การปรับปรุงการออกแบบเพื่อแก้ปัญหารอยด่างบนกระจกมองหลังของรถยนต์อีโก้คาร์
Main Article Content
บทคัดย่อ
นับตั้งแต่รถยนต์อีโก้คาร์ได้เปิดตัวออกสู่ตลาดในประเทศก็ได้รับความนิยมอย่างรวดเร็ว เนื่องจากมีราคาถูก และยังประหยัดน้ำมันเชื้อเพิลงซึ่งมีราคาสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่ก็มักจะมีการตั้งคำถามเกี่ยวกับเรื่องคุณภาพของตัวรถอยู่เสมอ ในงานวิจัยนี้ได้หยิบยกปัญหาการเกิดรอยด่างดำบนกระจกมองหลังของรถยนต์อีโก้คาร์รุ่นหนึ่ง ซึ่งเกิดขึ้นหลังจากการใช้งานไประยะเวลาประมาณ 2 เดือน จากการศึกษาโครงสร้างภายในของชุดกระจกมองหลังและลักษณะของรอยด่างที่เกิดขึ้น ตลอดจนเทคนิคการใช้ Energy-dispersive X-ray spectroscopy (EDX) เพื่อยืนยันผลการตรวจสอบพบว่าสาเหตุของปัญหาเกิดจากการใช้ก้อนโฟมยาง Ethylene propylene diene monomer (EPDM) เป็นวัสดุรองรับกระจกเนื่องจากธาตุกำมะภันที่เป็นส่วนประกอบใน EPDM ได้ทำปฏิกิริยากับโลหะเงินซึ่งเคลือบอยู่ด้านหลังแผ่นกระจก ก่อให้เกิดรอบด่างสีดำ ดังนั้นเพื่อที่จะแก้ปัญหาดังกล่าว ผู้วิจัยจึงเสนอให้มีการออกแบบโครงสร้างของกระจกมองหลังใหม่โดยใช้สลักพลาสติกในการรองรับกระจกแทนการใช้ก้อนโฟมยาง EPDM ซึ่งหลังการแก้ไขปัญหาไปแล้วก็ไม่มีปัญหารอยด่างเกิดขึ้นอีกตลอดระยะเวลา 4 เดือน นับจากวันเริ่มใช้กระจกมองหลังแบบใหม่ในสายการผลิต
Article Details
นโยบายการรับบทความ
กองบรรณาธิการวารสารสถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น มีความยินดีรับบทความจากอาจารย์ประจำ และผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี ที่เขียนเป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษ ซึ่งผลงานวิชาการที่ส่งมาขอตีพิมพ์ต้องไม่เคยเผยแพร่ในสิ่งพิมพ์อื่นใดมาก่อน และต้องไม่อยู่ในระหว่างการพิจารณาของวารสารอื่นที่นำส่ง ดังนั้นผู้สนใจที่จะร่วมเผยแพร่ผลงานและความรู้ที่ศึกษามาสามารถนำส่งบทความได้ที่กองบรรณาธิการเพื่อเสนอต่อคณะกรรมการกลั่นกรองบทความพิจารณาจัดพิมพ์ในวารสารต่อไป ทั้งนี้บทความที่สามารถเผยแพร่ได้ประกอบด้วยบทความวิจัย ผู้สนใจสามารถศึกษาและจัดเตรียมบทความจากคำแนะนำสำหรับผู้เขียนบทความ
การละเมิดลิขสิทธิ์ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้ส่งบทความโดยตรง บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ต้องผ่านการพิจารณากลั่นกรองคุณภาพจากผู้ทรงคุณวุฒิและได้รับความเห็นชอบจากกองบรรณาธิการ
ข้อความที่ปรากฏภายในบทความของแต่ละบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการเล่มนี้ เป็น ความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่าน ไม่เกี่ยวข้องกับสถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น และคณาจารย์ท่านอื่น ๆ ในสถาบัน แต่อย่างใด ความรับผิดชอบด้านเนื้อหาและการตรวจร่างบทความแต่ละบทความเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะต้องรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว
กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์มิให้นำเนื้อหา ทัศนะ หรือข้อคิดเห็นใด ๆ ของบทความในวารสารสถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น ไปเผยแพร่ก่อนได้รับอนุญาตจากผู้นิพนธ์ อย่างเป็นลายลักษณ์อักษร ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารสถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น
ผู้ประสงค์จะส่งบทความเพื่อตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น สามารถส่ง Online ที่ https://www.tci-thaijo.org/index.php/TNIJournal/ โปรดสมัครสมาชิก (Register) โดยกรอกรายละเอียดให้ครบถ้วนหากต้องการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมที่
- กองบรรณาธิการ วารสารสถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น
- ฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น
เลขที่ 1771/1 สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น ซอยพัฒนาการ 37-39 ถนนพัฒนาการ แขวงสวนหลวง เขตสวนหลวง กรุงเทพมหานคร 10250 ติดต่อกับคุณพิมพ์รต พิพัฒนกุล (02) 763-2752 , คุณจุฑามาศ ประสพสันติ์ (02) 763-2600 Ext. 2402 Fax. (02) 763-2754 หรือ E-mail: JEDT@tni.ac.th
References
The Thailand Board of Investment. BOI drives a eco-car forward. THAILAND INVESTMENT REVIEW 2007;17:3.
Sarang Gopalakrishnan. Vulcanization and the Properties of Rubber. University of Illinois paper 2007.
ไพฑูรย์ หมายมั่นสมสุข. การวิเคราะห์ซัลไฟด์ในน้ำ. สำนักวิจัยและพัฒนาสิ่งแวดล้อมโรงงาน :11-5.
Douglas Vaughan. ENERGY-DISPERSIVE X-RAY MICROANALYSIS. NORAN Instruments:34-49.
M. van Duin. Chemistry of EPDM Cross-Link. Elastomers and Plastics 2009:151-2.