การพัฒนาวิธี Semi-Nested PCR เพื่อใช้ในการตรวจหา Demodex folliculorum และ D. brevis
Main Article Content
บทคัดย่อ
ไร Demodex จัดเป็นปรสิตภายนอก อาศัยในรูขุมขน มีขนาดเล็ก ซึ่งสามารถพบไรนี้ได้สองสายพันธุ์ในมนุษย์ คือ demodex folliculorum และ D. brevis ไรทั้งสองชนิดสามารถแยกกันโดยดูลักษณะภายนอกในระยะตัวเต็มวัย แต่ในระยะอื่นโดยเฉพาะ ไข่ ตัวอ่อนไม่สามารถแยกความแตกต่างได้ ทำให้มีปัญหาในการศึกษาทางระบาดวิทยา งานวิจัยนี้จึงได้นำเทคนิคทางอณุชีววิทยามาใช้ในการตรวจหา และจำแนกสายพันธุ์ของไร Demodex ที่พบในมนุษย์ ซึ่งได้ทำการออกแบบไพร์เมอร์ที่มีความจำเพราะต่อยีน 18SrRNA โดยที่ยีนตำแหน่งนี้นิยมใช้ในการศึกษาสายวิวัฒนาการในปรสิตจำพวกไร (Acari) เนื่องจากมีความหลากหลายทางพันธุกรรมสูง โดยทำการสกัดดีเอ็นเอจากผิวหนังและเพิ่มปริมาณ DNA ด้วยเทคนิค Semi-Nested PCR ซึ่งจากผลการทดลองสามารถจำแนกไร Demodex ทั้งสองสายพันธุ์ได้และผลของผลิตภัณฑ์ PCR ที่มีความแตกต่างกันโดย D.folliculorum ให้ผลิตภัณฑ์ PCR ประมาณ 382 bp และ D.brevis ให้ผลิตภัณฑ์ PCR ประมาณ 317 bp งานวิจัยนี้จะมีประโยชน์พื้นฐานในการพัฒนาศึกษาจำแนกสายพันธุ์ของไร Demodex ได้ถูกต้องแม่นยำและศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมของเชื้อ Demodex และเพื่อการศึกษาทางระบาดวิทยาต่อไปในอนาคต ซึ่งรายงานเป็นการศึกษาครั้งแรกในการนำวิธีทางอณูชีววิทยามาใช้ในการศึกษาไร Demodex ที่พบในมนุษย์ในประเทศไทย
Article Details
นโยบายการรับบทความ
กองบรรณาธิการวารสารสถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น มีความยินดีรับบทความจากอาจารย์ประจำ และผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี ที่เขียนเป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษ ซึ่งผลงานวิชาการที่ส่งมาขอตีพิมพ์ต้องไม่เคยเผยแพร่ในสิ่งพิมพ์อื่นใดมาก่อน และต้องไม่อยู่ในระหว่างการพิจารณาของวารสารอื่นที่นำส่ง ดังนั้นผู้สนใจที่จะร่วมเผยแพร่ผลงานและความรู้ที่ศึกษามาสามารถนำส่งบทความได้ที่กองบรรณาธิการเพื่อเสนอต่อคณะกรรมการกลั่นกรองบทความพิจารณาจัดพิมพ์ในวารสารต่อไป ทั้งนี้บทความที่สามารถเผยแพร่ได้ประกอบด้วยบทความวิจัย ผู้สนใจสามารถศึกษาและจัดเตรียมบทความจากคำแนะนำสำหรับผู้เขียนบทความ
การละเมิดลิขสิทธิ์ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้ส่งบทความโดยตรง บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ต้องผ่านการพิจารณากลั่นกรองคุณภาพจากผู้ทรงคุณวุฒิและได้รับความเห็นชอบจากกองบรรณาธิการ
ข้อความที่ปรากฏภายในบทความของแต่ละบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการเล่มนี้ เป็น ความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่าน ไม่เกี่ยวข้องกับสถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น และคณาจารย์ท่านอื่น ๆ ในสถาบัน แต่อย่างใด ความรับผิดชอบด้านเนื้อหาและการตรวจร่างบทความแต่ละบทความเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะต้องรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว
กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์มิให้นำเนื้อหา ทัศนะ หรือข้อคิดเห็นใด ๆ ของบทความในวารสารสถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น ไปเผยแพร่ก่อนได้รับอนุญาตจากผู้นิพนธ์ อย่างเป็นลายลักษณ์อักษร ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารสถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น
ผู้ประสงค์จะส่งบทความเพื่อตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น สามารถส่ง Online ที่ https://www.tci-thaijo.org/index.php/TNIJournal/ โปรดสมัครสมาชิก (Register) โดยกรอกรายละเอียดให้ครบถ้วนหากต้องการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมที่
- กองบรรณาธิการ วารสารสถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น
- ฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น
เลขที่ 1771/1 สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น ซอยพัฒนาการ 37-39 ถนนพัฒนาการ แขวงสวนหลวง เขตสวนหลวง กรุงเทพมหานคร 10250 ติดต่อกับคุณพิมพ์รต พิพัฒนกุล (02) 763-2752 , คุณจุฑามาศ ประสพสันติ์ (02) 763-2600 Ext. 2402 Fax. (02) 763-2754 หรือ E-mail: JEDT@tni.ac.th
References
Lacy N, Kavanagh K, Tseng SC. 2009. Under the lash: Demodex mites in human diseases. Biochem (Lond) 31(4): 2-6
Baima B, Sticherling M. 2002. Demodicidosis revisited. Acta Derm Venereol 82(1): 3-6
Andrews JR. 1982. The prevalence of hair follicle mites in
Caucasian New Zealanders. N Z Med J 95(711): 451-3
Aylesworth R, Vance JC. 1982. Demodex folliculorum and Demodex brevis in cutaneous biopsies. J Am Acad Dermatol 7(5): 583-9
Damian D, Rogers M. 2003. Demodex infestation in a child with leukaemia : treatment with ivermectin and permethrin. Int J Dermatol 42(9): 724-6.
Daberta M, Witalinskib W, Kazmierskic A, Olazanowshi Z, Dabert J. 2010. Molecular phylogeny of acariform motes (Acari, Arachnida): strong conflict between phylogenetic signal and long-branch attraction artfacts. Mol Phylogenet Evol 56: 222-41.
Murrell A, Dobson SJ, Walter DE, Campbell NJH, Shao R, Barker SC. 2005. Relationships among the three major lineages of the Acari (Arthropoda: Arachnida) inferred from small subunit rRNA: paraphyly of the parasitifomes with respect to the Opilioacariformes and relative rates of nucleotide substitution, Invert Syst 19: 383-9.
Zhao Ye, Xu JR, Hu L, Wu LP, Wang ZH. 2012. Complete sequence analysis of 18S rDNA based on genomic DNA extraction from individual Demodex mites (Acari: Demodicidae). Exp Parasitol 131(1): 45-51.
T. Maniatis, E.F. Fritsch, J. Sambrook, Molecular Cloning: A Laboratory Manual, 3rd ed., Cold Spring Harbor Laboratory Press, Cold Spring Harbor, NY, 2001, 5.40.
S. Kumar, K. Tamura, M. Nei, MEGA3: Integrated software for Molecular Evolutionary Genetics Analysis and sequence alignment. Brief Bioinform, 2004, 5(2): 150-63.