การพัฒนากระบวนการผลิตเส้นด้ายจากใบอ้อย
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนสกัดเส้นใยใบอ้อย ปริมาณฝ้ายที่เหมาะสมในการผลิตเส้นด้าย การศึกษากระบวนการสกัดเส้นใย ปัจจัยที่ศึกษา มี 2 ปัจจัย คือ ปริมาณโซเดียมไฮดรอกไซด์ แปรเป็น 4 ระดับ คือ ร้อยละ 0.1 0.2 0.3 และ 0.4 ของน้ำหนักใบอ้อยสด และเวลาในการต้ม แปรเป็น 3 ระดับ 30 60 และ 90 นาที วางแผนการทดลองแบบ Factorial in CRD ส่วนการศึกษาปริมาณฝ้ายที่เหมาะสมในการผลิตเส้นด้าย ปัจจัยที่ทำการศึกษา คือ ปริมาณฝ้ายที่นำมาปั่นผสม แปรเป็น 5 ระดับ คือ ร้อยละ 10 20 30 40 และ 50 ผลการทดลองพบว่า กระบวนการสกัดเส้นใยใบอ้อยที่ให้ (% yield) สูงสุด (P<0.05) คือ ปริมาณโซเดียมไฮดรอกไซด์ 0.4 ของน้ำหนักใบอ้อยสด และต้มนาน 90 นาที ส่วนปริมาณฝ้ายที่เหมาะสมในการผลิตเส้นด้ายจากใบอ้อย คือ ร้อยละ 30 เส้นด้ายที่ได้มีค่าความสม่ำเสมอ อยู่ในระดับ Grade F ความยืดตัวก่อนขาดร้อยละ 11.38 ความแข็งแรงและแรงดึงขาด 4.24 นิวตัน เบอร์ของเส้นด้าย 0.94 เท็กซ์ และจำนวนเกลียวของเส้นด้าย 9.3 tpi
Article Details
นโยบายการรับบทความ
กองบรรณาธิการวารสารสถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น มีความยินดีรับบทความจากอาจารย์ประจำ และผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี ที่เขียนเป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษ ซึ่งผลงานวิชาการที่ส่งมาขอตีพิมพ์ต้องไม่เคยเผยแพร่ในสิ่งพิมพ์อื่นใดมาก่อน และต้องไม่อยู่ในระหว่างการพิจารณาของวารสารอื่นที่นำส่ง ดังนั้นผู้สนใจที่จะร่วมเผยแพร่ผลงานและความรู้ที่ศึกษามาสามารถนำส่งบทความได้ที่กองบรรณาธิการเพื่อเสนอต่อคณะกรรมการกลั่นกรองบทความพิจารณาจัดพิมพ์ในวารสารต่อไป ทั้งนี้บทความที่สามารถเผยแพร่ได้ประกอบด้วยบทความวิจัย ผู้สนใจสามารถศึกษาและจัดเตรียมบทความจากคำแนะนำสำหรับผู้เขียนบทความ
การละเมิดลิขสิทธิ์ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้ส่งบทความโดยตรง บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ต้องผ่านการพิจารณากลั่นกรองคุณภาพจากผู้ทรงคุณวุฒิและได้รับความเห็นชอบจากกองบรรณาธิการ
ข้อความที่ปรากฏภายในบทความของแต่ละบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการเล่มนี้ เป็น ความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่าน ไม่เกี่ยวข้องกับสถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น และคณาจารย์ท่านอื่น ๆ ในสถาบัน แต่อย่างใด ความรับผิดชอบด้านเนื้อหาและการตรวจร่างบทความแต่ละบทความเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะต้องรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว
กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์มิให้นำเนื้อหา ทัศนะ หรือข้อคิดเห็นใด ๆ ของบทความในวารสารสถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น ไปเผยแพร่ก่อนได้รับอนุญาตจากผู้นิพนธ์ อย่างเป็นลายลักษณ์อักษร ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารสถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น
ผู้ประสงค์จะส่งบทความเพื่อตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น สามารถส่ง Online ที่ https://www.tci-thaijo.org/index.php/TNIJournal/ โปรดสมัครสมาชิก (Register) โดยกรอกรายละเอียดให้ครบถ้วนหากต้องการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมที่
- กองบรรณาธิการ วารสารสถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น
- ฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น
เลขที่ 1771/1 สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น ซอยพัฒนาการ 37-39 ถนนพัฒนาการ แขวงสวนหลวง เขตสวนหลวง กรุงเทพมหานคร 10250 ติดต่อกับคุณพิมพ์รต พิพัฒนกุล (02) 763-2752 , คุณจุฑามาศ ประสพสันติ์ (02) 763-2600 Ext. 2402 Fax. (02) 763-2754 หรือ E-mail: JEDT@tni.ac.th
References
“อ้อย,” 2557. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: https://www.kanchanapisek.or.th
สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย, “รายงานพื้นที่ปลูกอ้อยประจำปีการผลิต 2555-56, 2556. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: https://www.ocsb.go.th/upload/journal/fileupload/923-2469.pdf
ละอองดาว แสงหล้า, “ผลกระทบจากการเผาใบอ้อยและแนวทางแก้ไข,”การจัดการสิ่งแวดล้อม, ปีที่ 2, ฉบับที่ 1, หน้า 85-102, 2548.
สุเมธ พรมจักร, ปาริตา เขื่อนเพชร, และจุฑามาศ ฟูคำ, การพัฒนาเส้นด้ายจากฟางข้าวไทย. ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี, 2556.
เสาวนีย์ อารีย์จงเจริญ, นฤพน ไพศาลตันติวงศ์, รัตนพล มงคลรัตนาสิทธิ์, และสาคร ชลสาคร. “การพัฒนาสิ่งทอจากเส้นใยตะไคร้,” 2555. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: https://repository.rmutp.ac.th/bitstream/
สมพรวาสะสิริ, “ผืนผ้าจากเส้นใยผักตบชวาผสมด้ายฝ้าย,” วารสารศิลปกรรมศาสตร์วิชาการ วิจัย และงานสร้างสรรค์ราชมงคลธัญบุรี, ปีที่ 2, ฉบับที่ 1, หน้า 210–227, 2558.
สาคร ชลสาคร, “การผลิตเส้นด้ายและผืนผ้าจากใยไผ่,” 2552. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: https://library.dip.go.th/multim6/edoc/18727.pdf.
อัจฉริยา ม่วงพานิล, “การผลิตเส้นด้ายก้านโหม่งจาก,” วิทยานิพนธ์ คศ.ม. (เทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์), มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี, ปทุมธานี, 2556.