การวิเคราะห์การแพร่กระจายของโรคด้วยแบบจำลองทางคณิตศาสตร์สำหรับโรคปากและเท้าเปื่อยในประเทศไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
โรคปากและเท้าเปื่อยเป็นโรคที่ติดต่อที่เกิดขึ้นในสัตว์พบว่ามีการแพร่ระบาดได้ในช่วงปลายฝนต้นหนาวของทุกปี ซึ่งเกิดจากเชื้อไวรัสแอฟโท มีทั้งหมด 7 ชนิดคือ ชนิด A, O, C, SAT 1, SAT 2, SAT 3 และ Asia 1 สำหรับในประเทศไทยพบเพียง 3 ชนิด คือ ชนิด A, O และ Asia 1 ไวรัสชนิดนี้ถูกพบได้ในสารคัดหลั่งในสัตว์ที่มีการติดเชื้อและยังพบได้ในน้ำนมและน้ำเชื้อในสัตว์ติดเชื้อ ด้วยเล็งเห็นความสำคัญของสถานการณ์การระบาดของโรค ผู้วิจัยจึงได้ทำการศึกษาปัญหาจากข้อมูลรายงานสถานการณ์การระบาดของโรคปากและเท้าเปื่อยในช่วงปี พ.ศ. 2556–2565 พร้อมทั้งวิเคราะห์และหาวิธีการแก้ปัญหา โดยการสร้างแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ของโรคปากและเท้าเปื่อย พิจารณาหาจุดสมดุลของแบบจำลองและพิจารณาหาผลเฉลยเชิงตัวเลข พร้อมทั้งหาเงื่อนไขที่ทำให้เกิดความเสถียรภาพภายในของจุดสมดุลภายใต้สภาวะการระบาดไร้โรค และสภาวะการระบาดเรื้อรัง แล้วนำมาแสดงในรูปแบบของค่าสืบพันธุ์พื้นฐาน ซึ่งผลลัพธ์เชิงตัวเลขนำมาวิเคราะห์การควบคุมของโรค และเป็นแนวทางสำหรับลดการระบาดของโรคปากและเท้าเปื่อย
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
นโยบายการรับบทความ
กองบรรณาธิการวารสารสถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น มีความยินดีรับบทความจากอาจารย์ประจำ และผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี ที่เขียนเป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษ ซึ่งผลงานวิชาการที่ส่งมาขอตีพิมพ์ต้องไม่เคยเผยแพร่ในสิ่งพิมพ์อื่นใดมาก่อน และต้องไม่อยู่ในระหว่างการพิจารณาของวารสารอื่นที่นำส่ง ดังนั้นผู้สนใจที่จะร่วมเผยแพร่ผลงานและความรู้ที่ศึกษามาสามารถนำส่งบทความได้ที่กองบรรณาธิการเพื่อเสนอต่อคณะกรรมการกลั่นกรองบทความพิจารณาจัดพิมพ์ในวารสารต่อไป ทั้งนี้บทความที่สามารถเผยแพร่ได้ประกอบด้วยบทความวิจัย ผู้สนใจสามารถศึกษาและจัดเตรียมบทความจากคำแนะนำสำหรับผู้เขียนบทความ
การละเมิดลิขสิทธิ์ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้ส่งบทความโดยตรง บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ต้องผ่านการพิจารณากลั่นกรองคุณภาพจากผู้ทรงคุณวุฒิและได้รับความเห็นชอบจากกองบรรณาธิการ
ข้อความที่ปรากฏภายในบทความของแต่ละบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการเล่มนี้ เป็น ความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่าน ไม่เกี่ยวข้องกับสถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น และคณาจารย์ท่านอื่น ๆ ในสถาบัน แต่อย่างใด ความรับผิดชอบด้านเนื้อหาและการตรวจร่างบทความแต่ละบทความเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะต้องรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว
กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์มิให้นำเนื้อหา ทัศนะ หรือข้อคิดเห็นใด ๆ ของบทความในวารสารสถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น ไปเผยแพร่ก่อนได้รับอนุญาตจากผู้นิพนธ์ อย่างเป็นลายลักษณ์อักษร ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารสถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น
ผู้ประสงค์จะส่งบทความเพื่อตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น สามารถส่ง Online ที่ https://www.tci-thaijo.org/index.php/TNIJournal/ โปรดสมัครสมาชิก (Register) โดยกรอกรายละเอียดให้ครบถ้วนหากต้องการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมที่
- กองบรรณาธิการ วารสารสถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น
- ฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น
เลขที่ 1771/1 สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น ซอยพัฒนาการ 37-39 ถนนพัฒนาการ แขวงสวนหลวง เขตสวนหลวง กรุงเทพมหานคร 10250 ติดต่อกับคุณพิมพ์รต พิพัฒนกุล (02) 763-2752 , คุณจุฑามาศ ประสพสันติ์ (02) 763-2600 Ext. 2402 Fax. (02) 763-2754 หรือ E-mail: JEDT@tni.ac.th
References
Bureau of Disease Control and Veterinary Services, Department of Livestock Development, “Epidemic Situation,” (in Thai), 2022. [Online]. Available: http://esmartsur.net/Report_Situation.aspx
T. Yano et al., “Foot and Mouth Disease outbreak in Chiang Mai and Lamphun Area during 2007-2011,” (in Thai), Chiang Mai Vet. J., vol. 11, no. 3, pp. 277–287, 2013.
M. J. Keeling, “Models of foot-and-mouth disease,” Proc. Biol. Sci., vol. 272, no. 1569, pp. 1195–1202, Jun. 2005, doi: 10.1098/rspb.2004.3046.
S. Mushayabasa, C. P. Bhunu, and M. Dhlamini, “Impact of vaccination and culling on controlling foot and mouth disease: A mathematical modelling approach,” World J. Vaccines, vol. 1, no. 4, pp. 156–161, Nov. 2011, doi: 10.4236/wjv.2011.14016.
T. Chanchaidechachai, M. C. M. de Jong, and E. A. J. Fischer, “Spatial model of foot-and-mouth disease outbreak in an endemic area of Thailand,” Prev. Vet. Med., vol. 195, Oct. 2021, Art. no. 105468.
S. Mushayabasa, D. Posny, and J. Wang, “Modeling the intrinsic dynamics of foot-and-mouth disease,” Math. Biosci. Eng., vol. 13, no. 2, pp. 425–442, Apr. 2016, doi: 10.3934/mbe.2015010.
M. Kobayashi, T. E. Carpenter, B. F. Dickey, and R. E. Howitt, “A dynamic, optimal disease control model for foot-and-mouth-disease: II. Model results and policy implications,” Prev. Vet. Med., vol. 79, no.2-4, pp. 274–286, May 2007, doi: 10.1016/j.prevetmed.2007.01.001.
W. J. Klaring and W. Timischl, “Mathematical models for the spread and control of foot-and-mouth disease during the 1973 epidemic in Austria,” Biom. J., vol. 21, no. 7, pp. 675–680, 1979, doi: 10.1002/bimj.4710210711.
F. Mugabi, J. Mugisha, B. Nannyonga, H. Kasumba, and M. Tusiime, “Parameter-dependent transmission dynamics and optimal control of foot and mouth disease in a contaminated environment,” J. Egypt. Math. Soc., vol. 27, Dec. 2019, Art. no. 53. doi: 10.1186/s42787-019-0058-1.
A. H. Cabezas, M. W. Sanderson, and V. V. Volkova, “A meta-population model of potential foot-and-mouth disease transmission, clinical manifestation and detection within U.S. Beef Feedlots,” Front. Vet. Sci., vol. 7, Sep. 2020, Art. no. 527558, doi: 10.3389/fvets.2020.527558.
L. Edelstein-Keshet, Mathematical Models in Biology. New York, NY, USA: Random House, 1998.
K. Abodayeh, M. S. Arif, A. Raza, M. Rafiq, M. Bibi, and A. Nazeer, “Numerical techniques for stochastic foot and mouth disease epidemic model with the impact of vaccination,” Adv. Differ. Equ., Jan. 2020, Art. no. 34.
P. G. Smith, “Concepts of herd protection and immunity,” Proc. Vaccinol., vol. 2, no. 2, pp. 134–139, 2010.
T. Changpuek, P. Pongsumpun, and I. M. Tang, “Analysis of mathematical model for swine flu transmission by age group,” Far East J. Math. Sci. (FJMS), vol. 73, no. 2, pp. 201–229, 2013.
W. Mumtong, P. Pongsumpun, and I. M. Tang, “Analysis of model for menstrual cycle with the effect of body mass index,” Far East J. Math. Sci. (FJMS), vol. 93, no. 2, pp. 243–266, 2014.