การหาพารามิเตอร์ที่เหมาะสมในกระบวนการผลิตอุปกรณ์เช็คระดับน้ำมัน โดยใช้เทคนิคการออกแบบการทดลองเชิงวิศวกรรม
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาการลดของเสียในกระบวนการฉีดขึ้นรูปพลาสติก โดยใช้เทคนิคการออกแบบการทดลองเชิงวิศวกรรม (DOE) การศึกษาเบื้องต้นพบว่าอุปกรณ์เช็คระดับน้ำมันชิ้นงานฉีดไม่เต็มตามข้อกำหนดของการผลิต เกิดจากพลาสติกที่ฉีดเข้าไปในแม่พิมพ์เกิดการแข็งตัวก่อนที่จะเต็มแม่พิมพ์ เนื่องจากสภาวะของเครื่องจักรไม่คงที่ ได้แก่ แรงดันฉีดพลาสติก (P) กิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตร (kg/cm2), เวลาในการฉีดพลาสติก (T) วินาที (sec) และความเร็วในการฉีด (S) มิลลิเมตรต่อวินาที (mm/s) จากนั้นเลือกใช้การออกแบบการทดลองด้วยวิธีการออกแบบส่วนประสมกลาง เพื่อหาสภาวะที่เหมาะสมของพารามิเตอร์ ใช้พารามิเตอร์ในการทดลอง ดังนี้ แรงดันฉีดพลาสติก (P) 966, 1000, 1050, 1100, 1134 เวลาในการฉีดพลาสติก (T) 17, 20, 25, 30, 33 และความเร็วในการฉีด (S) 13, 15, 18, 20, 22 จึงได้ค่าพารามิเตอร์ที่เหมาะสม คือ แรงดันในการฉีดพลาสติก (P) = 1022 kg/cm2 เวลาที่ใช้ในการฉีดพลาสติก (T) = 32 sec ความเร็วในการฉีด (S) = 17 mm/s เมื่อนำพารามิเตอร์ที่เหมาะสมเหล่านี้มาดำเนินการผลิตจริง พบว่าสามารถลดปริมาณของเสียจากเดิมร้อยละ 2.27 เหลือร้อยละ 1.68 และสามารถลดต้นทุนต่อหน่วยลงจากเดิม 5 บาทต่อชิ้น เหลือ 4.27 บาทต่อชิ้น
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
นโยบายการรับบทความ
กองบรรณาธิการวารสารสถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น มีความยินดีรับบทความจากอาจารย์ประจำ และผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี ที่เขียนเป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษ ซึ่งผลงานวิชาการที่ส่งมาขอตีพิมพ์ต้องไม่เคยเผยแพร่ในสิ่งพิมพ์อื่นใดมาก่อน และต้องไม่อยู่ในระหว่างการพิจารณาของวารสารอื่นที่นำส่ง ดังนั้นผู้สนใจที่จะร่วมเผยแพร่ผลงานและความรู้ที่ศึกษามาสามารถนำส่งบทความได้ที่กองบรรณาธิการเพื่อเสนอต่อคณะกรรมการกลั่นกรองบทความพิจารณาจัดพิมพ์ในวารสารต่อไป ทั้งนี้บทความที่สามารถเผยแพร่ได้ประกอบด้วยบทความวิจัย ผู้สนใจสามารถศึกษาและจัดเตรียมบทความจากคำแนะนำสำหรับผู้เขียนบทความ
การละเมิดลิขสิทธิ์ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้ส่งบทความโดยตรง บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ต้องผ่านการพิจารณากลั่นกรองคุณภาพจากผู้ทรงคุณวุฒิและได้รับความเห็นชอบจากกองบรรณาธิการ
ข้อความที่ปรากฏภายในบทความของแต่ละบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการเล่มนี้ เป็น ความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่าน ไม่เกี่ยวข้องกับสถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น และคณาจารย์ท่านอื่น ๆ ในสถาบัน แต่อย่างใด ความรับผิดชอบด้านเนื้อหาและการตรวจร่างบทความแต่ละบทความเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะต้องรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว
กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์มิให้นำเนื้อหา ทัศนะ หรือข้อคิดเห็นใด ๆ ของบทความในวารสารสถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น ไปเผยแพร่ก่อนได้รับอนุญาตจากผู้นิพนธ์ อย่างเป็นลายลักษณ์อักษร ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารสถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น
ผู้ประสงค์จะส่งบทความเพื่อตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น สามารถส่ง Online ที่ https://www.tci-thaijo.org/index.php/TNIJournal/ โปรดสมัครสมาชิก (Register) โดยกรอกรายละเอียดให้ครบถ้วนหากต้องการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมที่
- กองบรรณาธิการ วารสารสถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น
- ฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น
เลขที่ 1771/1 สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น ซอยพัฒนาการ 37-39 ถนนพัฒนาการ แขวงสวนหลวง เขตสวนหลวง กรุงเทพมหานคร 10250 ติดต่อกับคุณพิมพ์รต พิพัฒนกุล (02) 763-2752 , คุณจุฑามาศ ประสพสันติ์ (02) 763-2600 Ext. 2402 Fax. (02) 763-2754 หรือ E-mail: JEDT@tni.ac.th
References
P. Puangdee and J. Ngaoprasertwong, “Loss reduction in injection molding machine setup in car seats (factory case study),” (in Thai), in Proc. 39th Conf. Indus. Eng. Netw., Songkhla, Thailand, May 2021, pp. 585–591.
S. Mekboon and J. Plongmai, “Defects reduction in metal parts production process,” (in Thai), Kasem Bundit Eng. J., vol. 6, no. 1, pp. 91–106, 2016.
M. Vanichdee, W. Saleekongchai, and J. Pradabwong, “Parameter design for reducing the defects of the flow marks in plastic injection molding process,” (in Thai), APHEIT J., vol. 9, no. 1, pp. 32–45, 2020.
S. Tangjitsitcharoen, “Reduction of void defective proportion in microchip molding process,” (in Thai), J. King Mongkut's Univ. Technol. North Bangkok, vol. 22, no. 3, pp. 610–621, 2012.
C. Laosutsan, “Design of experimental to improve quality in the plastic injection process: A case study of a plastic injection factory,” (in Thai), M.S. thesis, Dept. Indus. Eng., Kasetsart Univ., Bangkok, Thailand, 2005.
P. Sudasna Na Ayudthaya and P. Luangpaiboon, Design and Analysis of Experiments. Bangkok, Thailand: Top Publishing (in Thai), 2008.
P. Palaphan, Statistical Data Analysis and Management with Minitab. Nonthaburi, Thailand: IDC Premier (in Thai), 2017.
M. Phipatpaiboon and P. Hongsakornprasert, “Defects reduction in a tractor peripheral equipment manufacturing plant using design of experiments technique,” (in Thai), in Proc. 12th Naresuan Res. Conf.: Res. and Inno. Nat. Develop., Phitsanulok, Thailand, Jul. 2016, pp. 318–329.
P. Homsri and J. Kongthana, “Design of experiments (DOE) to reduce waste in plastic injection process of automotive parts,” (in Thai), Kasem Bundit Eng. J., vol. 3, no. 2, pp. 73–95, Dec. 2013.
S. Rassamee, P. Srisatyakul, and S. Siwawut, “Optimization of conditions for strength in bagasse-reinforced concrete forming,” (in Thai) in Proc. 3rd Conf. Rajamangala Manuf. and Manag. Technol., Krabi, Thailand, May 2018, pp. 314–318.