การจัดการวัสดุคงคลังประเภทบรรจุภัณฑ์สำหรับวงจรรวม ในกรณีกลุ่มผลิตภัณฑ์ที่มีความต้องการหลากหลาย
คำสำคัญ:
การจัดการวัสดุคงคลัง, รูปแบบความต้องการ, นโยบายวัสดุคงคลัง, ระดับการให้บริการบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการจัดการวัสดุคงคลังของกลุ่มบรรจุภัณฑ์ (Packaging) จำนวน 24 รายการที่มีการควบคุมดูแลแบบต่อเนื่อง (Continuous Review) ของโรงงานเซมิคอนดักเตอร์กรณีศึกษาแห่งหนึ่ง โดยการกำหนดนโยบายวัสดุคงคลังที่เหมาะสมสำหรับวัสดุคงคลังแต่ละรายการ เพื่อลดค่าใช้จ่ายรวมอันประกอบด้วย ค่าใช้จ่ายในการสั่งซื้อ และค่าใช้จ่ายในการจัดเก็บ โดยที่ยังสามารถรักษาระดับการให้บริการที่ 95% ตามกลยุทธ์ของโรงงานไว้ได้ โดยงานวิจัยนี้เริ่มต้นจากการศึกษาข้อมูลของวัสดุคงคลัง ข้อมูลการสั่งซื้อ เงื่อนไขการสั่งซื้อ และข้อจำกัดต่าง ๆ ในการสั่งซื้อ จากนั้นจึงทำการวิเคราะห์รูปแบบความต้องการ (Demand Pattern) ของวัสดุคงคลังแต่ละรายการ พบว่าสามารถแบ่งแยกรูปแบบ ความต้องการออกเป็น 2 รูปแบบ ได้แก่ 1. Smooth Demand 2. Erratic Demand จากนั้น จึงกำหนดนโยบายวัสดุคงคลังตามรูปแบบของความต้องการ โดยมีแนวคิดในการออกแบบนโยบายวัสดุคงคลังคือสามารถสั่งเติมวัสดุคงคลังได้เสมอ เนื่องจากรูปแบบการตรวจสอบวัสดุคงคลังเป็นแบบต่อเนื่อง ซึ่งในที่นี้ได้นำเสนอนโยบายของกลุ่มที่มีความต้องการแบบ Smooth Demand คือ Re-Order Point (ROP) และ Erratic Demand ผู้วิจัยประยุกต์ใช้นโยบายแบบจำลองจุดสั่งซื้อ-ระดับสั่งซื้อ หรือ (s, S) สำหรับการกำหนดจุดสั่งซื้อและการกำหนดระดับวัสดุคงคลังสำรอง
ผลการดำเนินงานวิจัยจากการกำหนดนโยบายสั่งซื้อที่เหมาะสม จากการทดสอบด้วยข้อมูล 2 ปี ได้แก่ ปี 2019 และปี 2020 พบว่า ค่าใช้จ่ายรวมของวัสดุคงคลังปี 2019 ลดลงจาก 111,832 เหรียญสหรัฐฯต่อปี เป็น 46,288 เหรียญสหรัฐฯ ต่อปี คิดเป็น 58.61% และปี 2020 ค่าใช้จ่ายรวมลดลงจาก 132,886 เหรียญสหรัฐฯ เป็น 51,404 เหรียญสหรัฐฯ คิดเป็น 64.29% โดยที่ยังสามารถคงระดับการให้บริการแบบ Fill Rate ของปี 2019 และปี 2020 เฉลี่ยต่อปีอยู่ที่ร้อยละ 95.13% และ 95.36% ตามลำดับ นอกจากนี้ผู้วิจัยได้ทำการทดสอบความคงทนของนโยบายใหม่โดยการทดสอบความไวต่อการเปลี่ยนแปลงความต้องการ ในสถานการณ์ที่ความต้องการลดลงจากเดิม 50% ซึ่งเป็นสถานการณ์ที่เลวร้ายที่สุดของโรงงานกรณีศึกษา พบว่ามีการเปลี่ยนแปลงค่าใช้จ่ายรวมประมาณ 13% แต่ยังคงสามารถรักษาระดับการให้บริการที่ 95% ไว้ได้
References
A. A. Syntetos, J. E. Boylan, and J. D. Croston, “On the categorization of demand pattern,” International Journal of the Operation Research Society, vol. 56, no. 5, pp. 495–503, 2005.
F. Costantino, G. Di Gravio, R. Patriarca, and L. Petrella, “Spare parts management for irregular demand items,” Omega, vol. 81, pp. 57–66, 2018.
R. Ramanathan, “ABC inventory classification with multiple-criteria using weighted linear optimization,” Computers & Operations Research, vol. 33, no. 3, pp. 695–700, 2006.
สุจินดา เจียระวรพจน์, ปรารถนา ปรารถนาดี, และ จิรชัย พุทธกุลสมศิริ, “การปรับปรุงระบบการจัดการสินคาคงคลังของบริษัทผูแทนจําหนายผลิตภัณฑ์สมุนไพร,” ในการประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 47, 2552,หน้า 44-52.
ชื่นนภา เชื้อสุวรรณทวี, และ ปวีณา เชาวลิตวงศ์, “การกำหนดนโยบายการสั่งซื้อร่วมและเต็มตู้คอนเทนเนอร์สำหรับวัตถุดิบนำเข้าเพื่อผลิตสิ่งทอ,” วารสารวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, ปีที่ 28, ฉบับที่ 2, หน้า 77-86, 2564.
ปวีณา เชาวลิตวงศ์, การกำหนดนโยบายพัสดุคงคลัง ทฤษฎีและกระบวนการคิดอย่างเป็นระบบ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2561.
ธงชัย วุฒิจันทร์, “การปรับปรุงระบบจัดการอะไหล่ในโรงงานบรรจุภัณฑ์กล่องกระดาษ,” วิทยานิพนธ์ วศ.ม. (อุตสาหการ), คณะวิศวกรรมศาสตร์, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ, 2556.
มัญชุพัฒน์ ฉ่ำสูงเนิน, “การปรับปรุงระบบการบริหารคงคลังของอะไหล่ในอุตสาหกรรมฮาร์ดดิสก์,” วิทยานิพนธ์ วศ.ม. (อุตสาหการ), จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ, 2547.
สุนิสา ตั้งมโนกุลกิจ, “การควบคุมปริมาณสินค้าคงคลังและการวางแผนผังการจัดเก็บสินค้า กรณีศึกษา ห้างหุ้นส่วน AAA,” วิทยานิพนธ์ บธ.ม. (การจัดการโลจิสติกส์), มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย, กรุงเทพฯ, 2559.
กฤษณะ สั่งการ, “การเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการสินค้าคงคลังประเภทวัสดุหีบห่อ กรณีศึกษา บริษัทเค เค เค โกลบอล จำกัด,” วิทยานิพนธ์ วทม. (การจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน), มหาวิทยาลัยบูรพา, ชลบุรี, 2558.
ชัยวัฒน์ ใบไม้, และ ศิริรัตน์ ตรงวัฒนาวุฒิ, “การปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตของโรงสีข้าวอินทรีย์ขนาดเล็กในจังหวัดเชียงใหม่ จากการวิเคราะห์ด้วยตัวแบบ SCOR,” วารสารวิชาการคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี RMUTT Global Business and Economics Review, ปีที่ 13, ฉบับที่ 1, หน้า 123-138.
เฉลิมศักดิ์ ถาวรวัตร์, ฤทธิชัย สังฆทิพย์, วัชรุตม์ ชีววิริยะนนท์, วิฑูรย์ อบรม, เเละ พิทักษ์ พนาวัน, “การปรับปรุงระบบการบริหารวัตถุดิบคงคลัง กรณีศึกษาโรงงานผลิตตู้คอนโทรล,” ในการประชุมวิชาการข่ายงานวิศวกรรมอุตสาหการ ประจำปี พ.ศ. 2556, 2556.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
ลิขสิทธิ์ของบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารฉบับนี้จะยังเป็นของผู้แต่งและยินยอมให้สิทธิ์เผยแพร่กับทางวารสาร
การเผยแพร่ในระบบวารสารแบบเปิดนี้ บทความจะสามารถนำไปใช้ได้ฟรีในการศึกษา และในทางที่ไม่เกี่ยวกับการค้า