วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/uruj <p><strong>วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์</strong></p> <p><strong>สาขาขอบเขตเนื้อหาการตีพิมพ์</strong> </p> <p> บทความวิจัยและบทความวิชาการที่ให้ความสำคัญในด้านการทำงานเพื่อแก้ไขปัญหาเชิงพื้นที่ทุกระดับ โดยผลการวิจัยนั้นต้องสามารถแสดงให้เห็นถึงการนำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์ได้จริงในพื้นที่ สามารถขยายผลความสำเร็จไปยังพื้นที่อื่น หรือให้ข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่ ซึ่งมีขอบเขตดังนี้</p> <ol> <li>การจัดการเพื่อการพัฒนา</li> <li>สุขภาวะชุมชน</li> <li>เกษตรและอาหารเพื่อชุมชน</li> <li>ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม</li> <li>การจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมชุมชน</li> </ol> <p><strong>ประเภทบทความที่รับ<br /></strong> ตีพิมพ์ผลงาน 2 ประเภท คือ</p> <ul> <li>บทความวิจัย (Research article)</li> <li>บทความวิชาการ (Academic article) </li> </ul> <p><strong>การพิจารณาบทความ</strong></p> <p> บทความที่ได้รับการเผยแพร่ตีพิมพ์ในวารสารมีการตรวจสอบและพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer-review) จำนวน 3 ท่าน ต่อ 1 บทความ โดยผูัทรงคุณวุฒิพิจารณาบทความที่มีความเชี่ยวชาญตรงตามสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้จะมีรูปแบบที่ผู้พิจารณาบทความไม่ทราบชื่อผู้นิพนธ์บทความและผู้นิพนธ์บทความไม่ทราบชื่อผู้พิจารณาบทความเช่นเดียวกัน (Double-Blinded Peer Review) ผ่านระบบ ThaiJo</p> <p><strong>กำหนดการตีพิมม์เผยแพร่</strong></p> <p> กำหนดตีพิมพ์เผยแพร่เป็นประจำทุกปี ปีละ 2 ฉบับคือ</p> <ul> <li>ฉบับที่ 1 ช่วงเดือน มกราคม-มิถุนายน</li> <li>ฉบับที่ 2 ช่วงเดือน กรกฏาคม-ธันวาคม</li> </ul> <p><strong>ค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์</strong></p> <p> วารสารจัดเก็บค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์บทความ ต่อ 1 บทความ รายละเอียดดังนี้</p> <ul> <li>บุคคลภายนอก ค่าธรรมเนียม 4,500 บาท (สี่พันห้าร้อยบาทถ้วน)</li> <li>บุคคลภายในมหาวิทยาลัย (บุคลากรสายวิชาการ/สนับสนุน) ค่าธรรมเนียม ไม่เก็บค่าธรรมเนียม</li> <li>นักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ ค่าธรรมเนียม 3,500 บาท (สามพันห้าร้อยบาทถ้วน)</li> </ul> <p> โดยจะเรียกเก็บเมื่อบทความของท่าน ได้รับการพิจาณาจากบรรณาธิการให้เข้าสู่กระบวนการส่งพิจารณาบทความจากผู้ทรงคุณวุฒิ โดยวารสารขอสงวนสิทธิ์คืนเงินกรณีบทความได้รับการปฏิเสธตีพิมพ์จากผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 2 ท่านจาก 3 ท่าน</p> th-TH [email protected] (รองศาสตราจารย์ ดร.จักรกฤษณ์ พิญญาพงศ์) [email protected] (รองศาสตราจารย์ ดร.จักรกฤษณ์ พิญญาพงศ์) Mon, 25 Dec 2023 00:00:00 +0700 OJS 3.3.0.8 http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss 60 การหาสภาวะที่เหมาะสมที่สุดของเครื่องเป่าแห้งมันเทศในชุมชนทับน้ำ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยการออกแบบการทดลอง https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/uruj/article/view/250649 <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ผลกระทบของปัจจัยที่ส่งผลต่อการปรับตั้งเครื่องเป่าแห้งมันเทศและเพื่อหาสภาวะที่เหมาะสมที่สุดในการทำงานของเครื่องเป่าแห้งมันเทศ ซึ่งทำงานร่วมกับเกษตรกรในตำบลทับน้ำ อำเภอบางประหัน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา การออกแบบการทดลองแบบแฟกทอเรียลและการหาสภาวะที่เหมาะสมที่สุดเป็นวิธีการทางสถิติที่ถูกนำมาใช้เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยของเครื่องจักรเพื่อให้มั่นใจว่าเครื่องจักรจะสามารถทำงานได้ตามที่เกษตรกรต้องการ ผู้วิจัยใช้การออกแบบการทดลองแบบแฟกทอเรียลเพื่อวิเคราะห์ผลกระทบของปัจจัยจำนวน 2 ปัจจัย ประกอบด้วย อุณหภูมิของตัวทำความร้อนและความเร็วของสายพานสำหรับผลตอบของงานวิจัยคือ จำนวนมันเทศที่ผ่านตามมาตรฐานของเกษตรกร ผลการทดลองพบว่าผลกระทบหลักของปัจจัยทั้งสองปัจจัยส่งผลกระทบต่อผลตอบของงานวิจัย สำหรับผลกระทบร่วมไม่ส่งผลกระทบต่อผลตอบของงานวิจัย จากนั้นจึงนำข้อมูลจากการทดลองไปหาสภาวะที่เหมาะสมที่สุด ผลการหาสภาวะที่เหมาะสมที่สุดพบว่า การปรับตั้งอุณหภูมิของตัวทำความร้อนไว้ที่ 200 องศาเซลเซียสและการปรับความเร็วของสายพานไว้ที่ 1 เมตรต่อนาที จะทำให้มันเทศแห้งและสามารถบรรจุถุงจำหน่ายได้โดยไม่ต้องผึ่งมันเทศ งานวิจัยนี้ส่งผลให้เกษตรกรสามารถลดเวลาในการผึ่งแห้งมันเทศ เมื่อเปรียบเทียบการผลิตแบบเดิมกับการผลิตโดยเครื่องจักรนั้นจะพบว่า การผลิตมันเทศ 10 ตันด้วยวิธีแบบเดิมจะต้องใช้เวลาผึ่งมันเทศให้แห้ง 3 – 5 วัน ในขณะเครื่องจักรจะใช้เวลา 11.1 ชั่วโมง</p> ฉัตรพล พิมพา, บัณฑิตา ภู่ทรัพย์มี โปณะทอง, ศิวพร แน่นหนา Copyright (c) 2023 สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/uruj/article/view/250649 Mon, 25 Dec 2023 00:00:00 +0700 การพัฒนาข้าวทนแล้งระหว่างข้าวพันธุ์ท้องถิ่นและพันธุ์เศรษฐกิจในพื้นที่จังหวัดสุพรรณบุรี https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/uruj/article/view/251473 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาสายพันธุ์ข้าวทนแล้งจากพันธุ์ข้าวท้องถิ่นและพันธุ์เศรษฐกิจในพื้นที่จังหวัดสุพรรณบุรี โดยทำการสร้างคู่ผสมจำนวน 10 คู่ ซึ่งใช้พันธุ์ข้าวท้องถิ่นที่มีสมบัติทนแล้ง ที่มีการรวบรวมในพื้นที่จังหวัดสุพรรณบุรี จำนวน 2 พันธุ์ เป็นพันธุ์แม่ และใช้ข้าวพันธุ์เศรษฐกิจ จำนวน 5 พันธุ์ เป็นข้าวพันธุ์พ่อ หลังจากนั้นทำการสร้างประชากรข้าวที่เป็นพันธุ์ปรับปรุงสายพันธุ์ใหม่จากประชากรข้าวชั่วที่ F1 แล้วคัดเลือกประชากรข้าวด้วยวิธีพันธุประวัติ จนได้ข้าวสายพันธุ์ปรับปรุงสายพันธุ์ใหม่ จำนวน 10 สายพันธุ์ เมื่อนำไปปลูกทดสอบความทนแล้ง ในระยะกล้า พบว่า ข้าวสายพันธุ์ RHSB1 มีความทนแล้งได้ระดับดีที่สุด เมื่อประเมินระดับการฟื้นตัว พบว่า ข้าวสายพันธุ์ RHPT1 มีระดับการฟื้นตัวหลังได้รับน้ำดีที่สุด ส่วนองค์ประกอบผลผลิตของข้าวสายพันธุ์ต่าง ๆ โดยแต่ละพารามิเตอร์ทำการทดสอบทางสถิติความแปรปรวน (ANOVA) พบว่า ความสูงเฉลี่ยสูงสุดคือข้าวพันธุ์แม่ RH เท่ากับ 166.3 เซนติเมตร จำนวนต้นต่อกอและจำนวนรวงต่อกอเฉลี่ยสูงสุด คือข้าวสายพันธุ์ RHPT1 เท่ากับ 7.33 ต้นต่อกอ และ 6.67 รวงต่อกอ ตามลำดับ จำนวนเมล็ดต่อรวงเฉลี่ยสูงสุด น้ำหนัก 100 เมล็ดเฉลี่ยสูงสุด และน้ำหนักเมล็ดต่อกอ (กรัม) เฉลี่ยสูงสุด คือ ข้าวสายพันธุ์ RHSB1 เท่ากับ 175.3 เมล็ด 2.63 กรัม 882.33 กรัม และ 20.67 กรัม ส่วนผลผลิตต่อไร่ ข้าวสายพันธุ์ RHSB1 ให้ค่าเฉลี่ยผลผลิตสูงสุดเท่ากับ 818 กิโลกรัมต่อไร่ ซึ่งข้าวสายพันธุ์ปรับปรุงใหม่ทุกสายพันธุ์มีค่าเฉลี่ยแตกต่างกัน โดยเกษตรกรสามารถเลือกใช้ข้าวสายพันธุ์เหล่านี้ปลูกทดแทนข้าวพันธุ์เดิมเมื่อเกิดภาวะภัยแล้งและขาดแคลนน้ำ เพื่อสร้างรายได้ให้กับเกษตรกร</p> ยุธยา อยู่เย็น, ณัฐบดี วิริยาวัฒน์, สุรชาติ สินวรณ์ Copyright (c) 2023 สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/uruj/article/view/251473 Mon, 25 Dec 2023 00:00:00 +0700 การพัฒนาดินลมหอบผสมซีเมนต์สำหรับการก่อสร้างผนังดินอัด กรณีศึกษา ดินพื้นที่จังหวัดขอนแก่น https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/uruj/article/view/251394 <p>งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาดินลมหอบผสมซีเมนต์สำหรับนำไปใช้ในการก่อสร้างบ้านดินด้วยเทคนิคการบดอัด และศึกษาคุณสมบัติทางวิศวกรรมของผนังดินอัด โดยปรับปรุงคุณสมบัติด้วยการผสมซีเมนต์และดินลมหอบขอนแก่น ที่อัตราส่วน 1:6 บดอัดโดยวิธีมาตรฐาน ด้วยปริมาณความชื้นที่เหมาะสมเท่ากับ 9.40 % ทดสอบการดูดกลืนน้ำโดยใช้ตัวอย่างขนาด 7.5 x 7.5 x 7.5 เซนติเมตร และทดสอบกำลังรับแรงอัดโดยการจำลองเป็นแบบผนังขนาดเล็ก ตัวอย่างขนาด 0.60 x 0.60 เมตร ที่ความหนา 7.5, 10, 12.5 และ 15 เซนติเมตร และระยะเวลาในการบ่ม 7, 14 และ 28 วันตามลำดับ จากผลการวิจัยพบว่าการก่อสร้างผนังดินอัดเมื่อทำการบดอัดชั้นแรกด้วยความสูง 60 เซนติเมตรแล้วเสร็จ จะต้องปล่อยให้ผนังดินอัดใช้ระยะเวลาในการแข็งตัวเป็นระยะเวลา 24 ชั่วโมง จึงจะเริ่มดำเนินการบดอัดชั้นต่อไปได้ หลังจากนั้นทำการบ่มผนังดินอัดไว้ 14 วัน ก่อนการใช้งานเพื่อทำให้ผนังดินอัดได้พัฒนากำลังรับแรงอัด โดยมีกำลังอัดเทียบเท่าผนังอิฐก่อทั่วไป สำหรับคุณสมบัติทางด้านวิศวกรรมผนังดินอัดมีค่าการดูดกลืนน้ำที่แช่ในน้ำ 24 ชั่วโมง เท่ากับ 10.56% ความหนาของผนังดินอัดที่เหมาะสมมีความหนาเท่ากับ 12.5 เซนติเมตร เนื่องจากค่ากำลังรับแรงอัดที่ระยะเวลาการบ่ม 14 วัน เท่ากับ 45.16 กิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตร มีอัตราส่วนความชะลูดที่สูงที่สุดที่มีกำลังรับแรงอัดผ่านค่ากำลังรับแรงอัดของปริซึมอิฐก่อชนิดต่าง ๆ ในกรณีผนังก่อแบบไม่รับแรง ผลการวิจัยนี้มีประโยชน์ต่อประชาชนทั่วไปที่ต้องการนำดินในพื้นที่มาสร้างผนังดินอัดผสมซีเมนต์ รวมถึงการประยุกต์ทำอิฐดินอัดผสมซีเมนต์เพื่อเป็นการสร้างรายได้ให้กับชุมชน</p> วีระวัฒน์ วรรณกุล, อนุชาติ ลี้อนันต์ศักดิ์ศิริ, วรวิทย์ โพธิ์จันทร์ Copyright (c) 2023 สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/uruj/article/view/251394 Mon, 25 Dec 2023 00:00:00 +0700 การพัฒนาผลิตภัณฑ์ปลาดุกแดดเดียวของวิสาหกิจชุมชน โดยใช้ตู้อบพลังงานแสงอาทิตย์ “รุ่นหลังเต่า” https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/uruj/article/view/250646 <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ปลาดุกแดดเดียวโดยการใช้ตู้อบพลังงานแสงอาทิตย์ “รุ่นหลังเต่า” และทดสอบการยอมรับทางประสาทสัมผัสเพื่อคัดเลือกผลิตภัณฑ์สูตรมาตรฐานที่มีความเหมาะสมต่อการนำไปวิเคราะห์คุณภาพทางด้านเคมี กายภาพ และจุลินทรีย์ ซึ่งเป็นการทำงานแบบมีส่วนร่วมระหว่างมหาวิทยาลัยและชุมชนเพื่อพัฒนาและส่งเสริมผลิตภัณฑ์ปลาดุกแดดเดียวของชุมชนให้ได้คุณภาพ จากการพัฒนาผลิตภัณฑ์ปลาดุกแดดเดียวโดยใช้ตู้อบพลังงานแสงอาทิตย์ทั้ง 3 สูตร ประกอบด้วย สูตรที่ 3 (ปลา:น้ำ:น้ำปลา = 100 : 50 : 40 โดยน้ำหนัก) สูตรที่ 3.1 (ปลา:น้ำ:น้ำปลา:น้ำตาล = 100 : 50 : 40 : 10 โดยน้ำหนัก) และสูตรที่ 3.2 (ปลา:น้ำ:น้ำปลา:น้ำตาล = 100 : 50 : 35 : 15 โดยน้ำหนัก) ศึกษาการยอมรับของผู้บริโภคจำนวน 120 คน ผลการทดสอบทางประสาทสัมผัสพบว่าผู้บริโภคให้การยอมรับผลิตภัณฑ์สูตรที่ 3.2 มากที่สุด จากการประเมินคุณลักษณะทางประสาทสัมผัสของผลิตภัณฑ์ปลาดุกแดดเดียวของผู้บริโภค พิจารณาจากลักษณะปรากฏ สี กลิ่น รสชาติ และความชอบโดยรวม และการใช้วิธี yes or no scale เพื่อประเมินการยอมรับโดยรวม และความสนใจในการซื้อ พบว่าคะแนนความชอบโดยรวมของผลิตภัณฑ์ปลาดุกแดดเดียวมีมากกว่า 6.00 (ในระดับ 9 คะแนน) โดยได้รับการยอมรับ (86.2%) และความความสนใจในการซื้อ (95.83%) และเมื่อนำผลิตภัณฑ์ปลาดุกแดดเดียวมาศึกษาคุณสมบัติทางเคมีพบว่ามีค่าความชื้น เถ้า โปรตีน ไขมันและ เกลือ เท่ากับร้อยละ 54.84, 4.84, 27.21, 9.83 และ 3.18 ตามลำดับ ปริมาณกรดแลกติกเท่ากับร้อยละ 0.28 ค่าปริมาณไตรเมธิลามีน (TMA) และค่าปริมาณด่างที่ระเหยได้ทั้งหมด (TVB) เท่ากับ 7.87 และ 1.34 มก.ไนโตรเจน/100 กรัมตัวอย่าง ส่วนคุณสมบัติทางกายภาพพบว่ามีค่าสี L*, a*, b* เท่ากับ 42.33, 4.76, 15.64 ค่าปริมาณน้ำอิสระในอาหาร (aw) เท่ากับ 0.78 ค่าความเป็นกรดด่าง (pH) เท่ากับ 6.44 ตามลำดับ และมีผลทางด้านจุลินทรีย์อยู่ในเกณฑ์ที่มาตรฐานกำหนดไว้ ผลิตภัณฑ์ของชุมชนที่ได้จาก การอบแห้งด้วยตู้อบพลังงานแสงอาทิตย์ “รุ่นหลังเต่า” นี้มีคุณภาพและความสะอาดถูกสุขลักษณะ</p> ถกลรัตน์ ทักษิมา, ปิยะพงษ์ ยงเพชร, ปณิธี สุวรรณอมรเลิศ Copyright (c) 2023 สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/uruj/article/view/250646 Mon, 25 Dec 2023 00:00:00 +0700 ภาวะสุขภาพจิตและการปรับตัวในสถานการณ์โควิด-19 ของนักศึกษาพยาบาล สังกัดวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ภาคเหนือตอนล่าง https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/uruj/article/view/251402 <p>การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภาวะสุขภาพจิตและระดับการปรับตัวในสถานการณ์โควิด-19 ของนักศึกษาพยาบาลสังกัดวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีภาคเหนือตอนล่าง กลุ่มตัวอย่างคือ นักศึกษาพยาบาลศาสตรบัณฑิต ชั้นปีที่ 1-4 จำนวน 320 คน ใช้วิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ และสุ่มแบบง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบสอบถามภาวะสุขภาพจิต (Thai GHQ-28, α = .88) และแบบสอบถามการปรับตัวในสถานการณ์ โควิด-19 (α = .94) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ การแจกแจงความถี่ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาพบว่า ภาวะสุขภาพจิตของนักศึกษาพยาบาล ในสถานการณ์โควิด-19 อยู่ในเกณฑ์ปกติ ร้อยละ 84.06 และอยู่ในเกณฑ์ผิดปกติ ร้อยละ 15.94 ระดับการปรับตัวของนักศึกษาพยาบาลในสถานการณ์โควิด-19 โดยรวมอยู่ในระดับมาก ( = 3.80, S.D. = 0.42) ซึ่งการปรับตัวทุกด้านทั้งในด้านสังคม ( = 4.00, S.D. = 0.44) ด้านอารมณ์ ( = 3.92, S.D. = 0.53) ด้านการเข้าร่วมกิจกรรมของสถาบัน ( = 3.77, S.D. = 0.64) และด้านการเรียน ( = 3.50, S.D. = 0.50) มีคะแนนอยู่ในระดับมากเช่นเดียวกันตามลำดับ ผลการวิจัยครั้งนี้สามารถใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการวางแผนการจัดการเรียนการสอน และการออกแบบกิจกรรมพัฒนานักศึกษาพยาบาลเพื่อส่งเสริมการปรับตัวและป้องกันปัญหาสุขภาพจิตต่อไป</p> สุทธามาศ อนุธาตุ, วิลาวัณย์ สายสุวรรณ์, อายุพร กัยวิกัยโกศล Copyright (c) 2023 สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/uruj/article/view/251402 Mon, 25 Dec 2023 00:00:00 +0700 การพัฒนาผลิตภัณฑ์ปลาซิวแก้วสามรสอบกรอบ https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/uruj/article/view/250721 <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อสร้างสูตรมาตรฐานสำหรับผลิตภัณฑ์ปลาซิวแก้วอบกรอบและศึกษาคุณภาพของผลิตภัณฑ์ด้านกายภาพ เคมี ชีวภาพ และคุณภาพทางประสาทสัมผัส สำหรับวิสาหกิจชุมชนในพื้นที่ตำบลคันไร่ อำเภอสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี โดยได้ศึกษาความชอบของผู้บริโภคต่อผลิตภัณฑ์ปลาซิวแก้วสามรส สูตรทางการค้าในพื้นที่ 3 ตัวอย่าง เพื่อคัดเลือกเป็นสูตรควบคุมในการทดลอง จากนั้นทำการพัฒนาผลิตภัณฑ์ปลาซิวแก้วสามรสอบกรอบ โดยศึกษาผลของปริมาณน้ำ (150 และ 250 กรัม) กลูโคสไซรัป (0 และ 20 กรัม) และเนย (2 และ 6 กรัม) ที่มีต่อคุณภาพของผลิตภัณฑ์ ผลการวิจัยพบว่า ผลิตภัณฑ์ทางการค้าที่ 1 มีความชอบโดยรวมสูงที่สุด (p≤0.05) จึงคัดเลือกมาเป็นสูตรควบคุม และการพัฒนาผลิตภัณฑ์ พบว่าสูตรที่ 2 (น้ำเปล่า 150 กรัม, ไม่เติมกลูโคสไซรัป และเนย 2 กรัม) ผู้บริโภคให้การยอมรับสูงที่สุดและแตกต่างจากตัวอย่างอื่นอย่างมีนัยสำคัญ (p≤0.05) นอกจากนี้ยังมีค่าความแข็งและความกรอบต่ำ โดยมีค่า 1820.66 g และ 646.8 g ตามลำดับ และแตกต่างจากสูตรควบคุมอย่างมีนัยสำคัญ (p≤0.05) มีปริมาณไขมันต่ำกว่าสูตรควบคุม และมีปริมาณโปรตีนสูงกว่าสูตรควบคุมอย่างมีนัยสำคัญ (p≤0.05) มีค่าความชื้นต่ำ (ร้อยละ 5.03) ผลิตภัณฑ์สามารถเก็บรักษาในสภาวะบรรยากาศปกติในถุงอลูมิเนียมฟอยล์ลามิเนตได้ 7 สัปดาห์ที่อุณหภูมิห้อง โดยยังคงมีปริมาณน้ำอิสระ ค่าเพอร์ออกไซด์ ปริมาณจุลินทรีย์ทั้งหมด ยีสต์ รา เป็นไปตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน เรื่อง ปลากรอบปรุงรสพร้อมบริโภค ดังนั้น จากงานวิจัยนี้สามารถแก้ไขปัญหาด้านสูตรมาตรฐานที่ผู้บริโภคให้การยอมรับ ยังส่งผลให้ชุมชนเกิดการพัฒนาและสามารถยกระดับรายได้ของชุมชนได้ในอนาคต</p> กิตติพร สุพรรณผิว, กิตธวัช บุญทวี Copyright (c) 2023 สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/uruj/article/view/250721 Mon, 25 Dec 2023 00:00:00 +0700 การพัฒนาดินปั้นงานเครื่องประดับจากเปลือกหอยแมลงภู่บดเหลือทิ้ง สำหรับวิสาหกิจชุมชนท่องเที่ยวบ้านน้ำเชี่ยว จังหวัดตราด https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/uruj/article/view/250357 <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสูตรดินปั้นจากเปลือกหอยแมลงภู่ที่เหมาะสมในการทำดินปั้นงานเครื่องประดับ ศึกษาสมบัติทางกายภาพและสมบัติทางกลความแข็งที่ผิวของดินปั้นจากเปลือกหอยแมลงภู่ และ ถ่ายทอดองค์ความรู้สู่กลุ่มวิสาหกิจชุมชนท่องเที่ยวบ้านน้ำเชี่ยว จังหวัดตราด วิธีดำเนินการวิจัยโดยศึกษาสูตรดินปั้นจากเปลือกหอยแมลงภู่ ปัจจัยที่ศึกษา คือ ปริมาณเปลือกหอยแมลงภู่ทดแทนแป้งข้าวเหนียวแปรเป็น 7 ระดับ คือ เปลือกหอยแมลงภู่บด 0, 50, 60, 70, 80, 90 และ 100 กรัม มาวิเคราะห์สมบัติทางกายภาพและสมบัติทางกลความแข็ง ผลการวิจัยพบว่า สูตรที่เหมาะสม คือ เปลือกหอยแมลงภู่ผ่านการฟอกสีเปลือกหอยและเนื้อเยื่อต่าง ๆ ด้วยไฮโดรเจนเปอร์ออกไซต์ความเข้มข้น 50% บดเป็นผงผสมแป้งข้าวเหนียว สารกันบูด เบบี้ออยล์ กาวลาเท็กซ์ ผลการศึกษาสมบัติทางกายภาพและสมบัติทางกล พบว่า สูตรดินที่มีปริมาณเปลือกหอยแมลงภู่มากขึ้นทำให้ดิน มีสีน้ำตาลเข้มมากขึ้น ความวาวแบบมุกมากขึ้น ผิวเรียบเนียนน้อยลง และเกิดการยุบตัวเป็นรอยบุ๋มตรงกลางชัดเจนตั้งแต่ระดับเปลือกหอยแมลงภู่บด 80 กรัมขึ้นไป พองตัวลดลง รูปทรงตามแบบ การหดตัวลดลง ความแข็งแรงที่ผิวมากขึ้น ผลการถ่ายทอดองค์ความรู้สู่กลุ่มวิสาหกิจชุมชนท่องเที่ยวบ้านน้ำเชี่ยว จังหวัดตราด ทางชุมชนเลือกระดับเปลือกหอยแมลงภู่บด 70 กรัม เนื่องจากดินมีสีน้ำตาลเล็กน้อย ผิวเรียบเนียนพอใช้ มองด้วยตาเห็นเกล็ดวาวแบบมุก มีการพองเล็กน้อยแต่ไม่เกิดการยุบตัวที่เห็นชัดเจน ค่าเฉลี่ยร้อยละของการหดตัว 21.69 ค่าเฉลี่ยความแข็งแรง 10.14 ซึ่งเหมาะสมในการนำมาพัฒนาเป็นดินปั้นงานเครื่องประดับ เพื่อจำหน่ายเป็นรายได้และช่วยลดเปลือกหอยแมลงภู่เหลือทิ้งในชุมชน</p> ภัทรา ศรีสุโข, กิตติรัตน์ รุ่งรัตนาอุบล, นฤมล เลิศคำฟู, ภัทรบดี พิมพ์กิ, สุรพงษ์ ปัญญาทา Copyright (c) 2023 สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/uruj/article/view/250357 Mon, 25 Dec 2023 00:00:00 +0700 การศึกษาเปรียบเทียบคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุที่เข้ารับการศึกษาและไม่ได้เข้ารับการศึกษา ในโรงเรียนผู้สูงอายุ ตำบลป่าเซ่า อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์ https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/uruj/article/view/251438 <p>การวิจัยเชิงวิเคราะห์ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบระดับคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุที่เข้ารับการศึกษาและไม่ได้เข้ารับการศึกษาในโรงเรียนผู้สูงอายุตำบลป่าเซ่า อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์ กลุ่มตัวอย่างได้แก่ผู้สูงอายุที่เข้ารับการศึกษาในโรงเรียนผู้สูงอายุจำนวน 80 คน และผู้สูงอายุที่ไม่ได้เข้ารับการศึกษาในโรงเรียนผู้สูงอายุ จำนวน 80 คน โดยการสุ่มแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสัมภาษณ์ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณา ร้อยละและค่าเฉลี่ย ในการวิเคราะห์เปรียบเทียบคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุที่เข้ารับการศึกษาและไม่ได้เข้ารับการศึกษาในโรงเรียนผู้สูงอายุ ใช้สถิติ Chi-Square และ Independent T-Test ผลการศึกษาพบว่า ผู้สูงอายุที่เข้ารับการศึกษาในโรงเรียนผู้สูงอายุมีระดับคุณภาพชีวิตในระดับดี ในขณะที่ผู้สูงอายุที่ไม่ได้เข้าเรียนในโรงเรียนผู้สูงอายุ มีระดับคุณภาพชีวิตอยู่ในระดับปานกลาง และจากการเปรียบเทียบผู้สูงอายุทั้ง 2 กลุ่ม พบว่า ผู้สูงอายุที่เข้าเรียนโรงเรียนผู้สูงอายุมีระดับคุณภาพชีวิตดีกว่าผู้สูงอายุที่ไม่ได้เข้าเรียนในโรงเรียนผู้สูงอายุ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ นอกจากนี้ยังพบว่าผู้สูงอายุที่เข้าเรียนโรงเรียนผู้สูงอายุมีคะแนนเฉลี่ยคุณภาพชีวิตทางด้านร่างกาย จิตใจ สัมพันธภาพทางสังคม สิ่งแวดล้อมและคุณภาพชีวิตโดยรวมสูงกว่าผู้สูงอายุที่ไม่ได้เข้าเรียนในโรงเรียนผู้สูงอายุอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t=4.8, p-value&lt; 0.001) ผลการศึกษาสามารถเป็นข้อเสนอแนะแก่เทศบาลตำบลป่าเซ่า และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการจัดกิจกรรมเพื่อเสริมสร้างสัมพันธภาพทางสังคมในโรงเรียนผู้สูงอายุ และสามารถนำไปกำหนดกลยุทธ์หรือแนวทางในการจูงใจ เพื่อส่งเสริมให้ผู้สูงอายุเข้าร่วมในกิจกรรมของโรงเรียนผู้สูงอายุให้มากขึ้น</p> กิตติวรรณ จันทร์ฤทธิ์, พงษ์ศักดิ์ อ้นมอย, ชลดา พินยงค์, ชาญฤทธิ์ อัยกูล, ปพิชญา ดีโพธิ์, ธีรศักดิ์ สงสัย, ยุรนันท์ หนุนเพิ่ม Copyright (c) 2023 สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/uruj/article/view/251438 Mon, 25 Dec 2023 00:00:00 +0700 พื้นที่สร้างสรรค์ทางศิลปะและวัฒนธรรม จากการมีส่วนร่วมของชุมชนจังหวัดพิษณุโลกผ่านกลยุทธ์การออกแบบสร้างสรรค์ https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/uruj/article/view/250484 <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาข้อมูลชุมชนและแนวทางการใช้ศิลปวัฒนธรรม เพื่อพัฒนาพื้นที่ชุมชนรวมถึงถ่ายทอดและกระตุ้นแนวคิดเชิงกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ทางความคิด ความงาม ประโยชน์ใช้สอย นำไปสู่ผลิตภัณฑ์วัฒนธรรมชุมชน สร้างกลยุทธ์ที่ใช้ขับเคลื่อนชุมชนให้เกิดต้นแบบในการทำกิจกรรมสร้างสรรค์ของพื้นที่ 4 ชุมชน คือ ชุมชนราชพฤกษ์ ชุมชนวิเศษไชยชาญ ชุมชนวิสุทธิกษัตริย์ และชุมชนรถไฟสามัคคี และสร้างพื้นที่สร้างสรรค์ทางศิลปะและวัฒนธรรม เพื่อสนับสนุนงานการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยนี้จำนวน 20 คน เป็นกลุ่มตัวแทนชุมชน ตัวแทนหน่วยงานภาครัฐ ตัวแทนภาคเอกชน นักออกแบบในพื้นที่ ผู้เชี่ยวชาญด้านกิจกรรมสร้างสรรค์ และผู้มาเยือน มีวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล การสัมภาษณ์โดยใช้เทคนิคการนำพาข้อมูลแบบปากต่อปาก สนทนากลุ่ม สัมภาษณ์แบบเชิงลึก และแบบสอบถาม การวิเคราะห์ผลข้อมูล ใช้วิธีการวิเคราะห์เชิงคุณภาพ ผลการวิจัยพบว่า ย่านชุมชนมีการผสมผสานวัฒนธรรมที่หลากหลายศาสนาอาศัยและดำเนินชีวิตในการใช้พื้นที่ ประกอบด้วยวิถีย่านชุมชนคนจีน ย่านชุมชนมุสลิม ย่านชุมชนคริสต์ กลยุทธ์การออกแบบในกระบวนการสร้างสรรค์กับชุมชนนำไปสู่กับขับเคลื่อนพื้นที่กิจกรรมประกอบไปด้วย การออกแบบภาพลักษณ์ การสร้างภาพตัวแทนเพื่อการรับรู้ ออกแบบพื้นที่เส้นทางเดินชุมชน และบันทึกฐานข้อมูลและนำไปใช้ประกอบในการสร้างพื้นที่กิจกรรมของการดำเนินงานวิจัยมีการดำเนินงาน 7 กิจกรรมภายใต้ แนวคิด “ติด-สอย-ห้อย-ตาม” ประกอบด้วย Open Art of PHS, SALAM Art, IDENTITY of PHS, Art Workshop Even, PHS Photo Contest, VDO History และเส้นทางท่องเที่ยวชุมชน ที่ส่งผลต่อการบรรลุเป้าประสงค์ของการสร้างพื้นที่สร้างสรรค์ทางศิลปะและวัฒนธรรม จากการมีส่วนร่วมของชุมชนจังหวัดพิษณุโลก ผ่านกลยุทธ์การออกแบบสร้างสรรค์</p> ปรารถนา ศิริสานต์, เพ็ญสิริ ชาตินิยม Copyright (c) 2023 สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/uruj/article/view/250484 Mon, 25 Dec 2023 00:00:00 +0700 การพัฒนาการดำเนินงานโรงเรียนผู้สูงอายุในภาคเหนือตอนบน https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/uruj/article/view/248956 <p>การวิจัยและพัฒนานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการดำเนินงานของโรงเรียนผู้สูงอายุที่ประสบความสำเร็จและเป็นแนวทางปฏิบัติที่เป็นเลิศในภาคเหนือตอนบนสามแห่ง เพื่อนำเอาองค์ความรู้ที่ได้ไปพัฒนาโรงเรียนผู้สูงอายุตำบลยางฮอม (เขตโรงพยาบาล) อำเภอขุนตาล จังหวัดเชียงราย ใช้วิธีการเก็บข้อมูลโดยการสังเกตการณ์ การสัมภาษณ์เชิงลึก การสนทนากลุ่ม และการจัดเวทีชุมชน ใช้การวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา กลุ่มเป้าหมายการสำรวจข้อมูลโรงเรียนผู้สูงอายุที่เป็นแนวทางปฏิบัติที่เป็นเลิศ จำนวน 86 คน ประกอบไปด้วยผู้สูงอายุและแกนนำผู้สูงอายุ พระสงฆ์ เจ้าหน้าที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และวิทยากรในโรงเรียนผู้สูงอายุ กลุ่มเป้าหมายระยะพัฒนาโรงเรียนผู้สูงอายุตำบลยางฮอม จำนวน 111 คน ประกอบไปด้วยผู้สูงอายุและแกนนำผู้สูงอายุ พระสงฆ์ เจ้าหน้าที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และวิทยากรในโรงเรียนผู้สูงอายุ ผลการศึกษาการดำเนินงานพบว่า โรงเรียนผู้สูงอายุที่ประสบความสำเร็จและมีแนวปฏิบัติที่เป็นเลิศทั้งสามแห่งมีเป้าหมายเพื่อให้เกิดประโยชน์กับผู้สูงอายุทั้ง 4 ด้านคือ ร่างกาย จิตใจ สังคม และสติปัญญา มีปัจจัยที่เหมือนกันคือมีผู้นำหลักที่มีความตั้งใจและมีจิตอาสาทำงานเพื่อผู้สูงอายุ ได้รับความศรัทธาและความไว้วางใจจากคนในชุมชน แต่โรงเรียนทั้งสามแตกต่างกันตรงที่ผู้นำหลักในแต่ละพื้นที่มีบทบาทในชุมชนแตกต่างกันคือ นายกเทศมนตรี พระสงฆ์ และนักพัฒนาชุมชนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งส่งผลต่อความยั่งยืนของโรงเรียนผู้สูงอายุ ด้านผลการพัฒนาโรงเรียนผู้สูงอายุในพื้นที่ตำบลยางฮอม (เขตโรงพยาบาล) เกิดจากความต้องการของเครือข่ายผู้สูงอายุในพื้นที่ มีแกนนำหลักคือประธานชมรมผู้สูงอายุในระดับตำบลที่ได้รับความศรัทธาและไว้วางใจจากคน ในชุมชน เป็นทั้งผู้บริหารและผู้ประสานงานในการจัดหลักสูตรโรงเรียนผู้สูงอายุ ได้นำเอารูปแบบการบริหารจัดการโรงเรียนผู้สูงอายุทั้งสามแห่งที่ประสบความสำเร็จและมีแนวปฏิบัติที่เป็นเลิศมาพัฒนาโรงเรียน โดยคำนึงถึงความต้องการของพื้นที่และข้อจำกัดในการดำเนินงาน</p> วิชุลดา มาตันบุญ Copyright (c) 2023 สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/uruj/article/view/248956 Mon, 25 Dec 2023 00:00:00 +0700