การพัฒนาความต้านทานไฟฟ้าของคอนกรีตในช่วงอายุต้นและความสัมพันธ์ที่มีต่อกำลังรับแรงอัด
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการพัฒนาความต้านทานไฟฟ้าของคอนกรีตที่กำลังแข็งตัวในช่วง 3 วันแรก โดยใช้ชุดเครื่องมือวัดความต้านทานไฟฟ้าของคอนกรีตสดที่พัฒนาขึ้น ตัวแปรการทดลองประกอบด้วย 1) อัตราส่วนน้ำต่อวัสดุประสาน 2) การเติมสารซุปเปอร์พลาสติกไซเซอร์ และ 3) การแทนที่ซีเมนต์บางส่วนด้วยซิลิกาฟูม เถ้าลอย และซิลิกาฟูมผสมเถ้าลอย สมบัติของคอนกรีตที่ศึกษา ได้แก่ การพัฒนาความต้านทานไฟฟ้าเป็นฟังก์ชั่นของเวลา และค่ากำลังรับแรงอัดที่อายุ 3 วัน ผลการศึกษาพบว่าโดยภาพรวมเส้นกราฟการพัฒนาความต้านทานไฟฟ้าของคอนกรีตสามารถแบ่งได้เป็น 2 ช่วงหลัก คือ ช่วงก่อตัว (Setting period) ซึ่งค่าความต้านทานไฟฟ้าเปลี่ยนแปลงช้า และช่วงแข็งตัว (Hardening period) ซึ่งค่าความต้านทานไฟฟ้าเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว จุดแบ่งระหว่างสองช่วงนี้ คือจุดที่ค่าความต้านทานไฟฟ้ามีค่าตกต่ำลง เมื่อพิจารณาที่อายุ 3 วัน พบว่าความต้านทานไฟฟ้าของคอนกรีตมีค่าลดลงอย่างมาก เมื่อใช้อัตราส่วนน้ำต่อวัสดุประสานสูงขึ้น และมีค่าลดลงเล็กน้อยเมื่อแทนที่ปูนซีเมนต์บางส่วนด้วยเถ้าลอยและซิลิกาฟูม ในขณะที่ค่าความต้านทานไฟฟ้ามีค่าเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจนเมื่อใช้สารซุปเปอร์พลาสติกไซเซอร์ผสมเพิ่ม โดยภาพรวมกำลังรับแรงอัดที่อายุ 3 วัน แปรผันตรงกับค่าความต้านทานไฟฟ้าที่อายุ 3 วัน จึงมีความเป็นไปได้ที่จะทำนายกำลังรับแรงอัดด้วยการวัดค่าความต้านทานไฟฟ้า
Article Details
นโยบายการรับบทความ
กองบรรณาธิการวารสารสถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น มีความยินดีรับบทความจากอาจารย์ประจำ และผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี ที่เขียนเป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษ ซึ่งผลงานวิชาการที่ส่งมาขอตีพิมพ์ต้องไม่เคยเผยแพร่ในสิ่งพิมพ์อื่นใดมาก่อน และต้องไม่อยู่ในระหว่างการพิจารณาของวารสารอื่นที่นำส่ง ดังนั้นผู้สนใจที่จะร่วมเผยแพร่ผลงานและความรู้ที่ศึกษามาสามารถนำส่งบทความได้ที่กองบรรณาธิการเพื่อเสนอต่อคณะกรรมการกลั่นกรองบทความพิจารณาจัดพิมพ์ในวารสารต่อไป ทั้งนี้บทความที่สามารถเผยแพร่ได้ประกอบด้วยบทความวิจัย ผู้สนใจสามารถศึกษาและจัดเตรียมบทความจากคำแนะนำสำหรับผู้เขียนบทความ
การละเมิดลิขสิทธิ์ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้ส่งบทความโดยตรง บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ต้องผ่านการพิจารณากลั่นกรองคุณภาพจากผู้ทรงคุณวุฒิและได้รับความเห็นชอบจากกองบรรณาธิการ
ข้อความที่ปรากฏภายในบทความของแต่ละบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการเล่มนี้ เป็น ความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่าน ไม่เกี่ยวข้องกับสถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น และคณาจารย์ท่านอื่น ๆ ในสถาบัน แต่อย่างใด ความรับผิดชอบด้านเนื้อหาและการตรวจร่างบทความแต่ละบทความเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะต้องรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว
กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์มิให้นำเนื้อหา ทัศนะ หรือข้อคิดเห็นใด ๆ ของบทความในวารสารสถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น ไปเผยแพร่ก่อนได้รับอนุญาตจากผู้นิพนธ์ อย่างเป็นลายลักษณ์อักษร ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารสถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น
ผู้ประสงค์จะส่งบทความเพื่อตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น สามารถส่ง Online ที่ https://www.tci-thaijo.org/index.php/TNIJournal/ โปรดสมัครสมาชิก (Register) โดยกรอกรายละเอียดให้ครบถ้วนหากต้องการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมที่
- กองบรรณาธิการ วารสารสถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น
- ฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น
เลขที่ 1771/1 สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น ซอยพัฒนาการ 37-39 ถนนพัฒนาการ แขวงสวนหลวง เขตสวนหลวง กรุงเทพมหานคร 10250 ติดต่อกับคุณพิมพ์รต พิพัฒนกุล (02) 763-2752 , คุณจุฑามาศ ประสพสันติ์ (02) 763-2600 Ext. 2402 Fax. (02) 763-2754 หรือ E-mail: JEDT@tni.ac.th
References
ASTM C39 / C39M - 17b, “Standard Test Method for Compressive Strength of Cylindrical Concrete Specimens,” ASTM International: West Conshohocken, PA, 2017.
“Testing Hardened Concrete Compressive Strength of Test Specimens,” BS EN 12390-3, 31-May-2009.
B. Dong, J. Zhang, Y. Wang, G. Fang, Y. Liu, and F. Xing, “Evolutionary trace for early hydration of cement paste using electrical resistivity method,” Construction and Building Materials, vol. 119, pp. 16–20, Aug. 2016.
X. Wei, L. Xiao, and Y. Liao, “Early Age Properties of Cementitious Materials by Electrical Resistivity Measurement,” Journal of Wuhan University of Technology-materials Science Edition., vol. 25, pp. 641–644, Aug. 2010.
L. Xiao and X. Wei, “Early age compressive strength of pastes by electrical resistivity method and maturity method,” Journal of Wuhan University of Technology-materials Science Edition., vol. 26, no. 5, pp. 983–989, Oct. 2011.
X. Wei, L. Xiao, and Z. Li, “Prediction of standard compressive strength of cement by the electrical resistivity measurement,” Construction and Building Materials, vol. 31, pp.341-346, 2012.
ธเนศ ทายะบวร และ มงคล นามลักษณ์, “กำลังอัดและการพัฒนาความต้านทานไฟฟ้าของซีเมนต์มอร์ตาร์ผสมซิลิกาฟูมและเถ้าลอย,” ในเรื่องนวัตกรรมอาคาร, โรงแรม ไมด้า ทวารวดี แกรนด์ นครปฐม, 2559, หน้า 116–124.
Wei Xiaosheng and Li Zongjin, “Early Hydration Process of Portland Cement Paste by Electrical Measurement,” Journal of Materials in Civil Engineering, vol. 18, no. 1, pp. 99–105, Feb. 2006.
i. B. Topçu, T. Uygunoglu, and i. Hocaoglu, “Electrical conductivity of setting cement paste with different mineral admixtures,” Construction and Building Materials, vol. 28, no. 1, pp. 414–420, Mar. 2012.
J. Liu, K. Wang, Q. Zhang, F. Han, J. Sha, and J. Liu, “Influence of superplasticizer dosage on the viscosity of cement paste with low water-binder ratio,” Construction and Building Materials, vol. 149, pp. 359–366, Sep. 2017.
F. Rajabipour and J. Weiss, “Electrical conductivity of drying cement paste,” Materials and Structures, vol. 40, no. 10, pp. 1143–1160, Dec. 2007.
W. Wongkeo, P. Thongsanitgarn, A. Ngamjarurojana, and A. Chaipanich, “Compressive strength and chloride resistance of self-compacting concrete containing high level fly ash and silica fume,” Materials & Design, vol. 64, pp. 261–269, Dec. 2014.
M. B. C. Mangane, R. Argane, R. Trauchessec, A. Lecomte, and M. Benzaazoua, “Influence of superplasticizers on mechanical properties and workability of cemented paste backfill,” Minerals Engineering, vol. 116, pp. 3–14, Jan. 2018.