การประยุกต์แบบจำลองโปรแกรมเชิงเส้นตรงสำหรับการสั่งผลิตจากวัตถุดิบคงคลังส่วนเกิน

ผู้แต่ง

  • คุลิกา ดาดาษ ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • ปวีณา เชาวลิตวงศ์ ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ , กลุ่มวิจัยระบบการจัดการแบบบูรณาการและเทคโนโลยีอัจฉริยะ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

คำสำคัญ:

แบบจำลองโปรแกรมเชิงเส้นตรง, การจัดสรรทรัพยากร, การตัดสินใจ, วัตถุดิบคงคลังส่วนเกิน

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้นำเสนอแบบจำลองโปรแกรมเชิงเส้นตรงเพื่อใช้ในการตัดสินใจสั่งผลิตเพิ่มจากวัตถุดิบคงคลังส่วนเกิน ซึ่งเป็นการหาปริมาณที่สั่งผลิตเพิ่มและปริมาณที่สั่งซื้อวัตถุดิบอื่นเพิ่มสำหรับใช้ในการผลิต ซึ่งกระบวนการนี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อลดมูลค่าของวัตถุดิบคงคลังส่วนเกินที่จะถูกนำไปกำจัดในแต่ละเดือน และก่อให้เกิดผลประโยชน์ต่อธุรกิจด้วย งานวิจัยนี้เริ่มตั้งแต่การศึกษาข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการผลิตเพิ่มจากวัตถุดิบคงคลังส่วนเกินในปัจจุบัน ขั้นตอนถัดมา ได้ออกแบบแบบจำลองโปรแกรมเชิงเส้นตรงเพื่อนำมาใช้ในการหาคำตอบของปัญหา โดยตั้งสมการวัตถุประสงค์ให้เกิดต้นทุนโดยรวมน้อยที่สุดตามเป้าหมายของการตัดสินใจ และกำหนดสมการเงื่อนไขที่สอดคล้องกับข้อจำกัดของกระบวนการที่มีวัตถุประสงค์หลัก คือ ลดมูลค่าวัตถุดิบคงคลังส่วนเกิน และขั้นตอนสุดท้าย คือ การหาผลลัพธ์ของแบบจำลองบนโปรแกรมไพธอน และทดสอบผลการดำเนินงานจากแบบจำลองด้วยข้อมูลในอดีตที่ผ่านมา โดยที่ผลการดำเนินงานจะต้องมีมูลค่าวัตถุดิบคงคลังส่วนเกินที่ลดลงจากเดิม

ผลการทดสอบพบว่า เมื่อนำแบบจำลองโปรแกรมเชิงเส้นตรงมาประยุกต์ใช้ในการจัดสรรวัตถุดิบคงคลังส่วนเกิน ร่วมกับการสั่งซื้อวัตถุดิบเพิ่มสำหรับการผลิตเพิ่ม จะลดมูลค่าวัตถุดิบคงคลังส่วนเกินได้โดยเฉลี่ย 25.05% หรือคิดเป็นมูลค่าที่ลดลงได้เฉลี่ยประมาณ 236 พันดอลลาร์สหรัฐต่อเดือน และยังก่อให้เกิดผลกำไรแก่ธุรกิจเป็นมูลค่าโดยเฉลี่ยต่อเดือนอยู่ที่ 179 พันดอลลาร์สหรัฐ ถือว่าได้สร้างผลประโยชน์ให้แก่ธุรกิจได้ถึง 415 พันดอลลาร์สหรัฐ

References

ดิเรก วรรณเศียร, “แบบจำลอง,” วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย, ปีที่ 1, ฉบับที่ 1, หน้า 83–89, 2549.

พิศาล สีนวล, “การใช้โปรแกรมทางคณิตศาสตร์สำหรับแก้ปัญหาจัดสรรทรัพยากรเพื่อลดเวลาในการวางแผนการผลิต,”สารนิพนธ์ วศ.บ., คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2559.

ภัทราภรณ์ สัจจนดำรงค์, “การพัฒนาแผนการผลิตหลักสำหรับอุตสาหกรรมแบบผลิตตามสั่ง,” วิทยานิพนธ์ วศ.บ., จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ, 2550.

G. L. Kerrigan and J. P. Norback, “Linear Programming in the Allocation of Milk Resources for Cheese Making,” Journal of Dairy Science, vol. 69, no. 5, pp. 1432-1440, 1986.

P. Doganis and H. Sarimveis, “Optimal scheduling in a yogurt production line based on mixed integer linear programming,” Journal of Food Engineering, vol. 80, no. 2, pp. 445-453, 2007.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-04-30