การหาค่าพารามิเตอร์ที่เหมาะสมสำหรับกระบวนการเชื่อมโลหะด้วยไฟฟ้าแบบใช้ก๊าซคลุมสำหรับเหล็กกล้าไร้สนิมโดยวิธีการออกแบบการทดลอง

Main Article Content

ชนิภา นิวาสานนท์
จันทร์ศิริ สิงห์เถื่อน

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อกำหนดค่าพารามิเตอร์ที่เหมาะสมในกระบวนการเชื่อมโลหะด้วยไฟฟ้าแบบใช้ก๊าซคลุมสำหรับชิ้นงาน Webbing Bar Assy ซึ่งเป็นชิ้นส่วนอุปกรณ์ยึดติดเข็มขัดนิรภัยในรถยนต์เพื่อลดจำนวนชิ้นงานที่มีระยะซึมลึกไม่สมบูรณ์ลง ด้วยเทคนิคการออกแบบการทดลอง โดยพิจารณาปัจจัยที่อาจก่อให้เกิดปัญหาซึมลึกไม่ได้ตามค่าพิกัด 3 ปัจจัย ได้แก่ กระแสไฟฟ้า แรงดันไฟฟ้า และอัตราเร็วในการเชื่อม จากนั้นจึงออกแบบการทดลอง โดยใช้การทดลองแบบ 23 แฟคทอเรียลเต็มรูป ทำซ้ำ 2 ครั้ง ทดลองครั้งละ 10 ชิ้นงาน ค่าตัวแปรตอบสนองคือ จำนวนชิ้นงานที่มีระยะซึมลึกไม่สมบูรณ์ จากการทดลองพบว่าควรตั้งกระแสไฟฟ้า 150 แอมแปร์ แรงดันไฟฟ้า 18 โวลต์ และอัตราเร็วในการเชื่อม 30 เซนติเมตรต่อนาที จึงจะทำให้สามารถลดจำนวนชิ้นงานที่มีระยะซึมลึกไม่สมบูรณ์ลงได้มากที่สุด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

พิคิด ดวงมาลา. 2549. การหาค่าพารามิเตอร์ที่เหมาะสมที่สุดสำหรับวิธีการเชื่อมโลหะด้วยไฟฟ้าแบบใช้ก๊าซคลุมสำหรับเหล็กกล้าเอสที 37 โดยวิธีพื้นผิวตอบสนองใ วิทยานิพนธ์ปริญญาโท. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

วรเชษฐ์ หวานเสียง. 2553. เงื่อนไขที่เหมาะสมที่สุดเพื่อลดจำนวนโลหะบนชื้นงานสำหรับกระบวนการเชื่อมโลหะด้วยไฟฟ้าแบบใช้ก๊าซคลุม. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

สุวิช จันทรกรอง. 2554. อิทธีพลของพารามิเตอร์การเชื่อมต่อ สมบัติทางกลและโครงสร้างทางจุลภาคของการเชื่อมโลหะต่างชนิด หเล็กกล้าไร้สนิมออสเตนเนติค (AISI 304) กับเหล็กกล้าไร้สนิมดูเพล็กซ์ (AISI 2205) วิทยานิพนธ์ปริญญาโท, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเหล้าธนบุรี

E.M El-Banna. 1999. Effect of preheat on welding of ductile cast iron. Materials Letter 41 : 20-26

P.J. Maziasz, G.M. Goodwin, C.T. Liu, and S.A. David. 1992. Effects of minor alloying elements on the welding behavior of Feal alloys for structural and weld-overlay cladding applications. Scripta Metallurgica et Materialia 27 : 1835-1840