบชักโครกด้วยระบบกรองคาร์บอนและฆ่าเชื้อโรคด้วยคลอรีน,” วิทยานิพนธ์ วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (สิ่งแวดล้อม), มหาวิทยาลัยเกษตร ศาสตร์, กรุงเทพฯ, 2551.
“การวิเคราะห์โครงการ,” มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: https://www.stou.ac.th/stouonline/lom/data/sec/Lom14/poll. html. [เข้าถึงเมื่อ: 17-ก.พ.-2560].
A. Marchioni and C. A. Magni, “Investment decisions and sensitivity analysis: NPV-consistency of rates of return,” European Journal of Operational Research, vol. 268, no. 1, pp. 361–372, Jul. 2018.
ทนงศักดิ์ วัฒนา, “เรียนรู้การรีไซเคิลน้ำเพื่อการใช้น้ำที่ยั่งยืน,” วารสารส่งเสริมเทคโนโลยี, ปีที่ 39, ฉบับที่ 225, หน้า 71-74, ตุลาคม-พฤศจิกายน 2555.
I. Petrinic, J. Korenak, D. Povodnik, and C. Hélix-Nielsen, “A feasibility study of ultrafiltration/reverse osmosis (UF/RO)-based wastewater treatment and reuse in the metal finishing industry,” Journal of Cleaner Production, vol. 101, pp. 292–300, Aug. 2015.
J. Garcia-Ivars, L. Martella, M. Massella, C. Carbonell-Alcaina, M.-I. Alcaina-Miranda, and M.-I. Iborra-Clar, “Nanofiltration as tertiary treatment method for removing trace pharmaceutically active compounds in wastewater from wastewater treatment plants,” Water Res., vol. 125, pp. 360–373, Nov. 2017.
A. Suárez, P. Fernández, J. Ramón Iglesias, E. Iglesias, and F. A. Riera, “Cost assessment of membrane processes: A practical example in the dairy wastewater reclamation by reverse osmosis,” Journal of Membrane Science, vol. 493, pp. 389–402, Nov. 2015.
R. Ordóñez, D. Hermosilla, I. S. Pío, and Á. Blanco, “Evaluation of MF and UF as pretreatments prior to RO applied to reclaim municipal wastewater for freshwater substitution in a paper mill: A practical experience,” Chemical Engineering Journal, vol. 166, no. 1, pp. 88–98, Jan. 2011.