วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์
https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/uruj
<p><strong>วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์</strong></p> <p><strong>สาขาขอบเขตเนื้อหาการตีพิมพ์</strong> </p> <p> บทความวิจัยและบทความวิชาการที่ให้ความสำคัญในด้านการทำงานเพื่อแก้ไขปัญหาเชิงพื้นที่ทุกระดับ โดยผลการวิจัยนั้นต้องสามารถแสดงให้เห็นถึงการนำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์ได้จริงในพื้นที่ สามารถขยายผลความสำเร็จไปยังพื้นที่อื่น หรือให้ข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่ ซึ่งมีขอบเขตดังนี้</p> <ol> <li>การจัดการเพื่อการพัฒนา</li> <li>สุขภาวะชุมชน</li> <li>เกษตรและอาหารเพื่อชุมชน</li> <li>ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม</li> <li>การจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมชุมชน</li> </ol> <p><strong>ประเภทบทความที่รับ<br /></strong> ตีพิมพ์ผลงาน 2 ประเภท คือ</p> <ul> <li>บทความวิจัย (Research article)</li> <li>บทความวิชาการ (Academic article) </li> </ul> <p><strong>การพิจารณาบทความ</strong></p> <p> บทความที่ได้รับการเผยแพร่ตีพิมพ์ในวารสารมีการตรวจสอบและพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer-reviews) จำนวน 3 ท่าน ต่อ 1 บทความ โดยผูัทรงคุณวุฒิพิจารณาบทความที่มีความเชี่ยวชาญตรงตามสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้จะมีรูปแบบที่ผู้พิจารณาบทความไม่ทราบชื่อผู้นิพนธ์บทความและผู้นิพนธ์บทความไม่ทราบชื่อผู้พิจารณาบทความเช่นเดียวกัน (Double-Blinded Peer review) ผ่านระบบ ThaiJO</p> <p><strong>กำหนดการตีพิมม์เผยแพร่</strong></p> <p> กำหนดตีพิมพ์เผยแพร่เป็นประจำทุกปี ปีละ 2 ฉบับคือ</p> <ul> <li>ฉบับที่ 1 ช่วงเดือน มกราคม-มิถุนายน</li> <li>ฉบับที่ 2 ช่วงเดือน กรกฏาคม-ธันวาคม</li> </ul> <p><strong>ค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์</strong></p> <p> วารสารจัดเก็บค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์บทความ ต่อ 1 บทความ รายละเอียดดังนี้</p> <ul> <li>บุคคลภายนอก ค่าธรรมเนียม 4,500 บาท (สี่พันห้าร้อยบาทถ้วน)</li> <li>บุคคลภายในมหาวิทยาลัย (บุคลากรสายวิชาการ/สนับสนุน) ค่าธรรมเนียม ไม่เก็บค่าธรรมเนียม</li> <li>นักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ ค่าธรรมเนียม 3,500 บาท (สามพันห้าร้อยบาทถ้วน)</li> </ul> <p> โดยจะเรียกเก็บเมื่อบทความของท่าน ได้รับการพิจาณาจากบรรณาธิการให้เข้าสู่กระบวนการส่งพิจารณาบทความจากผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณาบทความ โดยวารสารขอสงวนสิทธิ์คืนเงินกรณีบทความได้รับการปฏิเสธตีพิมพ์จากผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณาบทความ จำนวน 2 ท่านจาก 3 ท่าน</p>
Research and Development Institution, Uttaradit Rajabhat University (สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์)
th-TH
วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์
2985-2986
-
การพัฒนาต้นแบบเครื่องคัดแยกฝักมะขามหวานสำหรับผู้ประกอบการมะขามหวาน
https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/uruj/article/view/257495
<p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาต้นแบบ ทดสอบประสิทธิภาพการทำงาน และศึกษาความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ของต้นแบบเครื่องคัดแยกฝักมะขามหวานสำหรับผู้ประกอบการมะขามหวาน วิธีดำเนินการวิจัยเลือกใช้ข้อกำหนดคุณลักษณะทางวิศวกรรมที่ผ่านการสังเคราะห์ความต้องการด้วยเทคนิคการกระจายหน้าที่เชิงคุณภาพร่วมกับหลักทางการยศาสตร์ ออกแบบแบบร่างต้นแบบ สร้างต้นแบบ ทดสอบประสิทธิภาพการทำงาน ศึกษาค่าการใช้พลังงาน และศึกษาความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ โดยต้นแบบเครื่องคัดแยกฝักมะขามหวานกำหนดความเร็วสายพานลำเลียงฝัก 0.82 เมตร/วินาที เวลาในการประมวลผลการคัดขนาดฝักมะขาม 230 มิลลิวินาที เวลาในการประมวลผลการแยกฝักมะขาม 40 มิลลิวินาที ใช้มะขามลักษณะฝักตรงพันธุ์ศรีชมภู และลักษณะฝักโค้งพันธุ์สีทอง คัดแยกขนาดฝัก 2 ขนาด แบ่งเป็น ฝักยาว และฝักสั้น ตามข้อกำหนด ใช้เซ็นเซอร์แบบอินฟราเรดสำหรับตรวจจับขนาดความยาวฝัก ระยะเซนเซอร์ตัวที่ 1 และตัวที่ 2 สำหรับคัดขนาดฝักตรงพันธุ์ศรีชมภู 75 มิลลิเมตร ฝักโค้งพันธุ์สีทอง 90 มิลลิเมตร ประมวลผลสั่งการด้วย Arduino รุ่น Uno R3 ผลการทดสอบประสิทธิภาพ พบว่า การคัดแยกมะขามหวานลักษณะฝักตรง แบ่งเป็น ฝักยาว 153 ฝัก ฝักสั้น 191 ฝัก ใช้เวลาเฉลี่ย 2.65 นาที ปริมาณในคัดแยกได้ตามขนาดเฉลี่ย ฝักยาว 150.00 ฝัก ฝักสั้น 160.33 ฝัก ความแม่นยำในการคัดแยกฝักยาวเฉลี่ยร้อยละ 98.04 ฝักสั้นร้อยละ 83.94 ความเสียหายของฝักมะขามหลังการคัดแยกเฉลี่ย 7.33 ฝัก คิดเป็นร้อยละ 2.13 การคัดแยกมะขามหวานลักษณะฝักโค้ง แบ่งเป็น ฝักยาว 115 ฝัก ฝักสั้น 110 ฝัก ใช้เวลาเฉลี่ย 2.41 นาที ปริมาณการคัดแยกได้ตามขนาดเฉลี่ย ฝักยาว 110.33 ฝัก ฝักสั้น 94.33 ฝัก ความแม่นยำในการคัดแยกฝักยาวเฉลี่ยร้อยละ 95.94 ฝักสั้นร้อยละ 85.76 ความเสียหายของฝักมะขามหลังการคัดแยกเฉลี่ย 6.67 ฝัก คิดเป็นร้อยละ 2.96 การใช้พลังงานไฟฟ้า 0.814 หน่วย/ชั่วโมง ค่าไฟฟ้า 3.18 บาท/ชั่วโมง ความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ มีค่าใช้จ่ายรวมของเครื่อง 72.96 บาท/ชั่วโมง จุดคุ้มทุน 1,589 ชั่วโมง/ปี ระยะเวลาในการคืนทุน 0.02 ปี ผลการวิจัยจะเป็นแนวทางในการช่วยลดปัญหาคุณภาพในการคัดแยกมะขามและการมีมะขามเกรดอื่นปะปนมา ช่วยลดเวลาในการทำงานและลดต้นทุนค่าจ้าง</p>
ศักดิ์ศิริชัย ศรีสวัสดิ์
อนันตกุล อินทรผดุง
ดุษณี ศุภวรรธนะกุล
นัฐพงศ์ ส่งเนียม
Copyright (c) 2025 มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2025-06-19
2025-06-19
20 1
1
16
-
ระบบเหมืองฝายเมืองคอง: ภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อการจัดการน้ำอย่างยั่งยืน ของชุมชนเกษตรกรรมในแอ่งที่ราบ อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่
https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/uruj/article/view/260720
<p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระบบเหมืองฝายชุมชนตำบลเมืองคองและบทบาทของภูมิปัญญาท้องถิ่นในการบริหารจัดการน้ำสำหรับชุมชน และเพื่อวิเคราะห์แนวทางการอนุรักษ์และพัฒนาระบบเหมืองฝายให้สามารถรองรับการเปลี่ยนแปลงด้านสิ่งแวดล้อมและความต้องการใช้น้ำของชุมชนเกษตรกรรมแอ่งที่ราบ อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่อย่างยั่งยืน โดยใช้การวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก การสำรวจภาคสนาม กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย ผู้นำชุมชน 6 คน และประชาชน 30 คน รวม 36 คน ใช้วิธีการคัดเลือกตัวแทนแบบเจาะจงและแบบโควตา เครื่องมือวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างและแบบสำรวจข้อมูลเชิงพื้นที่ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการถอดความสัมภาษณ์และการวิเคราะห์ข้อมูลทางกายภาพของพื้นที่ ผลการวิจัยชี้ให้เห็นว่าระบบเหมืองฝายชุมชนตำบลเมืองคองเป็นระบบบริหารจัดการน้ำที่พัฒนาจากภูมิปัญญาท้องถิ่น ประกอบด้วย ฝาย คลองส่งน้ำ โครงสร้างเบี่ยงน้ำ (ต๊างน้ำ) บ่อน้ำฝน และแนวคันดิน ซึ่งช่วยกระจายน้ำไปยังพื้นที่เกษตรกรรมอย่างทั่วถึง ระบบเวรใช้น้ำหมุนเวียนและบทบาทของแก่ฝาย (ผู้ดูแลฝาย) มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการจัดสรรน้ำอย่างมีประสิทธิภาพ อย่างไรก็ตามการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมและความต้องการใช้น้ำที่เพิ่มขึ้นได้ส่งผลกระทบต่อเสถียรภาพของระบบเหมืองฝาย แนวทางการอนุรักษ์และพัฒนาจึงเน้นการบูรณาการภูมิปัญญาท้องถิ่นเข้ากับเทคโนโลยีสมัยใหม่ เพื่อรักษาประสิทธิภาพของระบบจัดการน้ำและเพิ่มความสามารถในการปรับตัวต่อสภาวะแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลง กลยุทธ์สำคัญ ได้แก่ การเสริมความแข็งแรงของโครงสร้างฝาย การเพิ่มขีดความสามารถในการกักเก็บน้ำ และการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่เพื่อเสริมประสิทธิภาพในการบริหารจัดการ ระบบเวรใช้น้ำยังคงเป็นกลไกหลักในการจัดสรรน้ำอย่างเป็นธรรม โดยอาศัยการมีส่วนร่วมของชุมชน นอกจากนี้ การสร้างความร่วมมือระหว่างภาคส่วนต่างๆ ยังช่วยเสริมความยืดหยุ่นของระบบ และทำให้เมืองคองสามารถรักษาระบบการจัดการน้ำที่ยั่งยืนและสอดคล้องกับบริบทท้องถิ่นได้อย่างต่อเนื่อง</p>
อัมพิกา อำลอย
Copyright (c) 2025 มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2025-06-19
2025-06-19
20 1
17
30
-
การศึกษาศักยภาพและประเมินเศรษฐศาสตร์พลังงานของการใช้ระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์สำหรับเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำระดับชุมชน
https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/uruj/article/view/257483
<p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาศักยภาพการทำงานและประเมินเศรษฐศาสตร์พลังงานของการใช้ระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์สำหรับการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในระดับชุมชนของวิสาหกิจชุมชนกลุ่มเกษตร พืช ผัก สมุนไพร ท่าต้นกวาว อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ จากการออกแบบพบว่า ขนาดระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ที่เหมาะสมในการใช้งานมีขนาด 900 Wp ใช้แผงเซลล์แสงอาทิตย์ชนิดผลึกเดี่ยวขนาด 450 W จำนวน 1 แผง จ่ายให้กับเครื่องเติมอากาศแบบกังหันมอเตอร์กระแสตรงขนาด 350 W ได้ประมาณ 9 ชั่วโมง/วัน อีกส่วนหนึ่งใช้แผงเซลล์แสงอาทิตย์ขนาด 450 W จำนวน 1 แผง ผลิตไฟฟ้าเพื่อจ่ายให้กับแบตเตอรี่ ขนาด 12 V 100 Ah จำนวน 2 ลูก สำรองไฟฟ้าใช้ในเครื่องเติมอากาศในช่วงเวลา 23.00 น. ถึง 04.00 น. ซึ่งเป็นเวลาที่ค่าออกซิเจนละลายในน้ำ (DO) มีค่าต่ำลง จะใช้ระบบตรวจวัดสภาพแวดล้อมติดตามการทำงานของค่า DO ได้ตลอดทั้งวัน โดยมีค่าสูงสุด 7.50 mg/L และต่ำสุด 1.30 mg/L หรือคิดเฉลี่ย 3.70 mg/L ซึ่งเพียงพอต่อการอยู่อาศัยของปลา โดยผลการประเมินศักยภาพการใช้พลังงานตลอดทั้งปี พบว่า ระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์สามารถผลิตไฟฟ้าจ่ายให้กับเครื่องเติมอากาศได้ 1,383.35 kWh/ปี คิดเป็นพลังงานไฟฟ้าที่ลดลง 90.24% เมื่อเปรียบเทียบกับการเปิดเครื่องเติมอากาศแบบเดิมในช่วงกลางคืนประมาณ 12 ชั่วโมงต่อวัน สำหรับผลการประเมินเศรษฐศาสตร์พลังงาน พบว่า การคุ้มทุนทางเศรษฐศาสตร์คิดเป็นเงินค่าไฟฟ้าที่ประหยัดได้ 6,225.08 บาท/ปี มีระยะเวลาคืนทุนของระบบ 6.35 ปี มีมูลค่าปัจจุบันสุทธิเท่ากับ 15,898.71 บาท และมีอัตราผลตอบแทนภายในเท่ากับ 10.53% ผลจากการใช้งานทำให้กลุ่มวิสาหกิจฯ สามารถลดระยะเวลาในการเลี้ยงปลาให้สั้นลงจากปกติเลี้ยงปลาแบบธรรมชาติใช้เวลา 7 เดือน ลดลงเหลือเวลา 4 เดือน</p>
สุลักษณา มงคล
ชวโรจน์ ใจสิน
อัครินทร์ อินทนิเวศน์
ธงชัย มณีชูเกต
ภานุวิชญ์ พุทธรักษา
ธัญลักษณ์ สันเดช
สราวุธ พลวงษ์ศรี
Copyright (c) 2025 มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2025-06-19
2025-06-19
20 1
31
44
-
ปัจจัยที่มีผลต่อการลงทุนด้านเทคโนโลยีและการขอรับการสนับสนุนจากภาครัฐของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในจังหวัดอุตรดิตถ์และจังหวัดแพร่
https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/uruj/article/view/256196
<p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจลงทุนด้านเทคโนโลยีไปใช้ในวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม และปัจจัยที่มีผลต่อการขอรับการสนับสนุนจากภาครัฐของผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในพื้นที่จังหวัดอุตรดิตถ์และจังหวัดแพร่ ประชากร คือ ผู้ประกอบการในพื้นที่จังหวัดอุตรดิตถ์ และจังหวัดแพร่ จำนวน 3,364 ราย มีขนาดกลุ่มตัวอย่างจำนวน 128 ราย เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติเชิงพรรณนา สถิติเชิงอนุมานโดยการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณด้วยตัวแบบจำลองเชิงเส้นแบบวางนัยทั่วไป และวิเคราะห์การถดถอยแบบโลจิสติก ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยด้านประเภทธุรกิจและประสบการณ์ในการดำเนินธุรกิจ ลักษณะความเชื่อมั่นในความสามารถของตัวเอง กระบวนการตัดสินใจและการทดลองใช้เทคโนโลยี ส่งผลต่อการตัดสินใจนำเทคโนโลยีไปใช้ของผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และ ปัจจัยด้านโครงสร้างพื้นฐานของหน่วยงานภาครัฐที่มีผลต่อการขอรับการสนับสนุนจากภาครัฐผู้ประกอบการมีทั้งหมด 3 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านนโยบายของหน่วยงาน 2) ด้านความรู้และเทคนิค 3) ด้านความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน โดยมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 หากหน่วยงานภาครัฐมีการเพิ่มนโยบายส่งเสริมสนับสนุนการดำเนินธุรกิจด้านต่างๆ รวมถึงความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชนแก่ผู้ประกอบการธุรกิจ SMEs จะทำให้โอกาสที่ผู้ประกอบการขอรับการสนับสนุนจากหน่วยงานภาครัฐสูงขึ้น ซึ่งภารกิจที่เกี่ยวข้องได้มีการกระจายภาระหน้าที่ความรับผิดชอบออกไปอยู่ในหลายหน่วยงาน เช่น กรมส่งเสริมอุตสาหกรรมส่งเสริมด้านการให้บริการเครื่องจักรกลางแก่ผู้ประกอบการ และนักลงทุนใหม่ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ส่งเสริมด้านการนำเทคโนโลยีและวิจัยสู่เชิงพาณิชย์ กระทรวงพาณิชย์ส่งเสริมด้านการตลาด การส่งออกสินค้า ซึ่งทุกหน่วยงานมีจุดมุ่งหมายในการร่วมดำเนินการส่งเสริมให้ SMEs สามารถเติบโตได้อย่างมีประสิทธิภาพ</p>
วรรณิศา ทิพย์ปัญญาไชย
วสุ สุวรรณวิหค
พัชรี ผาสุข
Copyright (c) 2025 มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2025-06-19
2025-06-19
20 1
45
58
-
การพัฒนาเทคโนโลยีการจัดการธาตุอาหารเพื่อปรับปรุงคุณภาพผลผลิต ในการผลิตมะขามหวานในพื้นที่จังหวัดอุตรดิตถ์
https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/uruj/article/view/259227
<p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาการจัดการธาตุอาหารที่เหมาะสมสำหรับมะขามหวานด้วยการใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยชีวภาพ และศึกษาผลตอบแทนต่อค่าใช้จ่ายการลงทุนที่มีการใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยชีวภาพ โดยวางแผนการทดลองแบบสุ่มในบล็อกสมบูรณ์ มี 4 กรรมวิธี 5 ซ้ำๆ ละ 2 ต้น กำหนดในวิธีการ 2 - 4 ให้มีปริมาณธาตุอาหารรวมทั้งปีอยู่ในอัตรา 0.8-0.4-1.2 กิโลกรัม N-P<sub>2</sub>O<sub>5</sub>-K<sub>2</sub>O ต่อต้น โดยวิธีการที่ 1 ใส่ปุ๋ยและสารปรับปรุงดินตามวิธีเกษตรกร วิธีการที่ 2 ใส่ปุ๋ยเคมีตามอัตราที่กำหนด วิธีการที่ 3 ใส่ปุ๋ยเคมีตามอัตราที่กำหนด + ปุ๋ยชีวภาพละลายฟอสเฟตอัตรา 500 กรัม/ต้น และวิธีการที่ 4 ใส่ปุ๋ยเคมีตามอัตราที่กำหนด + ใส่ปุ๋ยคอก (มูลวัวอัตรา 20 กิโลกรัม/ต้น) + ปุ๋ยชีวภาพละลายฟอสเฟตอัตรา 500 กรัม/ต้น ทดสอบในแปลงมะขามหวานของเกษตรกรต้นแบบ พื้นที่อำเภอฟากท่า จังหวัดอุตรดิตถ์ เดือนตุลาคม 2565 - กันยายน 2566 ผลการทดลองพบว่า วิธีการที่ 4 ให้ปริมาณผลผลิตสูงที่สุด 554 กิโลกรัม/ไร่ น้ำหนักเนื้อมากที่สุด 450 กรัม น้ำหนักฝักเฉลี่ยสูงที่สุด 30.30 กรัม สำหรับอัตราผลตอบแทนการลงทุน พบว่าวิธีการที่ 3 เป็นการลงทุนที่ให้ผลตอบแทนสูงที่สุดเท่ากับ 3.05 ทั้งนี้เกษตรกรสามารถนำเทคโนโลยีที่มีการทดสอบในพื้นที่นำมาปฏิบัติได้อย่างถูกวิธี เกิดเป็นองค์ความรู้การจัดการธาตุอาหารสำหรับมะขามหวานในพื้นที่อำเภอฟากท่า เกิดกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันควบคู่กับการพัฒนาคุณภาพของผลผลิต ทำให้ชุมชนเป็นแหล่งผลิตมะขามหวานคุณภาพดี สร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับจังหวัดอุตรดิตถ์</p>
นันทนา บุญสนอง
สุภชัย วรรณมณี
Copyright (c) 2025 มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2025-06-19
2025-06-19
20 1
59
69
-
การพัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มคอมบูชาเพื่อสุขภาพจากเปลือกหุ้มเมล็ดโกโก้คั่ว
https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/uruj/article/view/258615
<p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาชนิดของวัตถุดิบในการหมักผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มคอมบูชาเพื่อสุขภาพจากเปลือกหุ้มเมล็ดโกโก้คั่ว ศึกษาคุณภาพ การยอมรับของผู้บริโภคต่อผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มคอมบูชาเพื่อสุขภาพ และถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตเครื่องดื่มคอมบูชาเพื่อสุขภาพ สู่ชุมชนโกโก้นางั่ว จังหวัดเพชรบูรณ์ โดยใช้การทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ ในการวิเคราะห์คุณภาพทางเคมี และการทดลองแบบสุ่มในบล็อกสมบูรณ์ ในการประเมินคุณภาพทางประสาทสัมผัสในด้านลักษณะปรากฏ สี กลิ่น รสชาติ และการยอมรับโดยรวม โดยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบสะดวก จำนวน 50 คน ด้วยการชิมแบบให้คะแนนความชอบ 9 ระดับ การสรุปผลระดับการประเมินความพึงพอใจในแต่ละด้านของผู้เข้าร่วมอบรมถ่ายทอดองค์ความรู้ในแปรรูปผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มคอมบูชาเพื่อสุขภาพ ให้แก่กลุ่มวิสาหกิจชุมชนโกโก้นางั่ว จำนวน 30 คน ผลการวิจัยพบว่า สูตรที่ 2 (เปลือกหุ้มเมล็ดโกโก้คั่ว 100 เปอร์เซ็นต์) ได้รับการยอมรับสูงสุดในทุกด้าน โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 8.12±8.60 และได้นำมาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มคอมบูชาสูตรต้นแบบพร้อมดื่ม พบว่า มีค่าความเป็นกรดเป็นด่าง (pH) เท่ากับ 2.45±0.12 และค่าปริมาณของแข็งที่ละลายได้ทั้งหมด (<sup>o</sup>Brix) เท่ากับ 16.2±1.02 การวิเคราะห์คุณภาพทางเคมีพบว่า เครื่องดื่มคอมบูชาไม่พบตะกั่ว สารหนู แต่มีสารกันบูด และซอร์บิค ปริมาณ 14.20 และ 38.60 mg/L ตามลำดับ คาเฟอีน 2.25 mg/L ด้านคุณภาพทางจุลินทรีย์ พบว่าไม่มีการปนเปื้อนของยีสต์และรา <em>Salmonella, Staphylococcus aureus, Coliform</em> และ <em>Escherichia coli</em> ต่ำกว่า 1.1 MPN/100 ml ซึ่งอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 356) พ.ศ.2556 แสดงว่าเครื่องดื่มคอมบูชาจากเปลือกหุ้มเมล็ดโกโก้คั่ว มีความปลอดภัยสำหรับผู้บริโภค ในการถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ชุมชน เกษตรกรที่เข้าร่วมอบรมมีความพึงพอใจสูงที่สุด ค่าเฉลี่ยความพึงพอใจในด้านการนำความรู้ไปใช้ประโยชน์อยู่ที่ 4.75±0.51 และความพึงพอใจ ในภาพรวมทั้งหมดอยู่ที่ 4.82±0.54 ซึ่งผลผลิตที่ได้จากการวิจัยนี้จะช่วยเพิ่มมูลค่าให้กับเปลือกหุ้มเมล็ดโกโก้คั่ว และสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรผู้ปลูกโกโก้ และประชาชนในเขตพื้นที่ตำบลนางั่ว จังหวัดเพชรบูรณ์</p>
รัตนากร แสนทำพล
ธรรมศาสตร์ จันทรัตน์
Copyright (c) 2025 มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2025-06-19
2025-06-19
20 1
70
84
-
การพัฒนาผลิตภัณฑ์ครีมสอดเต้านมโคจากสารสกัดเปลือกมังคุด เพื่อการควบคุมและป้องกันโรคเต้านมอักเสบในโคนม
https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/uruj/article/view/258558
<p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ครีมสอดเต้านมโคจากสารสกัดเปลือกมังคุดในการควบคุมและป้องกันโรคเต้านมอักเสบในโคนม ศึกษาผลของผลิตภัณฑ์ครีมสอดเต้านมโคจากสารสกัดเปลือกมังคุดต่อการยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรียก่อโรคเต้านมอักเสบในโคนม และศึกษาการยอมรับผลิตภัณฑ์ครีมสอดเต้านมโคจากสารสกัดเปลือกมังคุด แบ่งเป็น 4 กลุ่มทดลอง คือ การเสริมสารสกัดจากเปลือกมังคุดที่ระดับร้อยละ 0 5 10 และ 15 ตามลำดับ มีการทดสอบคุณสมบัติ การทดสอบประสิทธิภาพและการทดสอบการยอมรับผลิตภัณฑ์ครีมสอดเต้านมโคจากสารสกัดเปลือกมังคุด ผลการวิจัยพบว่า ผลิตภัณฑ์ครีมสอดเต้านมโคจากสารสกัดเปลือกมังคุดมีค่า pH ระหว่าง 6.98-7.21 ค่าความหนืดระหว่าง 1684-2249 เซนติพอยซ์ ค่า pH และค่าความหนืดเพิ่มสูงขึ้นแบบเส้นตรง (p<0.01) ผลิตภัณฑ์ครีมสอดเต้านมโคจากสารสกัดเปลือกมังคุดมีค่าร้อยละ 50 Inhibitory concentration (IC50) ลดลงแบบเส้นตรง (p<0.01) เท่ากับ 683.79 ไมโครกรัม/มิลลิลิตร เมื่อผลิตภัณฑ์ครีมสอดเต้านมโคจากสารสกัดเปลือกมังคุดมีค่าสูงขึ้น สำหรับค่าสีของกลุ่มควบคุมมีค่าความสว่างของแสง (L*) สูงสุด คือ 72 (p<0.01) อย่างไรก็ตาม การเสริมผลิตภัณฑ์ครีมสอดเต้านมโคจากสารสกัดเปลือกมังคุดร้อยละ 10 และ 5 มีค่าการสะท้อนกลับแสงสีแดง (a*) และแสงสีเหลือง (b*) มีค่าสูงสุด คือ 10.85 และ 56.02 (p<0.01) ตามลำดับ ผลิตภัณฑ์ครีมสอดเต้านมโคจากสารสกัดเปลือกมังคุดร้อยละ 10 และ 15 สามารถยับยั้งการเจริญเติบโต Staphylococcus aureus ATCC 6538 และ Staphylococcus epidermidis ATCC 12228 ได้ (p<0.01) มีค่าระหว่าง 14.40±0.23-15.32±0.11 และ 16.62±0.04-18.03±0.58 มิลลิเมตร ตามลำดับ การประเมินการยอมรับผลิตภัณฑ์ครีมสอดเต้านมโคจากสารสกัดเปลือกมังคุดโดยมีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจโดยรวมเท่ากับ 8.07 คะแนน ดังนั้น การวิจัยนี้เป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับเปลือกมังคุดและสามารถพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ครีมสอดเต้านมโคจากสารสกัดเปลือกมังคุดเพื่อออกสู่ตลาดได้</p>
ทิพย์วดี ประไพวงษ์
วิวัฒน์ วรามิตร
สุจิตรา ทิพย์ศรีราช
สรัลรัตน์ พ่วงบริสุทธิ์
ปรัชญา ประไพวงษ์
Copyright (c) 2025 มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2025-06-19
2025-06-19
20 1
85
102
-
APPLICATION OF FUZZY C-MEANS CLUSTERING ALGORITHM FOR SPATIAL STRATIFIED HETEROGENEITY OF INNOVATION CAPABILITY OF NATIONAL HIGH-TECH ZONES IN CHINA
https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/uruj/article/view/257925
<p>The objectives of the study were to construct a comprehensive and scientific evaluation index system to assess the innovation capabilities of 169 national high-tech zones in China, analyze the spatial stratified heterogeneity of innovation capabilities across 34 provinces, and visualize and analyze innovation capabilities' spatial distribution and disparities. The research adopted a multi-method approach, including the entropy weight method, catastrophe progression method, weighted average method, and fuzzy c-means clustering algorithm, supplemented by data visualization using Python-based tools. The results showed that the evaluation index system consisted of four levels and 28 indicators, effectively quantifying the innovation performance. Catastrophe progression results indicated that Beijing Zhongguancun (0.9725), Shanghai (0.9531), and Shenzhen (0.9472) rank highest, while Rongchang (0.7810), Huainan (0.7947), and Qianjiang (0.7968) rank lowest. The fuzzy c-means clustering analysis classified provinces into six distinct categories of innovation capability, revealing a pronounced "strong East, weak West" spatial pattern. The findings offered spatially grounded policy insights that was to bridge regional innovation gaps, China should enhance R&D investment, optimize resource allocation, promote innovation output conversion, and strengthen inter-regional cooperation, particularly in less developed regions. These measures supported the goal of achieving balanced regional innovation and sustainable national development.</p>
Chenqing Su
Noppadol Amdee
Adisak Sangsongfa
Copyright (c) 2025 มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2025-06-19
2025-06-19
20 1
103
116
-
การพัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางประจำท้องถิ่นชุมชนเกาะสีชัง อำเภอเกาะสีชัง จังหวัดชลบุรี
https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/uruj/article/view/260378
<p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง คือ เกลือสครับ เจลว่านหางจระเข้ และสบู่ก้อน ออกแบบและพัฒนาบรรจุภัณฑ์เครื่องสำอางทั้ง 3 ชนิดให้ตรงกับการบูรณาการอัตลักษณ์ชุมชนและประเมินความพึงพอใจและวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางทั้ง 3 ชนิด โดยดำเนินการพัฒนาสูตรผลิตภัณฑ์ ตลอดจนการออกแบบและพัฒนาบรรจุภัณฑ์เพื่อแสดงถึงอัตลักษณ์ของชุมชน ทดสอบความคงตัวและความพึงพอใจของผลิตภัณฑ์ รวมไปถึงความพึงพอใจต่อการออกแบบบรรจุภัณฑ์ของผลิตภัณฑ์ในอาสาสมัครประชากรในเกาะสีชังจำนวน 120 คน โดยใช้แบบสอบถามโดยเก็บข้อมูลทั่วไปและประเมินความพึงพอใจ และวิเคราะห์ข้อมูลสถิติเชิงพรรณา จากผลการทดลองได้ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางที่มีคุณสมบัติทางกายภาพ ตามมาตรฐานที่กำหนด ซึ่งในอาสาสมัครจำนวน 25 คน มีความพึงพอใจต่อผลิตภัณฑ์โดยรวมไม่ต่ำกว่าร้อยละ 95 ทั้ง 3 ผลิตภัณฑ์ ในภาพรวมของการออกแบบต้นแบบบรรจุภัณฑ์ทั้ง 3 กลุ่มผลิตภัณฑ์ สามารถดึงดูดความสนใจจากกลุ่มนักท่องเที่ยวได้เป็นอย่างดี ผลการประเมินความพึงพอใจจาก 3 กลุ่มคือ กลุ่มเจ้าหน้าที่รัฐ กลุ่มประชากรบนเกาะสีชัง และกลุ่มนักท่องเที่ยว ค่าเฉลี่ยของความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก (ไม่ต่ำกว่า 4 คะแนน จากคะแนนเต็ม 5 คะแนน) นักท่องเที่ยวรู้สึกสนใจและรู้สึกอยากหยิบจับ และบรรจุภัณฑ์ส่วนใหญ่สามารถสื่อถึงส่วนผสมที่ได้จากเกาะสีชัง งานวิจัยนี้สามารถพัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางทั้ง 3 ชนิด ที่มีคุณภาพและมีบรรจุภัณฑ์ที่ตรงตามความต้องการของตลาด เพิ่มความน่าใช้ ดึงดูดใจ มีความน่าซื้อมากขึ้น ตลอดจนสามารถแสดงถึงการบูรณาการอัตลักษณ์ของชุมชนในเขตตำบลเกาะสีชังได้เป็นอย่างดี และสามารถนำผลิตภัณฑ์ไปถ่ายทอดสู่ชุมชนเพื่อการผลิต การจัดจำหน่าย หรือการพัฒนาต่อยอดในอนาคต</p>
สุจารีย์ หิรัญศิริวัฒน์
นภนัย ปานเอี่ยม
อรวรรณ คล้ายสังข์
รมิตา ศรัทธาทิพย์กุล
วรอนงค์ พฤกษากิจ
ทิพย์ลักษณ์ โกมลวณิช
Copyright (c) 2025 มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2025-06-19
2025-06-19
20 1
117
131
-
การพัฒนาระบบการส่งเสริมการอยู่ร่วมกันของคนสามวัย โดยการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย
https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/uruj/article/view/256384
<p>การวิจัยเชิงปฏิบัติการมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบการส่งเสริมการสร้างต้นแบบการอยู่ร่วมกันของคนสามวัยโดยการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย และเสริมสร้างขีดความสามารถของแกนนำในการขับเคลื่อนระบบการส่งเสริมการอยู่ร่วมกันของคนสามวัย กลุ่มเป้าหมายเป็นคนสามวัยประกอบด้วยผู้สูงอายุ วัยทำงานและเยาวชน โดยคัดเลือกแบบเจาะจง กลุ่มวัยละ 10 คน รวม 30 คนต่อพื้นที่ ในพื้นที่ตำบลป่าเซ่า อำเภอเมือง ตำบลคอรุม อำเภอพิชัย จังหวัดอุตรดิตถ์ ตำบลเจดีย์ชัย ตำบลไชยวัฒนา อำเภอปัว จังหวัดน่าน และตำบลหนองม่วงไข่ จังหวัดแพร่ จำนวน 150 คน โดยการใช้นวัตกรรมการอยู่รวมกันของคนสามวัย คือ SIDASES (S = Situation, I = Information, D = Development, A = Activity, S = System, E = Evaluation, S = Share) ระยะเวลาดำเนินการ 1 ปี เครื่องมือการวิจัย ได้แก่ แนวคำถามกึ่งโครงสร้างและแบบประเมินสมรรถนะนวัตกรชุมชน การวิจัยนี้แบ่งออกเป็น 4 ระยะ ได้แก่ 1) ระยะเตรียมความพร้อม 2) ระยะดำเนินงานพัฒนาศักยภาพ 3) ระยะประเมินผล 4) ระยะสะท้อนผล โดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า ระบบการส่งเสริมการสร้างต้นแบบการอยู่ร่วมกันของคนสามวัยโดยการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย ประกอบด้วย 7 ขั้นตอน คือ 1) การเตรียมความพร้อม 2) การวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูล 3) การพัฒนาศักยภาพแกนนำชุมชน 4) การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ 5) การเชื่อมงานการจัดการความรู้และนวัตกรรม 6) การประเมินผล และ 7) สะท้อนผล ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น คือ เกิดองค์ความรู้และนวัตกรรมชุมชนในการอยู่ร่วมกันของคนสามวัยที่เหมาะสมกับบริบทชุมชน ใน 3 ลักษณะ ได้แก่ (1) การขับเคลื่อนกิจกรรมคนสามวัยโดยบุคลากรใน อปท. (2) การขับเคลื่อนกิจกรรมคนสามวัยโดยผู้นำชุมชน (3) การขับเคลื่อนกิจกรรมคนสามวัยโดยกลุ่มแกนนำผู้สูงอายุ และได้เสริมสร้างขีดความสามารถของแกนนำทำให้เกิดนวัตกรชุมชน 25 คน ที่สามารถสื่อสารและประสานงานกับกลุ่มคนสามวัย และหน่วยงานภาครัฐได้ สามารถขับเคลื่อนกิจกรรมของคนสามวัยได้ สามารถถ่ายทอดองค์ความรู้แนวคิดการขับเคลื่อนการเรียนรู้คนสามวัยได้ และเกิดพื้นที่การเรียนรู้ของคนสามวัย 5 พื้นที่ จากผลการวิจัยครั้งนี้สามารถนำไปเป็นแนวทางการดำเนินงานของกลุ่มแกนนำในชุมชน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการขับเคลื่อนงานของคนสามวัยในพื้นที่ที่มีบริบทใกล้เคียงกัน</p>
เผด็จการ กันแจ่ม
สุนีย์ กันแจ่ม
จงรัก ดวงทอง
Copyright (c) 2025 มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2025-06-19
2025-06-19
20 1
132
142
-
การพัฒนาผลิตภัณฑ์หมึกปรุงรสสำหรับพื้นที่เกาะสีชัง จังหวัดชลบุรี
https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/uruj/article/view/260488
<p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์น้ำซอสปรุงรสและหมึกปรุงรส ทดสอบการยอมรับทางประสาทสัมผัสของผลิตภัณฑ์น้ำซอสปรุงรส และศึกษาคุณภาพทางเคมี กายภาพ และจุลินทรีย์ ของผลิตภัณฑ์น้ำซอสปรุงรสและผลิตภัณฑ์หมึกปรุงรส ที่เป็นผลิตภัณฑ์ของชุมชนอำเภอเกาะสีชัง จังหวัดชลบุรี โดยใช้รูปแบบการวิจัยเชิงทดลอง วิธีการวิจัยเริ่มจากการพัฒนาสูตรของน้ำซอสปรุงรสเพื่อหาปริมาณส่วนผสมที่เหมาะสมต่อการพัฒนาจากสูตรพื้นฐาน 3 สูตร มาทดลองผลิตคัดเลือกสูตร แล้วนำไปทดสอบการยอมรับทางประสาทสัมผัส<span style="text-decoration: line-through;">ืกสมที่เหมาะสมต่อการพร่ </span>จากผู้บริโภค และนำสูตรซอสที่ได้จากการพัฒนาไปต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์หมึกปรุงรสที่มีความเป็นเอกลักษณ์ให้กับชุมชน จากการพัฒนาสูตรน้ำซอสปรุงรสพบว่าสูตรที่ได้รับการยอมรับจากผู้บริโภคมากที่สุด คือสูตรที่ 1 ซึ่งประกอบด้วย มิริน ซีอิ้วญี่ปุ่น น้ำตาลมะพร้าว งาขาวคั่ว กระเทียม พริกไทย และพริกเกาหลี ในอัตราส่วน 37.4, 34.2, 12.2, 6.0, 6.4, 1.0 และ 2.8 (โดยน้ำหนัก) โดยคะแนนความชอบโดยรวมของผลิตภัณฑ์มีค่ามากกว่า 7.0 (ในระดับ 9 คะแนน) และได้รับการยอมรับสูงถึงร้อยละ 91.67 การวิเคราะห์คุณภาพทางกายภาพของผลิตภัณฑ์ซอสปรุงรส พบว่ามีค่า a<sub>w</sub> เท่ากับ 0.80 และค่าความเป็นกรดด่าง (pH) เท่ากับ 5.27 องค์ประกอบทางเคมีของน้ำซอสปรุงรส ประกอบด้วยความชื้น โปรตีน ไขมัน เถ้า และปริมาณเกลือของผลิตภัณฑ์มีค่าเท่ากับร้อยละ 54.78, 5.30, 1.03, 4.73 และ 4.44 ตามลำดับ ผลการพัฒนาผลิตภัณฑ์หมึกปรุงรสจากน้ำซอสปรุงรสที่ได้รับการยอมรับมากที่สุด พบว่าคุณภาพทางด้านกายภาพของผลิตภัณฑ์หมึกปรุงรส มีค่า a<sub>w</sub> เท่ากับ 0.70 และค่าความเป็นกรดด่าง (pH) เท่ากับ 5.54 องค์ประกอบทางเคมีของหมึกปรุงรสประกอบด้วย ความชื้น โปรตีน ไขมัน เถ้า และปริมาณเกลือ มีค่าเท่ากับร้อยละ 70.05, 18.94, 2.03, 5.29 และ 2.10 ตามลำดับ คุณภาพด้านจุลชีววิทยาของผลิตภัณฑ์น้ำซอสปรุงรสและหมึกปรุงรส พบว่าเป็นไปตามมาตรฐานสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเรื่องปลาหมึกปรุงรสพร้อมบริโภค วิจัยนี้จะช่วยเพิ่มมูลค่าและความหลากหลายให้กับผลิตภัณฑ์จากหมึก ซึ่งเป็นวัตถุดิบพื้นถิ่นของพื้นที่เกาะสีชัง จังหวัดชลบุรี และสร้างรายได้ให้กับประชากรในเขตพื้นที่ดังกล่าว</p>
ปณิธี สุวรรณอมรเลิศ
ถกลรัตน์ ทักษิมา
Copyright (c) 2025 มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2025-06-19
2025-06-19
20 1
143
155
-
ASSESSING DROUGHT-PRONE AREAS IN NON-IRRIGATED AREAS USING WATER ACCOUNTING AND THE WEAP MODEL
https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/uruj/article/view/260576
<p>The objectives of this study were to develop an annual water accounting framework and analyze drought-prone areas using the WEAP model under five different scenarios at the sub-district level for the Lam Chiang Krai River Basin. The study focused on the non-irrigated Lam Chiang Krai River Basin, Thailand, with analysis conducted at the sub-district level. Key research instruments included a Water Accounting Framework and the Water Evaluation and Planning (WEAP) model. Secondary data encompassing meteorological, hydrological, land use, crop calendar, and population figures were collected from relevant government agencies. Data analysis involved calculating water demands (agricultural using FAO Penman-Monteith, domestic, and environmental) and utilizing the WEAP model, integrated with water accounting principles, to simulate monthly water balance under five off-season rice cultivation scenarios. This identified drought-prone areas and assessed water shortage magnitudes, with model performance validated (R² = 0.74-0.88). Results revealed that expanding off-season rice cultivation significantly increased agricultural water demand by up to 30.63% compared to only wet-season cultivation. Crucially, under the 100% off-season rice scenario, total water demand surpassed effective rainfall, eliminating water outflow from the basin. While overall annual rainfall appeared sufficient, localized water scarcity emerged due to intensive agricultural water utilization patterns, particularly during the dry season months. The study confirmed the effectiveness of the integrated WEAP-water accounting approach for detailed drought vulnerability assessment in data-scarce, non-irrigated regions. Findings offered spatially and temporally explicit insights into water stress levels, directly informing local stakeholder decisions. This information was vital for developing targeted sub-district water management plans, optimizing existing resource allocation, and guiding the strategic placement and design of essential small-scale water infrastructure. The research strongly emphasized the critical need for carefully managing off-season rice cultivation to ensure sustainable water availability and enhance drought resilience within the Lam Chiang Krai River Basin.</p>
Preeyaphorn Kosa
Thanutch Sukwimolseree
Copyright (c) 2025 มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2025-06-19
2025-06-19
20 1
156
170